เมื่อวันที่ 10 พ.ย.67 ที่บริเวณหลังสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ  นายสุริยา บุตรจินดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  เป็นประธานเปิดโครงการวิจัย"การยกระดับคุณค่าและมูลค่าวัฒนธรรมข้าวลุ่มน้ำมูล พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ"  โดยมี  รศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ นายศราวุธ ทรงโฉม นายอำเภอราษีไศล  นายไพศาล เกียรติชัยพัฒน  นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเมืองคง ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ประธานอนุกรรมการที่ปรึกษาการขับเคลื่อนวิทยสถาน "ธัชภูมิ" เพื่อการพัฒนาพื้นที่  ดร.ธนภณ วัฒนกุล ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ นางรสริน คุณชม นักวิเคราะห์ (ฝ่ายธัชภูมิ)  นำข้าราชการอำเภอราษีไศล  พนักงานเทศบาลตำบลเมืองคง พ่อค้าและประชาชนชาวอำเภอราษีไศล  ร่วมเปิดโครงการเป็นจำนวนมาก

รศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ กล่าวว่า ปัจจุบันภาครัฐให้ความสำคัญกับการนำแนวคิด Soft Power มายกระดับวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่สร้างการรับรู้ ยอมรับ นิยมชมชอบในสินค้านั้นๆ  โดยมีกลไกการผลักดันทั้งจากภาคเอกชน ภาควิชาการและภาครัฐ ผ่านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการค้นหาทุนทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเชื่อความศรัทธาให้กับผู้บริโภค ผ่านการสร้างมาตรฐานของสินค้า การใช้สื่อการในยุคดิจิทัลสื่อสารถึงผู้บริโภค ดังนั้นแล้ว"ข้าวทุ่งกุลา"สามารถพัฒนาให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมการยกระดับเทศกาลแข่งเรือให้สัมพันธ์กับวิถีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและวิถีวัฒนธรรมข้าว โดยเฉพาะเชื่อมโยงกับความเชื่อวัฒนธรรมข้าวที่ฝังแฝงอยู่ในประเพณีวัฒนธธรรมแต่ละเดือนของ ชาวอำเภอราษีไศล รวมถึงสัมพันธ์กับองค์เจ้าพ่อดงภูดินที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลแข่งเรือและความเชื่อกับเกี่ยววัฒนธรรมข้าว ความเชื่อเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดเทศกาลแข่งเรือที่มีอัตลักษณ์สำคัญของชาวอำเภอราษีไศล เนื่องจากจะเป็นการแข่งเรือที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะวัฒนธรรมข้าวและความเชื่อเรื่องผีเจ้าพ่อดงภูดินที่มีเครือข่ายกว้างขวางสัมพันธ์กับเจ้าพ่อศรีนครเตา ซึ่งเป็นเครือข่ายความเชื่อที่ครอบคลุมพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการยกระดับคุณค่าและมูลค่าของวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับข้าวที่ฝังแฝงอยู่ในพิธีกรรม ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมของคนทุ่งกุลาในเขตอำเภอราษีไศล โดยจะมีเทศกาลแข่งเรือและความเชื่อผีเจ้าพ่อดงภูดินเป็นจุดเชื่อมให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ

​​​​​​​ ​​​​​​​

อำเภอราษีไศล เป็นส่วนหนึ่งของทุ่งกุลาร้องไห้ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของภาค โดยใช้แนวคิดทุนทางวัฒนธรรม เป็นแนวคิดหลักในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นวัฒนธรรมประเพณีของคนท้องถิ่น เพื่อนำมาวิเคราะห์คุณค่าที่ฝังแฝงอยู่ในวัฒนธรรมประเพณีนำสู่การยกระดับให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยแนวคิด Soft Power ในประเด็นการจัดเทศกาลเพื่อยกระดับเศรษฐกิจจากรากฐานวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นเชื่อมโยงวัฒนธรรมความเชื่อที่คนในพื้นที่ยังนับถือและถือปฏิบัติ เพื่อสังเคราะห์สำนึกร่วมของท้องถิ่น นอกจากนี้ อำเภอราษีไศลมีเทศกาลแข่งเรือ ซึ่งเป็นเทศกาลสำคัญที่จัดกันทุกปีในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว ความเชื่อเรื่องการแข่งเรือของท้องถิ่นจะสัมพันธ์กับผีเจ้าพ่อดงภูดิน เป็นความเชื่อของคนท้องถิ่นว่าเจ้าพ่อคือผู้ปกปักษ์รักษาผืนป่า ผืนดิน ผืนนำของชุมชน ที่ผ่านมาการจัดเทศกาล จะมุ่งเน้นการจัดเพื่อแสดงความเคารพนับถือต่อเจ้าพ่อดงภูดินและเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของอำเภอ เป็นการจัดการแข่งเรือโดยเทศบาลตำบลเมืองคงและอำเภอราษีไศล เพื่อยกระดับคุณค่าและมูลค่าของวัฒนธรรมข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาอำเภอราษีไศล  เพื่อนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ฝังแฝงด้วยความเชื่อและคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ โดยมีเป้าหมายหลักคือการเชื่อมโยงกับเทศกาลสำคัญของท้องถิ่น คือ เทศกาลแข่งเรือ ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาลที่จะสร้างตลาดวัฒนธรรมให้กับอำเภอ ภายใต้การสร้างกลไกเครือข่ายในระดับท้องถิ่งถิ่นให้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน และได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และหน่วยบริหารบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) มาดำเนินการสนับสนุน"วัฒนธรรม โดยเฉพาะอาหารเกี่ยวกับปลาลำน้ำมูล นำประเพณีการแข่งเรือมาออกแบบเป็นเส้นทางท่องเที่ยว และเทศบาลตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล ได้จัดตลาดวัฒนธรรมชื่อ"ตลาดแลงแยงมูล"เพื่อสร้างตลาดวัฒนธรรมเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม นำสินค้ามาจำหน่ายเพิ่มรายได้  นอกจากนี้คณะวิจัยและเครือข่ายในพื้นที่ ได้ประชุมกลุ่มและมีมติร่วมในการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเชื่อมโยงเทศกาลแข่งเรือและตลาดวัฒนธรรม โดยใช้ฐานทุนทางวัฒนธรรม เชื่อมโยงเรื่องราว "ข้าว ปลา ผ้า เกลือ เรือป้า" โดยใช้ชื่อเส้นทางท่องเที่ยวคือ "เส้นทางจิตวิญญาณลุ่มน้ำมูลราษีไศล" เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีวัฒนธรรม การตั้งถิ่นฐานความเชื่อวัฒนธรรมประเพณีของคนลุ่มน้ำมูลราษีไศลต่อไป