ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ / ทหารประชาธิปไตย

ในเกมของสงครามระหว่างสหรัฐฯ กับ รัสเซีย มีมีการเดินหมากกันมายาวนาน ตั้งแต่การรวมชาติเยอรมนี และถือว่าเป็นการสิ้นสุดสงครามเย็น ภายหลังการทำลายกำแพงเบอร์ลินปี ค.ศ.1989 และ รวมประเทศเยอรมนีให้ปี ค.ศ.1990

ทุกฝ่ายต่างก็มีท่าทีที่ลดหย่อนลง และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ทั้งนี้นายเจมส์ เบเกอร์ที่ 3 รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้กล่าวต่อหน้าสื่อและระดับสูงของสหภาพโซเวียต สมัยประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ ความว่า นาโตจะไม่ขยายตัวแม้สักนิ้วเดียว

แต่ในความเป็นจริงนาโตกลับขยายตัวเข้ามาในยุโรปตะวันออกอย่างต่อเนื่อง จนอีก 32 ปี ต่อมาก็ถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

อย่างไรก็ตามในยุคต้นของรัสเซียสมัยที่เยลชิน เป็นประธานาธิบดีรัสเซียมีความอ่อนแอไม่อาจทัดทานขัดขืนการรุกของนาโต แม้ในยุคต้นๆของรัสเซียในสมัยปูติน ซึ่งในเบื้องต้นก็นิยมตะวันตก และเคยสมัครเข้าเป็นสมาชิก EU แต่ถูกปฏิเสธ

ในช่วงกลางของการครองอำนาจของปูติน เขาจึงหันมาพัฒนาเศรษฐกิจภายในของรัสเซีย ควบคู่ไปกับการเพิ่มความเข้มแข็งทางทหาร

จนเมื่อปี 2005 มีการประชุมสุดยอดนาโตที่บูคาเรสต์ โรมาเนีย และสหรัฐฯ เสนอให้รับเอายูเครนและจอร์เจียเข้าเป็นสมาชิกนาโต

รัสเซียภายใต้การนำของปูตินก็เริ่มส่งเสียงดังคัดค้าน แต่ก็ไม่เป็นผล

จนปีค.ศ.2014 รัสเซียจึงยกกำลังบุกไครเมีย ซึ่งเป็นที่ตั้งฐานทัพเรือของรัสเซีย ณ เมืองเซวาสโตโพล จนทำให้เกิดการเจรจาและลงนามในสัญญามินส์ ที่เบรารุส ต่อมานางอังเกล่า แมร์เคิล อดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมนีที่มีส่วนร่วมรับประกันในสัญญามินส์ ได้เปิดเผยว่าเป็นแผนประวิงเวลากับรัสเซียเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กองทัพยูเครน

จนปีค.ศ.2019 ด้วยการสนับสนุนของสหรัฐฯ นายโวโลดิเมียร์ เซเรนสกี ก็ได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดียูเครน โดยในระยะต้นประกาศจะเป็นกลาง แต่ก็มาเปลี่ยนใจภายหลังประกาศจะเข้าเป็นสมาชิก EU และนาโต ท่ามกลางการคัดค้านของรัสเซีย โดยรัสเซียอ้างว่าจะเป็นภัยคุกคามต่อรัสเซีย หากมีการมาติดตั้งขีปนาวุธในยูเครน ซึ่งมีระยะทางจากชายแดนถึงมอสโก ประมาณเพียง 500 กม.

ทว่าเซเรนสกียังยืนยันและอ้างว่ามันเป็นอำนาจอธิปไตยของยูเครนที่จะตัดสินใจทำอะไรก็ได้กับประเทศของตน

ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2022 รัสเซีย จึงเคลื่อนพลบุกยูเครน และกลายเป็นสงครามยืดเยื้อจนปัจจุบันนี้ เพราะนาโตให้การสนับสนุนยูเครนทั้งอาวุธ เงิน และกำลังคน ทำให้ยูเครนสามารถต้านทานการบุกของรัสเซียได้

มาบัดนี้ประธานาธิบดีไบเดน ซึ่งใกล้จะหมดวาระและสนับสนุนเซเรนสกี มาตลอด กลับอนุญาตให้ยูเครนใช้ขีปนาวุธพิสัยไกล ATACMS ซึ่งยิงจากภาคพื้นดิน สู่พื้นดินและมีระยะทำการไกลได้ถึง 300 กม. ยิงเข้าไปในแผ่นดินรัสเซียได้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยอนุญาต ทำให้ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสดำเนินการตามสหรัฐฯ

นอกจากอนุญาตให้ใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลโจมตีเข้าไปในเขตแดนรัสเซียแล้ว ไบเดนยังอนุมัติงบสนับสนุนอาวุธยูเครนประมาณ 200 กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องกระสุนจรวดต่อสู้รถถังตลอดจนอาวุธเคมีชีวภาพและกับระเบิดสังหารบุคคลให้ยูเครน รวมทั้งกระสุนกัมมันตภาพ คือกระสุนเจาะเกราะที่หุ้มด้วยยูเรเนียม

อนึ่งกับระเบิดสังหารบุคคลนั้นเป็นที่ต้องห้ามตามอนุสัญญาเจนีวา แต่สหรัฐฯก็ไม่สนใจเพราะเคยส่งอาวุธต้องห้ามอื่นๆให้ยูเครน และอิสราเอลมาแล้ว เช่น ระเบิดดาวกระจาย หรือระเบิดเพลิงฟอสฟอร์รัสขาว

จากการวิเคราะห์ในมุมมองของ Wargame ที่มีเบื้อง หลังinvisible hand จะเห็นได้ว่าไบเดน ได้วางหมากกลไว้ไม่เบา กล่าวโดยสรุปเกมนี้มีผู้เล่น 3 คน คือ ไบเดน ทรัมป์ และปูติน โดยมีเซเรนสกี เป็นเบี้ยให้เดิน

ทั้งนี้ไบเดนเปิดเกมก่อนด้วยการอนุมัติให้เซเรนสกี ใช้ขีปนาวุธยิงเข้าไปในดินแดนรัสเซียได้ ทั้งๆที่ปูตินเคยขู่ว่าจะตอบโต้อย่างรุนแรง ทั้งยูเครนและประเทศผู้ให้อาวุธมาโจมตีในดินแดนรัสเซีย ซึ่งอาจหมายถึงการใช้อาวุธนิวเคลียร์ด้วย

แล้วไบเดนต้องการอะไร ไบเดนมี 2 แผน แผน A เพื่อสนับสนุนยูเครนอย่างเต็มที่ในสมัยของตนและทำให้ยูเครนยังคงต้านทานการบุกของรัสเซียไปได้อีกระยะหนึ่ง ทั้งๆที่ก็รู้ว่ายูเครนต้องแพ้ แต่ไบเดนไม่ต้องการให้แพ้ในสมัยตน

แบบอย่างนี้ทำกันมาโดยตลอด ระหว่างพรรคเดโมแครต และพรรครีพับลิกัน เช่น สงครามเวียดนาม จอห์นสัน เปิดฉากการยอมเวียดนาม จอห์นสันเปิดฉากการบอมบ์เวียตนามเหนือขนานใหญ่ ทั้งๆที่รู้ว่าเวียดนามใต้แพ้แน่ แต่ก็ทำให้เวียดนามเหนือช้าลงในการบุกโจมตีเวียดนามใต้ แล้วจอห์นสัน ก็ส่งไม้ต่อให้นิกสัน จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งต่อมาก็แพ้สงครามในเวียดนาม สงครามในอัฟกานิสถานก็เช่นกัน รีพับลิกันส่งไม้ต่อให้เดโมแครต และมาจบลงในสมัยนั้น

แผน B ไบเดนคาดว่าปูตินจะตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ตามที่เคยขู่ไว้ ดังนั้นจึงสั่งปิดสถานทูตสหรัฐฯในเคียฟทันทีหลังอนุญาต

ด้านทรัมป์ผู้เล่นอีกคนกลับเงียบผิดปกติ มีแต่ลูกออกมาประณามไบเดน ทั้งนี้เพราะทรัมป์เชื่อว่าไบเดนจะไม่เปิดสงครามนิวเคลียร์ แต่จะยั่วยุให้รัสเซียทำ โดยที่ถ้าปูตินโจมตีเคียฟ ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ยุทธวิธี ซึ่งมีรัสมีการทำลายล้างประมาณ10กม.แต่จะทำให้ชาวยูเครนในเคียฟ ล้มตายหลายแสนคน และปูตินจะถูกประนามว่าป่าเถื่อนโหดร้าย สหรัฐฯก็จะกลายเป็นพระเอกโดยทรัมป์ก็จะทำตามไบเดน คือ รณรงค์แซงก์ชันอย่างรุนแรงกับรัสเซีย เพราะจะมีหลายประเทศที่โกรธแค้นความเหี้ยมโหดนั้น ทรัมป์เองก็จะได้ใช้เป็นเงื่อนไขบีบปูตินเข้าสู่โต๊ะเจรจาและไม่ต่อรองมาก

ฝ่ายปูตินคิดหนักเพราะเคยขู่จะใช้นิวเคลียร์และถูกกดดันจากภายใน ดังนั้นปูตินจึงแก้เกมด้วยการใช้ขีปนาวุธ IRBM ที่สามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ แต่ไม่ใช้นิวเคลียร์ ใช้ระเบิดธรรมดาขนาดเบาถล่มเมืองนิโปรที่ตั้งโรงงานผลิตยุทธปัจจัยของยูเครน ขีปนาวุธที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ คือ Oreshnik ที่ทำให้วิ่งได้เร็วเหนือเสียง 10 เท่าระยะทำการ 5,000 กม. เพื่อแสดงให้ยุโรปเห็นว่าถ้ารัสเซียใช้นิวเคลียร์จะเกิดอะไรขึ้นและขีปนาวุธเร็วเหนือเสียงนี้ไม่มีระบบขีปนาวุธใดป้องกันได้ นอกจาก THAARD ที่อาจจะรับมือไหว แต่สหรัฐฯมีประจำการแค่ 7 ชุด 4 ชุดอยู่ในประเทศ อยู่ที่เกาะกวม1ชุดที่เกาหลีใต้1ชุดและที่อิสราเอล1ชุด

แต่แทนที่ยุโรปจะสำนึกในการประชุมฉุกเฉินนาโตกลับมีนายพลอเมริกันออกมาให้สัมภาษณ์ว่าเราเตรียมแผนโจมตีรัสเซียยิ่งทำให้ยิ่งเครียดกันไปใหญ่

อนึ่งขีปนาวุธของสหรัฐฯนั้นแม้ยูเครนจะเป็นฝ่ายยิง แต่การกำหนดเป้าอยู่ที่ดาวเทียม และทีมงานภาคพื้นดินของสหรัฐฯ ไพ่ใบต่อไปถ้าไบเดนจะเล่นเพื่อบีบรัสเซียให้ใช้นิวเคลียร์ก็คือกำหนดเป้าโจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่แคว้นคูช ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ต้องดูว่าปูตินจะตอบโต้อย่างไร ซึ่งปูตินอาจไปเปิดประเด็นที่คิวบา คือไปติดตั้งขีปนาวุธที่คิวบา!!!

สุดท้ายถ้าเกิดสงครามนิวเคลียร์ ไบเดนอาจให้กองทัพประกาศใช้กฎอัยการศึกและรักษาการต่อ โดยเลื่อนการสาบานตนของทรัมป์ออกไปจนกว่าจะจบสงคราม อย่างนี้เดือดร้อนกันทั่วโลก