เขียนโดย หวังซือเฉิง

ปี 2025 เป็นการครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนกับไทย เมื่อมองสู่อนาคต การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันจะได้รับโอกาสมากมาย จีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทยมานานกว่า 10 ปีติดต่อกัน ในปี 2023 ยอดมูลค่าการค้าจีน-ไทย ทะลุ 126 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผลไม้ต่าง ๆ ของไทย เช่น ทุเรียน มังคุด ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีน จีนกลายเป็นแหล่งลงทุนจากต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดของไทย ปี 2023 ยอดการลงทุนในไทยของจีนเกิน 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 109% เมื่อเทียบกับปี 2022 คิดเป็น 25% ของยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทย หลังจากที่ทั้งสองประเทศใช้มาตรการ "วีซ่าฟรีไทย-จีน" นักท่องเที่ยวทั้งสองประเทศเที่ยวอีกประเทศกันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยกล่าวว่า จีนและไทยสนับสนุนให้กันและกันยึดมั่นในแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงของประเทศตน และให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์หลักของอีกฝ่าย ตลอดจนปัญหาที่แต่ละฝ่ายให้ความสนใจ นับเป็นแบบฉบับแห่งความร่วมมือฉันมิตรระหว่างประเทศที่มีระบอบสังคมต่างกัน ความร่วมมืออย่างจริงจังระหว่างสองประเทศถือเป็นความร่วมมือระดับแนวหน้าระหว่างจีนกับบรรดาประเทศอาเซียนทั้งหลาย

ภาพถ่ายในโรงงานบริษัทไมเดีย รีฟริจเจอเรชั่น อีควิปเมนท์ (ไทยแลนด์) ที่จังหวัดชลบุรี

ดร.วิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีนเห็นว่า จากคำแถลงนโยบายของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร  ซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นใหม่พบว่า ทิศทางนโยบายหลายด้านระบุถึงภาคส่วนความร่วมมือที่สำคัญระหว่างจีนกับไทย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างพื้นฐานความร่วมมือระหว่างสองประเทศให้แนบแน่นขึ้น และพยายามบุกเบิกภาคส่วนความร่วมมือใหม่ ๆ เช่น รถยนต์ EV เศรษฐกิจสีเขียว และเศรษฐกิจดิจิทัล

จีนเป็นตลาดส่งออกผลิตผลการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจีนด้วย หลายปีมานี้ ตลาดจีนได้นำเข้าผลิตผลการเกษตรของไทยกว่า 40%  เฉพาะทุเรียนอย่างเดียว ยอดมูลค่าส่งออกสู่จีนก็สูงกว่า 4,566 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ในฐานะแหล่งทุนต่างประเทศที่สำคัญของไทย ตามสถิติเบื้องต้น วิสาหกิจจีนที่เข้าไปลงทุนมีกว่า 1,000 แห่ง ช่วงสองปีที่ผ่านมา โครงการที่จีนขอลงทุนนั้นมี 588 โครงการ ยอดเงินลงทุนเกือบ 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยภาคส่วนที่วิสาหกิจจีนเข้าไปลงทุนเป็นหลักคือ รถยนต์ EV เศรษฐกิจดิจิทัล พลังงานใหม่ และอุตสาหกรรมการผลิตที่ทันสมัยต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของไทยในระดับสูง ได้สร้างคุณูปการสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม การส่งออก การเพิ่มตำแหน่งงาน และเพิ่มรายได้ภาษีของไทย อีกทั้งช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมที่รุ่งเรืองใหม่ ตลอดจนศักยภาพการแข่งขันของไทยด้วย

ไทยเป็นประเทศอาเซียนประเทศแรกในการประยุกต์ใช้ระบบ 5G เชิงพาณิชย์ การปรับเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจดิจิทัลจึงจัดอยู่อันดับแนวหน้าในบรรดาประเทศอาเซียน ซึ่งบริษัทสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ของจีน เช่น หัวเว่ย จงซิง และไชน่าโมบาย ล้วนมีส่วนช่วยไม่น้อย ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า นโยบาย Cloud First Policy ของบริษัทกำลังช่วยให้สังคมไทยปรับเข้าสู่สังคมดิจิทัล นอกจากนี้ หัวเว่ยยังพยายามมีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศไทย ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างจีนกับไทย บุกเบิกเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล สนับสนุนโครงการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่มีผู้พิการและสตรีเข้าร่วม อบรมบุคลากรสื่อสารสารสนเทศและโทรคมนาคม ตลอดจนวิศวกรพลังงานสีเขียวให้สังคมไทยด้วย

ไทยมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว วิสาหกิจรถยนต์ EV แผงโซลาร์เซลล์ และการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ของจีนล้วนได้เข้าร่วมกระบวนการนี้ ยอดมูลค่าการผลิตของนิคมอุตสาหกรรมระยองรวมแล้วสูงเกิน 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในจำนวนดังกล่าว มี 80% ส่งออกไปยังตลาดสากล วิสาหกิจรถยนต์พลังงานใหม่ของจีน เช่น BYD ได้มาก่อตั้งโรงงานและนำไปสู่การสร้างงานในไทย  วิสาหกิจเหล่านี้ได้นำมาซึ่งเทคโนโลยีและประสบการณ์การบริหารที่ทันสมัย ได้เพิ่มขีดความสามารถของแรงงานไทย และเป็นการผลักดันการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตของไทยด้วย

วันที่ 3 ตุลาคม 2024 นักท่องเที่ยวจีนเที่ยวชมพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

 

วิสาหกิจจีนในไทยที่ดำเนินงานในท้องที่ต่าง ๆ ได้พยายามพัฒนาไปร่วมกับวิสาหกิจไทย ทำการตั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรมในไทย ซึ่งมีส่วนช่วยลดต้นทุนการผลิตของวิสาหกิจ และกระตุ้นการพัฒนาอุตสาหกรรมในท้องที่ต่าง ๆ  อันสอดคล้องกับทัศนคติและเป้าหมายประกอบการของวิสาหกิจจีน นอกจากนี้ วิสาหกิจจีนในไทยไม่เพียงแต่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า โดยสร้างสัดส่วนมูลค่าสินค้าการผลิตภายในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 40% เท่านั้น หากยังเพิ่มสัดส่วนยอดมูลค่าจัดซื้อในไทยด้วย บริษัท ซินหยวน เฮ้าส์โฮลด์ (ไทยแลนด์) ของจีนมีผู้จัดหาในไทย 459 แห่ง บริษัท China Resources (ไทยแลนด์) มีผู้จัดหาในไทยกว่า 700 แห่ง ส่วนบริษัทเอส เอ ไอ ซี มอเตอร์-ซีพี มีผู้จัดหาในไทยกว่า 100 แห่ง 

 

รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ช่วง 50 ปีมานี้ มิตรภาพไทย-จีนสนิทแน่นแฟ้นขึ้นทุกวัน ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างสองประเทศประสบผลสำเร็จมากมาย ความคืบหน้าทุกครั้งด้านการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านวิศวกรรม ล้วนเป็นความก้าวหน้าสำคัญของความร่วมมือระหว่างสองประเทศ  วิสาหกิจจีนเพิ่มแรงขับเคลื่อนให้กับการศึกษาวิจัยทางวิชาการ และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของไทย หวังว่า ไทย-จีนสองประเทศจะจับมือกันปฏิบัติความร่วมมืออย่างจรังจัง เผชิญกับความท้าทายในอนาคตร่วมกัน และมุ่งหน้าสู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน

พร้อมไปกับการสร้างความทันสมัยของจีนประสบความคืบหน้าใหม่ ๆ โดยเฉพาะจีนในฐานะตลาดสำคัญของโลก พยายามเพิ่มการเปิดกว้างมากขึ้น การเชื่อมต่อกันระหว่างสองประเทศกำลังเพิ่มความเร็วมากขึ้น การเชื่อมโยงด้านการคมนาคมและการสอดประสานกันด้านนโยบายกำลังยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ อนาคตความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างสองประเทศมีความสดใสยิ่ง จะนำมาซึ่งประโยชน์สุขให้กับประชาชนสองประเทศมากขึ้น