เป็นที่จารึกในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐอเมริกา กับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 47 ซึ่งเกิดขึ้น วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 โดยมี “คามาลา แฮร์ริส” ตัวแทนพรรคเดโมแครต และ “โดนัลด์ ทรัมป์” จากพรรครีพับลิกัน ลงชิงชัยในการสู้ศึกเลือกตั้งครั้งนี้
ทั้งนี้ย้อนไปในฤกษ์เปิดคูหาให้ประชาชนชาวอเมริกัน ใช้สิทธิลงคะแนนกาบัตรเลือกตั้ง ซึ่งวันดังกล่าว จะเปิดโอกาสให้ชาวอเมริกัน ได้ใช้สิทธิเลือกตั้งในหลายสังเวียนทางการเมือง นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งครั้งใหญ่ ได้แก่ การเลือกตั้งสมาชิวุฒิสภา หรือ สภาซีเนต หรือ สว. ,การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ สส. และการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐและเขตการปกครองดินแดนในอารักขา
เป็นการออกมาใช้สิทธิใช้เสียงของคนชาวอเมริกันแบบชุดใหญ่ทีเดียว!!!
อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ เป็นที่จับตามองคนทั่วโลกว่าระหว่าง “คามาลา แฮร์ริส” ตัวแทนพรรคเดโมแครต และ “โดนัลด์ ทรัมป์” จากพรรครีพับลิกัน ใครจะว่าชัยในครั้งนีh!?!
โดยเฉพาะในเรื่องของเศรษฐกิจโลกที่มีผลกระกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งมุมมองด้านเศรษฐกิจของทั้ง “คามาลา แฮร์ริส” ตัวแทนพรรคเดโมแครต และ “โดนัลด์ ทรัมป์” จากพรรครีพับลิกัน ต่างกันสิ้นเชิง!!!
และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งที่ 47 “โดนัลด์ ทรัมป์” อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากพรรครีพับลิกัน ครองใจคนอเมริกันได้สำเร็จ คว้าเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯได้สำเร็จ
เรื่องนี้มุมมองของนักวิชาการ “ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ สิงห์ขจร คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มองว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา” ครั้งนี้เป็นการแข่งขันระหว่าง “นายโดนัลด์ ทรัมป์” อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในฐานะผู้สมัครับเลือกตั้งจากพรรครีพับลิกัน กับ “นางกมลา แฮร์ริส” รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้สมัครฯ จากพรรคเดโมแครต ซึ่งไม่ว่าตัวแทนจากพรรคใดจะเป็นผู้ชนะ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการค้าร่วมกับสหรัฐอเมริกา โดยในปี 2566 สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีมูลค่า 48,865 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว 2.8% และประเทศไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกา 29,371 ล้านเหรียญสหรัฐ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ สหรัฐอเมริกามาลงทุนในประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 โดยมีทั้งหมด 40 โครงการมูลค่ารวม 2.3 พันล้านดอลลาร์
ทำให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดในการส่งออกของสินค้าไทยที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งในปี 2567 เดือนมกราคม ถึง เดือนสิงหาคม มีมูลค่า การค้า 35,592 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าของประเทศไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา อันดับหนึ่งคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อันดับสองคือ เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อันดับที่สามคือ ผลิตภัณฑ์ยาง อันดับที่สี่คือ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด และอันดับที่ห้าคือ อัญมณีและเครื่องประดับ ทำให้เห็นว่าประเทศไทยส่งออกสินค้าที่เป็นรูปแบบของการผลิตแบบอุตสาหกรรม
ซึ่งนโยบายทางการค้าของทั้ง 2 พรรคนั้นคาดว่าจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย มาดูที่นโยบายของ คามาลา แฮร์ริส ตัวแทนพรรคเดโมแครต มีนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าเฉพาะสินค้าบางประเภท และกีดกัดประเทศจีนในด้านเทคโนโลยี ผลกระทบต่อประเทศไทยคือขึ้นภาษีนำเข้าเฉพาะสินค้าบางประเภท ถ้าสินค้าที่ขึ้นภาษีนั้นเป็นสินค้าอันดับต้นๆ ที่ประเทศไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา จะทำให้มูลค่าทางการค้าปรับตัวลดลง ในส่วนของ โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน มีนโยบายขึ้นภาษีนำเข้า 10 % จากสินค้าทั่วโลก และ ขึ้นภาษีนำเข้า 60 % จากสินค้าจากประเทศจีน ผลกระทบต่อประเทศไทยคือขึ้นภาษีนำเข้า 10 % จากสินค้าที่มาจากประเทศไทย จะทำให้มูลค่าทางการค้าปรับตัวลดลง แต่สินค้าของประเทศไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาอันดับ 1 และอันดับสองเป็นสินค้าที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ และ เครื่องโทรศัพท์ รวมไปถึงอุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งสินค้าทั้งสองแบบนั้นมีระยะเวลาในการใช้งานที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยมากในระยะแรก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ กล่าวว่า สิ่งที่ประเทศไทยควรปรับตัวในระยะเวลาอันใกล้นี้คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคมขนส่ง โลจิสติกส์ และเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาทักษะแรงงาน การพัฒนาทักษะและศักยภาพของแรงงานให้สอดคล้องอุตสาหกรรมเป้าหมาย การส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนชาวต่างชาติในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่มีระยะเวลาในการใช้งานที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
ด้าน “ดร.อมรเทพ จาวะลา” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย วิเคราะห์ถึงการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังจะส่งผลให้เกิดความผันผวนและความเปลี่ยนแปลง สำนักวิจัยฯ ประเมินฉากทัศน์ที่ประธานาธิบดีทรัมป์ได้รับการเลือกตั้งใหม่ เพราะหากรองประธานาธิบดีแฮร์ริสชนะ คงเห็นการเปลี่ยนแปลงไม่มาก เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่จะดำเนินนโยบายต่อเนื่องจากประธานาธิบดีไบเดน
“เศรษฐกิจไทยน่าจะมีความผันผวน โดยเฉพาะจากความพยายามลดทอนอำนาจทางเศรษฐกิจของจีน จะกดดันการค้าและการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน นโยบายที่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชัดเจนคือการลดภาษีนิติบุคคล จาก 21% เป็น 15% ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาคธุรกิจในสหรัฐฯ จ้างงานหรือเพิ่มค่าแรงขึ้น ดังนั้นหากทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เศรษฐกิจไทยปี 2568 จะเต็มไปด้วยทั้งโอกาสและความท้าทาย”
การคว้าชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 47 ของ “โดนัลด์ ทรัมป์” จากพรรครีพับลิกัน เศรษฐกิจไทยต้องพร้อมที่จะรับมือ เพราะมีเรื่องให้ตื่นเต้นแน่นอน!!