ทอ.เดินหน้า “กองทัพอวกาศ”Space AirForce สร้างเอง ดาวเทียม “NAPA 3”วางคิว ยิง เม.ย.69 หลัง NAPA1-NAPA2จะหมดอายุ ในปีหน้าเผย ทอ. คัด 10ผลงานวิจัย ก่อนส่ง เข้าสายการผลิตทั้ง ระบบปฏิบัติการ SATCOM Technology -ต่อยอด Quantum -Logistic Drone- เครื่องบินฝึกบังคับด้วยวิทยุ SIKAN-เครื่องบินเป้าอากาศ Aerial Target -Kamikaze Drone
ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ (ศวอ.)(Research and Development Centre for Space and Aeronauticle Science and Technology, RTAF) เดินหน้าสู่ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
พลอากาศโท บุญเลิศ อันดารา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า ได้มอบโนบายมุ่งขับเคลื่อน 10 ผลงานวิจัยของ ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ สู่ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตามนโยบาย พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ "กองทัพอากาศ" ที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ
1. ดาวเทียม NAPA-3ก้าวแรก สู่ Royal Thai Air and Space Force กองทัพอากาศและอวกาศดาวเทียม "NAPA-3" ออกแบบ สร้าง และพัฒนาโดยกองทัพอากาศไทย ด้วยศักยภาพด้านเทคโนโลยีอวกาศและความพร้อมในการขยายบทบาทสู่มิติอวกาศของกองทัพอากาศอย่างเต็มรูปแบบโดยมี กำหนดการปล่อยดาวเทียม NAPA-3 ในวันที่ 9 เมษายน 2569โครงการพัฒนาการสร้างดาวเทียม โดยกองทัพอากาศจะเป็นก้าวแรกของการมุ่งสู่SPACE AIR FORCE"
2.ระบบปฏิบัติการ SATCOM Technology-ระบบปฏิบัติการ SATCOM Technology ถูกพัฒนาให้รองรับการเชื่อมต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมที่มีประสิทธิภาพสูงพร้อมความสามารถในการสนับสนุนอากาศยานไร้คนขับของกองทัพอากาศเพื่อยกระดับศักยภาพการปฏิบัติการทางยุทธศาสตร์และภารกิจในทุกมิติ
3.โครงการวิจัยพัฒนาขีดความสามารถด้าน Quantum-"ต่อยอด ควอนตัม สู่การพัฒนาเทคโนโลยีการเข้ารหัส การสื่อสารระหว่างอากาศยานไร้คนขับและศูนย์บัญชาการ"เตรียมความพร้อมและพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพอากาศด้านเทคโนโลยีควอนตัมเพื่อรองรับต่อภารกิจด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ
1. เครื่องบินฝึกบังคับด้วยวิทยุ SIKAN-เครื่องบินช่วยฝึกบินขนาดกลาง ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับ"ภารกิจฝึกบินสำหรับนักบินอากาศยานไร้คนขับ ของกองทัพอากาศ" ผ่านการวิเคราะห์อากาศพลศาสตร์และความแข็งแรงโครงสร้างปีก ชุดฐานล้อและผลกระทบทางอากาศพลศาสตร์ ด้วยอุโมงค์ลมความเร็วต่ำกว่าเสี่ยงและระบบความคุมการบินอัตโนมัติ Return to Home
5.อากาศยานไร้คนขับ Logistic Drone -ภารกิจการขนส่งทางทหารและการบรรเทาสาธารณภัย"อากาศยานไร้คนขับ Logistic Drone ด้วยสมรรถนะระบบขับเคลื่อนด้วย Hybrid Gasoline-Battery System เพื่อภารกิจสนับสนุนการขนส่งทางทหารและการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ
6. เครื่องบินเป้าอากาศ Aerial Target-เครื่องบินเป้าอากาศอัตโนมัติ ?ขึ้น-ลงด้วย Runway เครื่องบินเป้าอากาศอัตโนมัติ ขึ้นด้วยแท่นยิง-ลงด้วยร่ม พร้อมแท่นยิงความเร็ว 200 กม./ชม. มีรัศมีปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 10 กม.
7.อากาศยานไร้คนขับ Kamikaze Drone-อากาศยานไร้คนขับโจมตีแบบพลีชีพ Multi-Mission พร้อมแท่นยิงเพื่อรองรับ “ภารกิจสนับสนุนภารกิจการฝึกทางยุทธวิธีของอาวุธต่อสู้อากาศยาน กองทัพอากาศ"
8. ภารกิจสนับสนุนโครงการ ฝนหลวง-เครื่องบินเป้าอากาศไร้นักบินเพื่อสนับสนุนภารกิจ ฝนหลวงเมฆอุ่นตามแผนการกิจการปฏิบัติการฝนหลวงในการเพิ่มประสิทธิภาพของการกระจายสารเคมีเพื่อก่อให้เกิดเมฆฝนในชั้นบรรยากาศ
9. สารยับยั้งไฟป่าสูตร ทอ.1"ภารกิจควบคุมและยับยั้งไฟป่า"สร้างแนวป้องกันไฟจากภาคอากาศโดยสารยับยั้งไฟป้าสูตร ทอ.1 กองทัพอากาศ
10.หน่วยปฏิบัติการ เคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์-ภารกิจเตรียมพร้อม ปฏิบัติการป้องกัน และเผชิญเหตุด้าน "นิวเคลียร์ ชีวะ รังสี เคมี"ของกองทัพอากาศเพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ภัยด้านนิวเคลียร์ ชีวะ รังสี เคมี ในระดับชาติ CBRN DEFENSE