ที่ทำการกำนัน ต.ทรายขาว อ.คลองท่อม จ.กระบี่ นางสุรภี ใจเกลี้ยง พัฒนาการอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่พร้อมด้วย นายตะวัน ดีใจ ปลัดอำเภอคลองท่อม ประจำ ต.ทรายขาว พ.ต.ท.ทวีศักดิ์ ยองเข รอง ผกก.ป.สภ.ทรายขาว นายอนุชา หลานเด็น กำนัน ต.ทรายขาว ผู้นำชุมชน และคณะทำงานภาคีเครือข่าย ร่วมประชุมขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งได้กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ภายใต้วิสัยทัศน์ “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ชุมชนมีศักยภาพในการบริหารจัดการและพัฒนาตนเองสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง คนในชุมชนมีงาน มีอาชีพ มีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงานพัฒนาด้านต่างๆ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ ร่วมกันขับเคลื่อนงานพัฒนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น Change for Good เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม และสามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาและความต้องการของประชาชน ได้อย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมาย 1 อำเภอ 1 ตำบล

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคลองท่อม ได้กำหนดพื้นที่โครงการตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ขึ้นโดยใช้พื้นที่ตำบลทรายขาว เป็นพื้นที่เป้าหมายฐานการพัฒนา ภายใต้กลไกศูนย์ประสานการองค์การชุมชนระดับตำบล และกลไก 7ภาคี การขับเคลื่อน วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้นำ กลุ่ม องค์กร ภาคีเครือข่าย และประชาชนได้เรียนรู้และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต และนำมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีความเข้มแข็งทั้ง 3 มิติ ด้านความมั่นคง ด้านความมั่งคั่ง และด้านความยั่งยืน 

นอกจากนี้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการตำบล สู่ตำบลจัดการตนเองที่มีความมั่นคง มั่งคั่งคั่งและยั่งยืน โดยร่วมกันขับเคลื่อน ด้วยการจัดเวทีสร้างการรับรู้ประกาศวาระตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) กับหน่วยงานภาคีเครือข่าย โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ชุมชนมีศักยภาพในการบริหารจัดการและพัฒนาตนเองสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนเศรษฐกิจฐานรากมั่นคง คนในชุมชนมีงาน มีอาชีพ มีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมได้ร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อแบ่งปั่นให้กับคนในชุมชน