เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ขับเคลื ่อนนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู ่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” โดยได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่าง ยั ่งยืน ภายใต้แนวคิด BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) ด้วยการช่วยเหลือและยกระดับธุรกิจ เอสเอ็มอี (SMEs) ผ่าน “กระจายสินค้าของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมตามแนวทาง BCG Model” ด้วยการพัฒนาให้สามารถเตรียมความพร้อมในการรับรองคาร์บอนฟุตพริ ้นท์ขององค์กร พร้อมกับ การลดต้นทุนและเพิ ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เช่น บริการขนส่ง คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า ครอบคลุมพื ้นที ่ทั ่วประเทศ เป็นต้น คาดว่าจะขยายผลการยกระดับการบริหาร จัดการโลจิสติกส์กว่า 206 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 5,848 ตันคาร์บอนต่อปี

 

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันกระทรวง อุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื ่อนนโยบายการสร้างความยั ่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ ่งแวดล้อม เพื ่อสร้างความเชื ่อมั ่นแก่ภาคประชาสังคมและเพิ ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ สถานประกอบการโดยการพัฒนาองค์ความรู ้ในการดำเนินธุรกิจตามแนวคิด BCG เพื ่อมุ ่งสู ่การเปลี ่ยนผ่าน สู ่อุตสาหกรรมสีเขียวที ่เป็นกติกาทางการค้าที ่อุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้อง ดังนั ้น กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ดำเนินการตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู ่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” โดยได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งส่งเสริมและกำกับดูแล ภาคอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไปพร้อม ๆ กับการดูแลสังคมและสิ ่งแวดล้อม และสร้างความเชื ่อมั ่นให้กับประชาชนอย่างแท้จริง รวมถึง การดึงดูดการลงทุนกลุ ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที ่มีศักยภาพ ตลอดจนต้องการยกระดับเศรษฐกิจไทย ไปสู ่การเป็นเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ควบคู ่ไปกับการพัฒนาสังคมและ รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 

นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้ขานรับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมผ่านการดำเนินโครงการการยกระดับ ธุรกิจ SMEs ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยมุ ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่าง ยั ่งยืน ภายใต้แนวคิด BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) ด้วยการช่วยเหลือและยกระดับธุรกิจ เอสเอ็มอี (SMEs) ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การพัฒนาและยกระดับ กระบวนการผลิตให้มิตรต่อสิ่งแวดล้อม (BCG-driven Enterprise) ลดต้นทุนการใช้พลังงานและเชื้อเพลิงจาก ชีวมวล (Biomass) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ภายในสถานประกอบการ (Upcycled Product) รวมถึงได้ ดำเนินการ “กระจายสินค้าของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมตามแนวทาง BCG Model” ซึ ่งเป็น การพัฒนาผู ้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตที ่มีคลังสินค้าและ/หรือขนส่งของตนเอง และผู ้ให้บริการ โลจิสติกส์ (Logistics Service Provider) เช่น บริการขนส่ง คลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้าครอบคลุมพื้นที่ ทั ่วประเทศให้สามารถรวบรวมข้อมูลและเตรียมความพร้อมที ่จะขอการรับรองคาร์บอนฟุตพริ ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) พร้อมกับการลดต้นทุนและเพิ ่มประสิทธิภาพการบริหาร จัดการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนขององค์กร โดยเฉพาะระบบการ Tracking รถขนส่งเพื่อติดตามเส้นทาง พฤติกรรมการขับขี ่ และประสิทธิภาพการใช้รถ โดยมีสถานประกอบการผ่านการคัดเลือกจำนวน 25 ราย ซึ ่งคาดว่าจะสามารถขยายผลการยกระดับการบริหารจัดการโลจิสติกส์ได้กว่า 206 ล้านบาท และลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกกว่า 5,848 ตันคาร์บอนต่อปี ทั ้งนี ้ มีผู ้เข้าร่วมโครงการที ่มีความพร้อมที ่จะยื ่นขอใบรับรอง คาร์บอนฟุตพริ้นต์องค์กร (CFO) จำนวน 5 กิจการ

 

นางสาวณัฏฐิญา กล่าวเพิ ่มเติมว่า นอกจากนี ้ ดีพร้อม ขอเชิญชวนผู ้ประกอบการที ่ต้องการเพิ่ม ศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ECO Move ระบบขนส่งลดคาร์บอน ด้วยโลจิสติกส์เทคโนโลยีตามแนวทาง BCG Model ภายใต้กิจกรรมการพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตสู่ อุตสาหกรรมผลิตภาพสีเขียว (Green Productivity) การให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู ้ให้บริการโลจิสติกส์สีเขียว (Green Transport) และการอบรมด้าน Green Logistics และมาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ตาม ISO 14064-1 ผู ้ประกอบการสามารถติดตามข่าวสารของ ดีพร้อม ผ่านช่องทาง DIPROM Service (https://customer.diprom.go.th) นอกจากจะลดต้นทุนและลดของเสีย เปลี ่ยนต้นทุน เป็นรายได้และกำไร พร้อมสร้างเครือข่ายใหม่ ๆ แล้ว ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอุตสาหกรรม ของประเทศไทย ส่งผลต่อการเข้าถึง มุ ่งสู ่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์ของประเทศได้ไวยิ่งขึ้นอีกด้วย นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย