เมื่อวันที่ 30 พ.ย.67 ที่มหาวิทยาลัยรังสิต นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรผู้นำทางสังคมธุรกิจและการเมือง วิทยาลัย ผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “รายงานและข้อค้นพบการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ กับอนาคตประเทศไทย”
โดยนักศึกษาได้นำเสนอรายงานการศึกษาในประเด็นต่างๆที่ได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงทาง ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics Disruption) โดยมีประเด็นนำเสนอรายงาน เช่น ข้อพิพาทเรื่องเกาะกูด สามเหลี่ยมทองคำ ปัญหาชายแดนไทย EEC บทบาทกองทัพเรือกับยุทธศาสตร์ทางทะเล แลนบริดจ์ เป็นต้น
โดยมีผู้ทรงวุฒิจากหน่วยงานราชการตัวแทนจาก สภาพัฒน์ ฯ กองทัพ กระทรวงกลาโหม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผศ.ดร. สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยผู้นำ และนวัตกรรมสังคม นายสมปอง สงวนบรรพ์ คณบดีคณะการทูตและการต่างประเทศ และอดีตเอกอัครราชทูต
นายภิสิทธิ์ กล่าวว่า ข้อถกเถียงเรื่องพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูดในขณะนี้นั้นความซับซ้อนสูง การจัดการอำนาจรัฐ และผลประโยชน์ของรัฐเป็นเรื่องใหญ่และมีความละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายภาคส่วน โดยเฉพาะแสดงท่าทีของผู้นำประเทศต้องมีความชัดเจน ต้องแสดงท่าที่ให้ชัดเจนไม่ว่าจะมิติความสัมพันธ์ หรือความขัดแย้งใด โดยต้องแสองให้เห็นว่าจะดำเนินนโยบายอย่างไรให้มีความชัดเจน เพื่ออำนาจการต่อรองกับประเทศคู่ความสัมพันธ์
นายอภิสิทธิ์ ย้ำถึงทิศทางการแก้ไขปัญหาในภาพรวมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยตั้งข้อสังเกตว่า ในสมัยหนึ่งฝั่งกัมพูชาเป็นฝ่ายที่อยากได้พลังงานในพื้นที่ดังกล่าวในตอนนั้นฝ่ายไทยก็จะมีอำนาจเหนือกว่าในการเจรจา แต่มาตอนนี้ กลายเป็นฝ่ายไทยอยากได้พลังงานมากกว่ากัมพูชา จนอาจทำให้อำนาจต่อรองในโต๊ะเจรจาของเราลดลงไปจากเดิม
ในขณะที่ ผศ.ดร. สุริยะใส กล่าวว่า หลักสูตรผู้นำทางสังคมธุรกิจการเมืองได้เปิดสอนวิชาภูมิรัฐศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกเพราะเห็นความสำคัญของสถานการณ์โลกที่มีการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างเข้มข้นจนส่งผลกระทบต่อไทย ในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสังคมธุรกิจการเมืองการศึกษาสิ่งแวดล้อมการอพยพย้ายถิ่น
การนำนโยบายต่างประเทศของรัฐไทยในมิติต่างๆจึงต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ไม่เช่นนั้นการแก้ปัญหาที่ขาดองค์ความรู้จะสร้างปัญหาใหม่ตามมามากมาย เช่น ข้อพิพาทเกาะกูด มิติความขัดแย้งสลับซับซ้อนมากกว่าประเด็นเรื่องพลังงานในไทย การยกผลประโยชน์พลังงานในจุดเดียวแต่ขาดมุมมองทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับความมั่นคงทางทะเลและความได้เปรียบของรัฐไทยในภูมิภาคระยะยาว ก็เป็นสิ่งที่ มองข้ามไม่ได้ รัฐบาลไทยจึงต้องรู้เท่าทันทุกมิติ