ปากกาขนนก / สกุล บุณยทัต

“..เรื่องราวของความรัก..มีคุณค่าและมีอารมณ์ความรู้สึก..ต่อการสรรค์สร้างความสุขอันจริงจังและงดงามให้เกิดแก่ชีวิตเสมอ..มันคือสัญชาตญาณในเชิงบวก แม้จะถูกรองรับและอัดแน่นไปด้วยความมุ่งหวังแห่งปรารถนา..ที่อยู่หางไกลออกไป สักเพียงใดก็ตาม...นั่นจึงให้ข้อคิดแก่ทุกคนได้ว่า ..การอยากมีความรักของใครก็ตามนั้นหาใช่ปัญหา..ทั้งนี้ก็เพราะว่าตัวของปัญหาจริงๆนั้นอยู่ที่การเชื่อว่า ชีวิตของเราจะมีความสุขได้ ก็ต่อเมื่อต้องมีความรักต่างหาก..”

นั่นเป็นเหมือนการท้าทายทางศรัทธา..ที่ปรากฏเป็นเนื้อในแห่งสาระเนื้อหาของหนังสือในเชิงจิตวิทยาบำบัด..ที่สร้างสรรค์และสื่อสารเรื่องราวออกมาโดย “นักจิตวิทยาบำบัด” คนสำคัญ.. “Conversations on Love” (ด้วยรักและการพูดคุยถึงสิ่งเหล่านั้น) โดย.. “นาตาชา  ลันน์” (Natasha Lunn)..นักเขียนขายดีที่ได้รับการยกย่องจาก “Sunday Time”..ผู้จบการศึกษาในด้าน “จิตวิทยาบำบัดคู่รัก”..และยังดำรงตำแหน่งรองบรรณาธิการนิตยสาร “RED” อีกด้วย ..

..นี่คือหนังสือที่นำเอาประสบการณ์ความรักอันมากหลายของผู้คน..มาถ่ายทอดสู่การรับรู้ของผู้อ่าน ผ่านบทสัมภาษณ์อันชวนใคร่ครวญครุ่นคิด สำรวจเข้าไปถึงความรู้สึกเบื้องลึกในแง่มุมของความสัมพันธ์นานา..ด้วยว่า...ความรักเป็นทั้งขุมพลัง ที่สามารถทำให้มนุษย์สร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่แสนมหัศจรรย์...กระทั่งบางครั้งก็เป็นได้ดั่งยาพิษ ที่ทำให้ต้องประสบกับอาการสาหัสสากรรจ์ได้..

ผลกระทบอันเนื่องมาแต่ความรัก..ความสัมพันธ์นั้น นับว่ายิ่งใหญ่มาก..แต่กลับไม่มีสถาบันไหนเลย..ไม่มีวิชาใดๆ ที่สอนในเรื่องความรักกันอย่างจริงจังในโลกนี้.. “คนรัก คนแปลกหน้า มิตรภาพ การสิ้นสุด และการเริ่มต้นใหม่..การสนทนาเพื่อค้นหาบทเรียนแก่หัวใจ”

จึงเป็นแก่นแกนหลักของหนังสือเล่มนี้..ที่นำเราให้ก้าวเข้าสู่โครงสร้างแห่งความรักและความหมายของมัน..อย่างถ่องแท้และไม่มีจุดสิ้นสุด..สำหรับใครๆได้เลย..! ..ด้วยมุมมองอันเฉียบคมและคำตอบที่ผ่านการตกผลึกโดยประสบการณ์จริง..ทำให้กลวิธีในการเล่าเรื่องของหนังสือเล่มนี้ ต่างไปจากวิธีการของหนังสือเล่มอื่นๆ..เราอาจจะนึกขึ้นมาได้เองในห้วงขณะที่บางสิ่งได้เกิดขึ้นว่า..มันไม่อาจหาทฤษฎีหรือหลักการใดๆในหัวได้เลย เว้นเสียแต่ว่าเราพอจะนึกถึงเรื่องราวของใครสักคนที่คล้ายเหมือนกับภาวะเช่นนี้...คล้ายเหมือนกับเหตุการณ์ที่เราเคยเผชิญอยู่ตรงหน้า..

คำถามสำคัญที่ใจความของหนังสือเล่มนี้ที่เฝ้าถามต่อเราก็คือว่า.. “เราจะหาความรักเจอได้อย่างไร?..เราจะรักษาความรักให้ยั่งยืนได้อย่างไร?...และเราจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไรเมื่อสูญเสียความรักไป?...นั่นคือคำถามในโครงสร้างแห่งเนื้อในของชีวิตที่ทายท้าต่อคำตอบอันเป็นประหนึ่งจิตวิญญาณของหนังสือเล่มนี้..

“การสูญเสียมันจะเกิดขึ้นกับเราทุกคน..บางคนก็โชคดีกว่าคนอื่นอย่างเห็นได้ชัด..แต่ถึงจุดหนึ่ง..เราต่างต้องสูญเสียอะไรบางอย่าง โดยไม่ทันตั้งตัว..ฉันไม่คิดว่า.. “คุณจะรู้เรื่องนี้..จนกว่ามันจะเกิดขึ้นกับคุณ”..แม้ว่าในทางทฤษฎี คุณจะรู้ว่า..วันใดวันหนึ่ง ก็ต้องเสียใครบางคนไป”

...ข้อสงสัยต่างๆนานาเกี่ยวกับความรัก ทำให้ “นาตาชา” ..ผู้เคยตกอยู่ในบ่วงของความทุกข์หนักจากความรัก มาโดยตลอด..ต้องผิดหวังในชีวิตมาในหลายๆ ครั้ง..เธอจึงได้แสวงหาคำตอบว่า..ทำอย่างไรเราถึงจะรอดพ้นจากบาดแผล ที่เกิดจากความรัก..ด้วยการที่เธอ..ได้ไปพูดคุยกับบุคคลมากมาย..ในหลากหลายวงการ..ด้วยสำนึกคิดในประเด่นของ ข้อคิดหลากมิติ เรื่องเล่าสารพัน และ แนวทางชีวิตที่น่าสนใจที่เธอได้รับจากการพูดคุย ที่สุดก็กลับกลายออกมาเป็น สาระอันสำคัญยิ่งของหนังสือเล่มนี้..นับจาก.ความเดียวดายจากการสูญเสีย ความเปราะบางในเปราะบาง จิตวิทยาการอยู่โดยลำพัง  หรือ ความคิดหวังที่ไม่เป็นจริง ฯลฯ..

“เราได้เรียนรู้ เศรษฐศาสตร์ ไวยากรณ์ ภูมิศาสตร์ และวิชาอื่นๆอีกมากมาย แต่ทำไมไม่มีวิชาสอน เกี่ยวกับความรักเลย..”

“นาตาชา” ได้สัมภาษณ์..ผู้คนถึงเรื่องความรักมากมาย จนเธอได้พบว่า..ทุกคนมีความกลัวลับๆ..คือกลัวว่าตัวเองจะไม่ดีพอ ซึ่งวัยเด็กก็มีส่วนหล่อหลอม ความสัมพันธ์ในวัยผู้ใหญ่เหมือนกัน..ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่มนุษย์มีอยู่ร่วมกัน ซึ่งถ้าพิจารณาแล้ว นี่คือเหตุที่ทำให้..ชีวิตของใครหลายคนคน ไม่เป็นตัวของตัวเอง “หากความกลัวนั้นคือความตื่นเต้น และเป็นความกลัวที่ดีต่อตัวเองให้ทำต่อไป..ทั้งๆที่ยังรู้สึกกลัวนั่นแหละ”

เนื่องเพราะ..ความกลัวนั้นสามารถนำมาใช้ได้ ในอีกหลายไปเรื่อง นอกจากเรื่องของความรัก..อย่างเรื่องการทำอะไรใหม่ๆ..ถ้ามันไม่ใช่เรื่องที่ยาก ถึงแม้จะรู้สึกกลัว แต่ก็ต้องลองทำไปก่อนให้ได้ ว่ากันว่า..ความรักไม่ได้มีแค่ความสุขอย่างเดียว อย่างที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว  แต่ความทุกข์ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของความรัก ไม่ว่าเราอยากจะหลีกหนีหรือไม่ก็ตาม..

“ชีวิตคนเราเต็มไปด้วยเรื่องราวแห่งการสูญเสีย ทับซ้อนกันไปมา”

นั่นเป็นคำกล่าวของ “สตีฟ กรอสซี” นักวิเคราะห์ชีวิตบุคคลที่นาตาชา..ได้อ้างถึงควาวามคิดของเขาไว้อย่างน่าสนใจ..เพราะนับตั้งแต่แรกเกิดมา..ก็ถือเป็นการผละออกจากกายร่างของแม่..พอโตขึ้นหน่อยก็ต้องแยกย้ายจากเพื่อนๆเมื่อยเปลี่ยนชั้นเรียนในแต่ละชั้น..ไปเรื่อยๆ..

จนโตขึ้น..เมื่อแต่งงาน ก็ต้องผละออกจากบ้าน เพื่อเปิดรับครอบครัวใหม่..ชีวิตดำเนินไปด้วยวัฏจักรแห่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้..จนแก่เฒ่า..กระทั่งตายจากโลกนี้ไป..

"ไรเนอร์ มาริฮา ริลเคอ"ผู้เขียนหนังสือ"จดหมายถึงกวีหนุุ่ม"(Letter to The Young Artists)..ได้แสดงความคิดในหนังสือเล่มนี้ซึ่ง"นาตาชา"ได้ยกมากล่าวอ้างถึงอย่างน่าสนใจต่อชีวิตว่า "จงเร่งหาคำตอบจากความรักตั้งแต่ตอนนี้ ไม่มีคำตอบใดเผยออกมาได้หรอก เพราะคุณยังไม่ได้สัมผัสประสบการณ์ในตัวเอง และสิ่งสำคัญคือ การใช้ชีวิตเหนือสัมผัสจากทุกสิ่งในตอนนี้...จงใช้ชีวิตกับคำถามเหล่านี้ไปก่อนเถิด..!"

การที่นาตาชา..ได้ออกไปพูดคุยกับผู้คนในหลากหลายวงการ ผ่านการทำจดหมายข่าวที่มีชื่อว่า “Conversations on Love"..เธอไม่ได้พูดถึงความรักในแง่ชู้สาวอย่างเดียว แต่ไม่พูดถึงวิธีที่มนุษย์เชื่อมโยงกันในด้านลึก เธอจะผูกประโยคจากหนังสือเล่มอื่นๆ ที่เธอได้อ่านก่อนที่จะเข้าบทสนทนาของเธอ..

ประโยคกระทบใจจาก"แอน คาร์สัน"ในหนังสือ"Ever The Bitter Sweet"

.."เมื่อฉันปรารถนาคุณ ฉ้นก็เสียตัวตนส่วนหนึ่งไปแล้ว"นั่นคือความสั่นสะเทือนที่ล้ำลึกในความรู้สึก..เช่นเดียวกับ..เมื่อคุณเผลอตกหลุมรักใครสักคน มันจะเริ่มรู้สึกถึงความไม่เป็นตัวของตัวเองในช่วงแรก และมีนจะกระอักกระอ่วนยิ่งในความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจน..และจะยิ่งทำตัวไม่ถูก..ว่าต้องทำตัวอย่างไรแค่ไหน..ถึงจะพอดี

สุดท้าย..ความรัก..ก็เลยไม่ไปไหนเสียที..ทำให้เกิดความรู้สึกว่า.".เป็นเวลาที่อยู่ตัวคนเดียว"ไม่ ..ไม่คบกับใคร.. เป็นช่วงเวลาที่ได้เป็นตัวของตัวเอง..

"ดอลลี่ ฮันเตอร์"ได้กล่าวเอาไว้อย่างน่าขบคิดว่า..."ฉันหวังว่า จะกลับไปเป็นตัวฉันในวัยยี่สิบห้าอีกครั้ง..และยืนยันกับตัวเองในตอนนี้ว่า รูปแบบของมิตรภาพจะเปลี่ยนไปอีก ซึ่งหมายถึงตลอดชีวิต และนั่นเป็นเรื่องปกติ..แต่ฉันต่อต้านการเปลี่ยนแปลง จนทำให้เพื่อนๆเครียด..ฉันอาจจะกดดันพวกเขา ให้คงความเป็นตัวเอง ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง..เพราะสำหรับฉัน ..มิตรภาพที่คงที่บ่งบอกถึง..ความรัก"

นาตาชา ..ได้อ้างถึงวิธีคิดจากหนังสือจำนวนที่มีส่วนผูกพันและสรรค์สร้างชีวิตรักของเธออย่างมีความหมาย..มันเป็นผัสสะแห่งใจที่สะท้อนถ่ายถึงอารมณ์ความรู้สึกแห่งรักออกมาได้เป็นอย่างดี..

"เบลส์ ฮุกส์"..ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "All about Love" เอาไว้ว่า"ความเคารพทำให้ความโรแมนติกเข้มข้นขึ้น..เธอได้แสดงความคิดเป็นการสสำทับว่า.."แม้ผู้คนจะคิดอย่างไรก็ตาม..ไม่เป็นความจริงที่การเดินเข้าหาความรักด้วยเจตนา  จะทำให้ความรักจืดจางหรือสลายไป ..ในความเป็นจริง เธอเชื่อว่า..ในทางตรงกันข้าม..การเข้าหาความรักโรแมนติก จากรากฐานของความเอาใจใส่ ความรู้ และความเคารพนี้น..จะทำให้ความรักเข้มข้นขึ้น..

แน่นอนว่า.. “มันจะสมเหตุสมผลเสมอ ที่ความโรแมนติกจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย..หากไม่มีพอเจตนาและไม่มีความรักใคร่.."

อีกประเด็นหนึ่งที่ลึกซึ้งต่อใจ..อยู่ในประเด็นเรื่องราวของ"ความรักคือการหาทางกลับมาหากัน"อันเป็นเรื่องราวของการแต่งงานที่มีความสุขโดย "An Patchette"..ซึ่งเธอได้แสวงหาความเข้าใจในความรัก ด้วยหวังว่า หากมีการเรียนรู้มาก็พอ เธออาจหลีกเลี่ยงปัญหาจากความรักได้..หรืออย่างน้อยก็สามารถก้าวข้ามผ่านช่วงเลาที่เจ็บปวดกว่านี้ได้..

และสำหรับวันนี้..เธอเข้าใจแล้วว่า..ความรักไม่ใช่เรื่องราวที่บริสุทธิ์ ..มันจะต้องมีการเสียตำแหน่ง มีหนี้สิน มีการถึงจุดสุดยอด ท้องเสีย..ญาติพี่น้องเจ้าเล่ห์ และคนแปลกหน้า..ฯลฯ.ที่ดึงดูดวันเวลาที่แสนน่าเบื่อหน่าย ของชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้..

"คนเรามักจะแตกหักกัน เมื่อเวลาผ่านไป..ไม่ว่าพวกเขาจะมีความรักต่อกัน..มากเพียงใดก็ตาม.." ..ความคิด..เกี่ยวกับตัวเองนับเป็นนัยหนึ่ง..ที่น่าสนใจในมิติของความรัก..กล่าวคือ.."การรักตัวเอง..คือการดึงความแข็งแกร่งจากตัวตนที่แตกต่างกัน ของตัวเราเอง.."

สาระใจความสำคัญ..จากหนังสือ"ไล่ตามสายรุ้ง"(Chase the Rainbow) ระบุว่า..ส่วนสำคัญของความรักคือการเรียนรู้ที่จะพึ่งพาผู้อื่นและขอความช่วยเหลือ แต่ยังมีช่วงเวลาอันเจ็บปวดที่รู้สึกได้.. รู้สึกประหลาดใจ ที่ความรู้สึกในตัวตนของฉัน นำทางฉันมาได้..เมื่อตัวตนหนึ่งของฉันไม่รู้สึกแข็งแกร่ง พอที่จะลุกจากเตียงในตอนเช้าหลังจากอกหัก ก็มีตัวตนอีกตนหนึ่งที่พูดว่า.."เราทำได้"และดึงฉันขึ้นมาสู่วันใหม่..!

..ประเด็นข้อคิดสำคัญ..ที่ผมถือเป็นข้อคิดที่น่าสนใจที่สุดของหนังสือเล่มนี้ ก็คือ บันทึกความทรงจำเกี่ยวกับประสบการณ์ของ “Sonali Deraniyagale" ที่ปรากฏในหนังสือ "WAVE"..เธอได้สูญเสีย พ่อแม่ สามี ลูกชายวัยเตาะเตะ..ในเหตุการณ์สึนามิ ที่ชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของประเทศศรีลังกา..หลังจากการสูญเสีย เธอนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์วันแล้ววันเล่า เผชิญหน้ากับทุกสิ่งที่เธอสูญเสียไป เธอต้องหาหนทางใช้ชีวิต ไม่เพียงแต่จะต้องดำเนินชีวิตต่อไปเท่านั้น แต่ยังต้องแบ่งปันความจริงของความพยายามนั้นกับผู้คนด้วย.."ความทรงจำเกี่ยวกับความรักนั้น ไม่เคยเลือนหาย แต่จะขยายใหญ่ขึ้น..ในตอนแรก..ความทรงจำนั้นเจ็บปวดเกินไปสำหรับเธอ..แต่ต่อมาเมื่อเธอปล่อยให้พวกเขาได้พูดคุยในใจ...

  "ฉันก็รู้สึกดี..สิ่งนี้มันทำให้ฉันมีประกาย"

นี่คือ..ความงามจากหนังสือเล่มหนึ่ง..ความงามจากบันทึกต่างๆในบทสนทนาของความรักและความรู้สึกรัก..ที่เป็นไปอย่างล้ำลึกและเต็มไปด้วยความหมายของชีวิต..มันดำรงอยู่และดำเนินไปด้วยกระบวนการของจิตวิญญาณอันอ่อนโยน..แต่ทรงพลังต่อการสอนสั่ง..การรับรู้แห่งตัวตนที่คอยโอบประคองตัวตน..อย่างเป็นประกาย..

มันคือ..ผลรวมของการประกอบสร้างถ้อยคำทั้งภายนอกและภายในจิตใจ ที่ทำให้คุณค่าของความรัก..เพิ่มมากขึ้น..และกลายเป็นรากเหง้าอันสมบูรณ์แห่งนิวาสสถานของทุกสิ่ง..เท่าที่ชีวิตจะทอประกายขึ้นมาได้..ในทุกครา.. “ณัชชา บัวกลิ่น” แปลและถ่ายทอดหนังสือเล่มนี้ออกมาอย่างประณีต..เข้าใจในเข้าใจถึงบริบทที่ซ่อนเร้นไว้ในทุกไปมิติ..

การอ่านหนังสือเล่มนี้..ในห้วงขณะที่ชีวิตขาดความรัก..จะทำให้เกิดพลังใจที่จะฟื้นชีวิตขึ้นมาสู่การคว้าจับความรู้สึกรักอย่างเนียนแนบ..แผ่วเบา และ เปี่ยมเต็มไปด้วย"มิตรใจ"...

"เมื่อเรารักใครสักคน...เรายังคงสนทนากับพวกเขาต่อไป..แม้ว่าพวกเขาจะจากไปแล้ว..และแม้ว่าสิ่งนี้จะไม่สามารถทดแทนการมีอยู่ของพวกเขาได้..แต่การเตือนใจที่เจ็บปวด กลับทำให้เรายังคงรักษาพวกเขาไว้ใกล้ตัว .มันเป็นวิธีหนึ่ง..ในการรัก"พวกเขา"ตลอดไป .."