กรมวิชาการเกษตร จับมือไททา และวินร็อค อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดตัวคู่มือ "มาตรฐานการพ่นสารด้วยโดรนเกษตร" ยกระดับการเกษตรไทยสู่มาตรฐานสากล
วันที่ 16 ธ.ค.67 ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานเปิดงานเผยแพร่ความรู้ "การใช้โดรนการเกษตรอย่างมืออาชีพ ตามหลักวิชาการและกฎหมาย" พร้อมเปิดตัวคู่มือ "มาตรฐานการปฏิบัติงานการพ่นสารด้วยอากาศยานไร้คนขับทางการเกษตร" (SOP) และบัตรประจำตัวผู้ใช้โดรนพ่นวัตถุอันตรายทางการเกษตร ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับการใช้งานโดรนพ่นสารอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และได้มาตรฐาน ซึ่งกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย (TAITA) และวินร็อค อินเตอร์เนชั่นแนล (Winrock International) จัดขึ้น โดยมีนางสาวกล้วยไม้ นุชนิยม นายกสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย (ไททา) และ Ms.Kelly Stange ที่ปรึกษาฝายกิจการเกษตรสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย เกษตรกร นักวิชาการ ผู้ให้บริการโดรนเกษตร ผู้จำหน่ายโดรน ตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมงานกว่า 250 คน ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ
ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การนำเทคโนโลยีโดรนมาใช้ในภาคการเกษตรกำลังเป็นที่นิยมและมีบทบาทสำคัญในประเทศไทย โดยการเปิดตัวคู่มือ "มาตรฐานการปฏิบัติงานการพ่นสารด้วยอากาศยานไร้คนขับทางการเกษตร" หรือ SOP ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานโดรนให้แก่เกษตรกรและผู้ใช้งานได้อย่างแพร่หลาย คู่มือ SOP นี้ถูกพัฒนาขึ้นจากการศึกษาวิจัยด้านอารักชาพืชทั้งในและต่างประเทศ และเป็นผลสำเร็จจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้และทักษะของเกษตรกรให้สอดคล้องกับมาตรฐานลากล เพื่อให้การใช้งานโดรนในการพ่นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมีประสิทธิภาพคุณภาพ และความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งถือเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ในวงการโดรนการเกษตรยอมรับในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้อย่างน่ายินดีและควรชื่นชม สมาคมไททามีเป้าหมายในการขยายการฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโดรนในภาคการเกษตร โดยร่วมมือกับพันธมิตรและสถาบันการศึกษา เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่ได้รับการรับรองเป็นนักบินโครนการเกษตร ครอบคลุมทุกพื้นที่ และพัฒนาเทคโนโลยีโดรนที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมการเกษตรยุคใหม่ให้ก้าวหน้ากว่าเดิม ทั้งยังช่วยให้เกิดความยั่งยืนในภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย
ด้านนายวิลเลียม สปาร์กส์ ผู้อำนวยการเครือข่ายนวัตกรรมการเกษตรระดับภูมิภาค กล่าวว่า โดรนเป็นนวัตกรรมเท่าทันภูมิอากาศที่จะช่วยเกษตรกรไทยให้ปรับตัวต่อผลกระทบจากภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความจำเป็นในการจัดการศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี เนื่องจากลดจำกัดด้านแรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพในฉีดพ่นพื้นที่กว้าง และลดการสัมผัสสารเคมีโดยตรงของเกษตรกร การจัดเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ SOP ของการใช้โดรนการเกษตรจะช่วยให้เกษตรกร และอุสาหกรรมใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มศักยภาพ เพราะปฏิบัติตามกฎระเบียบได้อย่างถูกต้อง และลดผลกระทบข้างเคียงของสารเคมีต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและสิ่งแวดล้อม ในขั้นต่อไปโครงการเรนจะสนับสนุนให้กรมวิชาการเกษตร พันธมิตร และสถาบันการศึกษาจัดฝึกอบรมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มจำนวนนักบินโดรนการเกษตรที่ได้รับการรับรอง และความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมโดรนเกษตรให้ตอบความต้องการจากเกษตรกรรายย่อยได้ดีขึ้น อีกทั้งจะสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงบริการโดรนการเกษตรได้สะดวกขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์ นับเป็นการสร้างตลาดโดรนเกษตรให้แข็งแกร่ง และเข้าถึงได้ง่ายขึ้นโดยเกษตรกร ทั้งนี้การสนับสนุนอุตสาหกรรมโดรนการเกษตรขององค์การวินร็อคผ่านโครงการเรนเป็นไปตามพันธกิจสนับสนุนการพัฒนาตลาดสำหรับนวัตกรรมเท่าทันภูมิอากาศ โดยมีวัตถุประสงค์สร้างรายได้ที่ขึ้นให้กับเกษตรกร จากการเพิ่มผลผลิตพืชผล และลดต้นทุนการผลิต และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
“ความสำเร็จของความพยายามสนับสนุนตลาดโดรนการเกษตรนี้ขึ้นอยู่กับความตระหนักรู้และความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายในการสนับสนุนตลาดของเทคโนโลยีโดรน โดยภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา และเกษตรกร นอกจากนี้ ในงานยังได้มีการเปิดตัว "บัตรประจำตัวผู้ใช้โดรนพ่นวัตถุอันตรายทางการเกษตร" เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรว่าผู้ใช้ได้ผ่านการฝึกอบรมจากกรมวิชาการเกษตรและมีความรู้ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้โดรนในภาคการเกษตร” นายวิลเลี่ยม กล่าว
นางช่อทิพย์ ศัลยพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักชาพืช กล่าวว่า เทคโนโลยีโดรนเกษตรไม่เพียงเป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงวิธีการทำเกษตรกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของการก้าวข้ามข้อจำกัดของอดีตสู่อนาคตที่เต็มไปด้วยศักยภาพ การใช้โดรนเกษตรอย่างมืออาชีพตามหลักกฎหมาย ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังส่งเสริมให้เกษตรกรไทยก้าวสู่บทบาท "เกษตรกรยุคใหม่" ที่สามารถปรับตัวและแข่งขันในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วคู่มือ SOP" แบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ
ข้อกำหนดทางกฎหมายและคุณสมบัตินักบิน : นักบินโดรนเกษตรต้องผ่านการฝึกอบรมการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร และเข้าใจปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพอากาศ ทิศทางลม รวมถึงการวางแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน
การปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา : ประกอบด้วยขั้นตอนการเตรียมพื้นที่ การตรวจสอบอุปกรณ์ และการบำรุงรักษาโดรน เช่น การทำความสะอาด การตรวจจสอบแบตเตอรี่ และการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคคล (PPE) เช่น ชุดป้องกันสารเคมี หน้ากาก และรองเท้าบูท
"การปฏิบัติตามคู่มือ SOP อย่างเคร่งครัด จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งานและชุมชน" ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักชาพืช กล่าว
ขณะที่ นางสาวกล้วยไม้ นุชนิยม นายกสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย (ไททา) กล่าวว่า ในระยะเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านมา สมาคมไททาได้ทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศชั้นนำ เช่น Croplife International และ CropLife Asia รวมถึงกรมวิชาการเกษตร ผู้ผลิตโดรนชั้นนำ และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการใช้โดรนเกษตรอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสำเร็จที่ทำให้กรมวิชาการเกษตรสามารถจัดทำคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) ที่ได้รับ