“ทัพเรือ” จัดเสวนากม.ทะเล แจงอำนาจรัฐชายฝั่ง-รัฐอื่น ทำอะไรได้บ้าง ชี้ิ ทะเลหลวง 200 ไมล์ทะเลรัฐไม่มีอำนาจเหนือพื้นที่ เว้นแต่การใช้อำนาจเหนือเรือยก JDA ไทย-มาเลเซีย, K-C Line ไทย-เวียดนาม ต้นแบบ ไม่ปะทะ รัฐบาลปัดตอบ JTC ควร เจรจาเขตแดน ควบคู่ ผลประโยชน์ใต้ทะเล หรือไม่ 

กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เปิดเวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง”หลักกฎหมายว่าด้วยอาณาเขตทางทะเล “เพื่อชี้ให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพเรือ ความท้าทายที่กองทัพเรือต้องเผชิญ  ตามแนวคิดของ พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผบ.ทร. โดยมี น.อ.เกียรติยุทธ เทียนสุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ น.อ.หญิงมธุศร เลิศพานิช รองผู้อำนวยการกองกฤษฎีกา สำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือ น.อ.รชต โอศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนอุทกศาสตร์ กรมอุทกศาสตร์ และน.อ.สมาน ได้รายรัมย์ อาจารย์ฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ เป็นวิทยากร

น.อ.หญิงมธุศร เลิศพานิช รองผู้อำนวยการกองกฤษฎีกา สำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือ อธิบาย เรื่อง กม.ทะเล ว่า  หากเป็นทะเลอาณาเขต  12 ไมล์ทะเล รัฐชายฝั่งมีอำนาจ อธิปไตยเหนือห้วงอากาศ ห้วงน้ำ พื้นดิน และได้ผิวดิน อำนาจ สิทธิการ อธิปไตยเหนือดินแดนทะเลต่อเนื่อง และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ  24 ไมล์ทะเล  สิทธิอธิปไตยในการสำรวจ แสวงประโยชน์ อนุรักษ์ และ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ในน้ำ เหนือและใต้พื้นดิน รัฐอื่นมีเสรีภาพในการเดินเรือและบินผ่าน รวมทั้งการวางสายเคเบิลและท่อใต้ทะเลรัฐชายฝั่ง มีสิทธิอธิปโตยในการสำรวจ แสวงประโยชน์ อนุรักษ์ และ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ในน้ำเหนือและได้พื้นดิน รัฐอื่นมีเสรีภาพในการเดินเรือและบินผ่าน ทั้งการวางสิทธิอธิปไตยในห้วงน้ำและมีสิทธิอธิปไตยบนไหล่ทวีปทะเลหลวง  รัฐไม่มีอำนาจเหนือพื้นที่ เว้นแต่การใช้อำนาจเหนือเรือไหล่ทวีป ซึ่งเลย จาก 200 ไมล์ทะเลจะต้องส่งมอบข้อมูลแก่คณะกรรมาธิการกำหนดขอบเขตของไหล่ทวีป และจะต้องจ่ายเงิน หรือให้ส่วนแบ่ง ที่ได้จากการแสวงประโยชน์ บริเวณพื้นที่และทรัพยากรในบริเวณพื้นที่เป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติทะเลหลวง เป็น ห้วงน้ำที่อยู่นอกเขตอำนาจของรัฐชายฝั่ง ทุกรัฐมีเสรีภาพภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ระยะขอบไม่เกิน 350 ไมล์ทะเลหรือไม่เกิน 100 ไมล์ทะเลจากเส้นน้ำลึก 2,500 เมตรบริเวณพื้นที่บริเวณพื้นที่และทรัพยากรในบริเวณพื้นที่เป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ ไหล่ทวีปซึ่งเลย 200 ไมล์ ทะเลจะต้องส่งมอบข้อมูลแก่คณะกรรมาธิการกำหนดขอบเขตของไหล่ทวีป และจะต้องจ่ายเงินหรือให้ส่วนแบ่ง ที่ได้จากการแสวงประโยชน์

น.อ. รชต  ยกตัวอย่าง พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ไทย- มาเลเซีย มีอยู่ 7,250 ตารางกิโลเมตร  บริเวณเกาะโลซิน ซึ่งไทยเป็นเจ้าของ ส่วนมาเลเซียเห็นว่า เกาะโลซินมีขนาดเล็ก และอยู่ไกล จึงไม่ให้นับมาอ้างสิทธิ์ได้ ที่ผ่านมาไทยกับมาเลเซียก็มีการพูดคุยกันมาอย่างต่อเนื่องก่อนปี 2515 โดยก่อนหน้านี้เคยมีปัญหากัน เช่น การจับกุมหรือประมง การเผชิญหน้าของกำลังทั้งสองฝ่าย จนกระทั่งปี 2515 ไทยกับมาเลเซีย ได้พูดคุยกันว่าจะทำอย่างไร  เมื่อเขตทางทะเลไม่ชัดเจน โดยเริ่มตกลงกันที่ทะเลอาณาเขต เราใช้เวลา 7 ปี สุดท้ายตกลงว่าใช้ประโยชน์ร่วมกัน จะเห็นได้ว่าใช้เวลาไม่นาน และตั้งคณะกรรมการร่วม  JDA - Jiont Development Area บริเวณที่2 คือ การอ้างสิทธิทับซ้อนไทยกับเวียดนาม ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน ในกรณีเวียดนาม เราใช้ความจริงใจในการพูดคุย เราใช้การคุยกันถึง 9 ครั้ง 5 ปี ด้วยความเข้มข้น จนได้รับการชื่นชม จากหลายประเทศ. โดยใช้เส้น H-C line

นอ. เกียรติยุทธ กล่าวว่า กองทัพเรือ ยึดแผนที่แสดงอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของประเทศไทย ซึ่งต้องคุ้มครอง และดูแลพื้นที่ที่อ้างสิทธิอย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจุบันนั้นได้ดำเนินการอยู่ ส่วนอีกเส้นที่มีการอ้างสิทธิ์ ก็เป็นเรื่องของคณะทำงานของรัฐดำเนินการ เพราะฉะนั้นขอย้ำว่า กองทัพเรือ กองทัพบกและกองทัพอากาศ ยึดแผนที่นี้เป็นหลัก

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงจุดยืนของกองทัพเรือในการแบ่งผลประโยชน์พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชาว่า ควรจะได้ข้อยุติทางเส้นเขตแดนก่อน หรือจะเจรจาผลประโยชน์ควบคู่ไปเลย รวมทั้งขอให้กองทัพเรือชี้แจงเหตุผลในแต่ละทางเลือกด้วย และ ชี้แจงหลักเกณฑ์ในการปักปันเขตแดน

น.อ. รชต กล่าวว่า  ประเทศไทยมีคณะกรรมการที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการชายแดน ทั้งทางบกและทางทะเล โดยคณะกรรมการดังกล่าว มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญ และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ผมคิดว่าการดำเนินการนีั ก็มีผู้ดำเนินการโดยตรงอยู่ กองทัพเรือ มีหน้าที่สนับสนุนทั้งผู้เชี่ยวชาญต่างๆและด้านความมั่นคงแก่คณะกรรมการดังกล่าว

น.อ.สมาน กล่าวว่า ขอเสริมในเรื่องความสลับซับซ้อน ในครั้งที่มีการลงนาม MOU 44 สภาวะแวดล้อมและปัจจัย รวมถึง เวลาเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง แต่พอมาถึงปัจจุบัน ผ่านมากว่า 20 ปี สภาวะแวดล้อม และปัจจัยในการหาข้อยุติ ตนคิดว่ายิ่งสลับซับซ้อน พร้อมยกตัวอย่างว่า ในห้องเรียนผมให้โจทย์เรื่องการปักปันเขตแดน นักเรียนสามารถหาคำตอบได้ภายใน 2 ชั่วโมง   แต่เมื่อใส่ปัจจัยต่างๆเข้าไป เช่น พื้นที่ทับซ้อน เวลาก็เพิ่มขึ้น ความยุ่งยากนั้นเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ และอีกอย่างหนึ่ง มันมีอะไรที่อยู่ในใจ สภาวะแวดล้อมต่างๆเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ซึ่งอีก 10 - 20 ปีข้างหน้า ก็ต้องเปลี่ยนไป ปัจจัยการพิจารณาก็ต้องเปลี่ยนไป

เมื่อถามยังถึงจุดยืนของกองทัพเรือว่า กองทัพเรือทำตามที่ คณะกรรมการ JTC เห็นชอบ ถ้าเห็นชอบว่าการแบ่งผลประโยชน์ ในพื้นที่ทับซ้อน ควรทำคู่ขนานกันไปกับการปักปันเขตแดน ก็จะทำตามนั้นใช่หรือไม่ น.อ.สมาน กล่าวว่า  ในเวทีนี้ ผมขออนุญาต ว่า พวกเราไม่สามารถที่จะตอบ ในระดับที่ผู้บริหารของกองทัพ ผมขออนุญาตจริงๆว่า ไม่สามารถตอบได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า พวกท่านคือผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านทะเลและกฎหมาย อะไรต่างๆ ควรจะตอบคำถามนี้ได้ ทำไมถึงตอบไม่ได้ น.อ. สมาน กล่าวว่า  หากตอบได้ ก็จะตอบ

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า  ทร.ควร ต้องตอบตามหลักการที่กองทัพเรือ เห็นว่าถูกต้อง และเป็นผลประโยชน์ของประเทศ ตามที่ท่านได้ศึกษามา หลักการเรื่องอาณาเขตทางทะเล ที่พูดมา 1-2 ชั่วโมง อยากทราบว่า กองทัพเรือยึดในหลักการอะไร

น.อ.เกียรติยุทธ ตอบว่า กองทัพเรือในแง่ทางเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นการ ปักปันเขตก่อนแบ่งผลประโยชน์ หรือทำอะไรก่อน เป็นส่วนที่เกินอำนาจของกองทัพเรือ เราได้แต่สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญมาจากหลายฝ่าย ไม่ได้มาจากกองทัพเรือฝ่ายเดียว แต่มาจากกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เพราะฉะนั้นตรงนี้จึงยังไม่สามารถบอกได้ว่า ท้ายที่สุดแล้ว คำตอบจะออกมาเป็นอย่างไร