เมื่อวันที่ 8 พ.ย.67 เพจ“กรมอุตุนิยมวิทยา” ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “หยินซิ่ง” ฉบับที่ 3 (264/2567) ความว่า เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (8 พ.ย. 2567) พายุไต้ฝุ่น “หยินซิ่ง” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 18.6 องศาเหนือ ลองจิจูด 117.7 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ตอนใต้ของเกาะไหหลำ ประเทศจีน และชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 10-12 พ.ย. 2567 และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8-11 พ.ย. 2567 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน

ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

ขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา จะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 23.00 น.

อากาศวันพรุ่งนี้ โดยกรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียสในภาคเหนือ และลดลงเล็กน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบน

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนบน ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก มีฝนบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “หยินซิ่ง” บริเวณสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ตอนใต้ของเกาะไหหลำ ประเทศจีน และชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 11 – 12 พ.ย. 67 คาดว่าพายุนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 18:00 น. วันนี้ ถึง 18:00 น. วันพรุ่งนี้ ภาคเหนืออากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส

โดยมีฝน ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงราย

อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 24-33 องศาเซลเซียส

บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออก ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย

อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง

อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝน ร้อยละ 10 ของพื้นที่

ส่วนมากบริเวณ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม

อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝน ร้อยละ 10 ของพื้นที่

ส่วนมากบริเวณ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

บริเวณ จังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

บริเวณ จังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

มีฝน ร้อยละ 10 ของพื้นที่

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม