เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.67 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ให้การต้อนรับ นาง Anna Hammargren เอกอัครราชทูต ราชอาณาจักรสวีเดน/ไทย ณ ห้อง สุรศักดิ์มนตรี ในศาลาว่าการกลาโหม
พลตรีธนาธิป สว่างแสง โฆษกกลาโหม กล่าวว่า รมว.กลาโหม ได้ชื่นชมความสัมพันธ์ที่มีมาแนบแน่นอย่างยาวนาน กว่า 156 ปี ทั้งในระดับราชวงศ์ รัฐบาล และประชาชน นํามาสู่ความร่วมมือระหว่างกัน ในหลายมิติ อาทิ การศึกษาและเทคโนโลยี นวัตกรรม พลังงานและสิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข
รวมทั้งนโยบายป้องกันประเทศ เน้นย้ำความสัมพันธ์ความร่วมมือด้านความมั่นคงและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างมีนัยยะสําคัญ
รวมทั้งยินดีที่ความร่วมมือทางทหารของทั้งสองประเทศอันมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บังคับบัญชาและกําลังพล การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนา ขีดความสามารถด้านยุทโธปกรณ์
นอกจากนี้กระทรวงกลาโหมหวังว่าจะสามารถขยายความร่วมมือร่วมกันต่อไป ทั้งในด้านความมั่นคงทางไซเบอร์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคง ในภูมิภาค รวมถึงพัฒนาการของการนําเทคโนโลยีที่ทันสมัย อาทิ AI มาใช้ในกิจการทางทหาร
อีกทั้งเชื่อมั่นว่า ออท.ราชอาณาจักรสวีเดน/ไทย จะสามารถสานต่อการดำเนินงาน ระหว่างกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
รวมทั้ง ขอบคุณสวีเดน ที่แสดงความประสงค์จะดำเนินความร่วมมือกับ กห. ในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง และยินดีที่ เครื่องบิน ขับไล่แบบ Gripen ของสวีเดนเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาของ ทอ. ด้วยมีความเข้ากันได้ของระบบที่ใช้งานในปัจจุบัน และมีความสอดคล้องกับปัจจัยด้านงบประมาณและความต้องการทางทหาร โครงการจัดหายุทโธปกรณ์ของ กห. ในครั้งนี้ ไม่เพียงแค่เสริมความเข้มแข็ง และทันสมัยให้กับกองทัพเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงความคุ้มค่า ผลประโยชน์ที่ประเทศและประชาชนจะได้รับตอบแทนกลับคืน
ในโอกาสนี้ ออท.ราชอาณาจักรสวีเดน/ไทย ได้ขอบคุณรมว.กลาโหมที่ได้ให้การต้อนรับ รวมทั้งกล่าวชื่นชมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ และสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกัน
จากนั้น นายภูมิธรรม ต้อนรับ นาย Mark Gooding เอกอัครราชทูต สหราชอาณาจักร/ไทย ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ในศาลาว่าการกลาโหม
พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษก กห. ได้กล่าวว่า รมว. กลาโหม กล่าวยินดีที่ไทยและอังกฤษได้ดํารงความสัมพันธ์ระหว่างกันมายาวนานทั้งในระดับราชวงศ์และรัฐบาล
ตลอดจนมีการเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยครบรอบ 169ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อ 18 เม.ย.2567 (สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต 18 เม.ย.2379)
ทั้งนี้ ไทยยินดีเป็นอย่างยิ่งที่อังกฤษมีสถานะเป็น “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์” โดยมีกลไกการหารือทวิภาคีที่สําคัญ คือ การหารือเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Dialogue: SD) ซึ่งเป็นเวทีสําคัญสําหรับขับเคลื่อน ความร่วมมืออย่างรอบด้าน
นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังมีความร่วมมือทางทหารระหว่างกันอย่างใกล้ชิดและมีพัฒนาการที่ดีมาอย่างต่อเนื่องและมีพลวัตอย่างสูง ครอบคลุมทั้งด้านการแลกเปลี่ยนการเยือน การสนับสนุนที่นั่งศึกษา การฝึกร่วม/ผสม ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และการจัดหายุทโธปกรณ์เข้าประจําการในกองทัพไทย รวมถึงการหารือทวิภาคีระหว่างกันในทุกระดับ
ในโอกาสนี้ ขอขอบคุณที่อังกฤษที่ได้เข้ามามีส่วนรวมในข้อเสนอการชดเชยการนําเข้ายุทโธปกรณ์ทางอ้อม ในโครงการจัดหา บ.ขับไล่ & ของ ทอ. ผ่านโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของ British Coucil ให้กับไทย ซึ่งจะเป็นส่วนสําคัญในการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐ
และขอแสดงความยินดีที่กห.อังกฤษ ได้รับฉันทามติจากประเทศสมาชิกอาเซียนในการเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ในกิจกรรมของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทหาร และความมั่นคงทางทะเล ในวงรอบปี2567-2570 ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงของภูมิภาคร่วมกัน
ทั้งนี้ เชื่อว่า ออท.สหราชอาณาจักร/ไทย จะสามารถสานต่อการดำเนินงาน ระหว่างกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศต่อไป