สัปดาห์พระเครื่อง / ราม วัชรประดิษฐ์

วัดปืนเป็นหนึ่งในวัดเก่าแก่ของเมืองลพบุรีแต่ไม่พบประวัติการสร้างที่แน่ชัด ปัจจุบัน เป็นวัดร้าง หลงเหลือเพียงซากผนังของโบสถ์ ที่มีความยาว 18 วา กว้าง 18 วา เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางโบราณคดี รวมทั้งพระพิมพ์ต่างๆ ที่ขุดพบ ณ บริเวณวัด แห่งนี้แล้วเชื่อกันว่าน่าจะสร้างในราวสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นอย่างน้อยหรืออาจจะก่อนหน้านั้น เมื่อประมาณ พ.ศ.2450 ได้มีการขุดพบปืนใหญ่โบราณ สมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราชกระบอกหนึ่ง  นับแต่นั้นมาจึงเรียกชื่อวัดร้างแห่งนี้ว่า “วัดปืน”

การค้นพบพระนาคปรก วัดปืน แตกกรุออกมาแล้วไม่ตํ่า ผกว่า 70 - 80 ปี พระพิมพ์ต่างๆ ที่พบนั้นมีด้วยกันหลายพิมพ์ซึ่งล้วนมีชื่อเสียง เช่น พระนาคปรก พระหลวงพ่อแขก และพระหูยาน แต่ที่เป็นที่สุด  ก็คือ “พระนาคปรก” ด้วยความงดงาม อลังการขององค์พระ และพุทธานุภาพสูงส่ง โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี ที่ถือว่าเ ป็นอันดับหนึ่งของตระกูลพระนาคปรกทั้งหมดจึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางและจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในบรรดา “พระนาคปรก เนื้อชินยอดนิยม” ที่หาได้ยากยิ่ง เพราะ มีจำนวนน้อยมาก                                                                                                         

พระนาคปรก กรุวัดปืน มีเฉพาะ เนื้อชินเงิน เท่านั้น ผิวขององค์พระจะมีลักษณะ ดำจัด พระบางองค์เนื้อจะกร่อนมาก องค์พระที่สวยสมบูรณ์จึงหาได้ยากมาก พุทธลักษณะพิมพ์ทรงจะแลดูบึกบึน เข้มขลัง ไม่สวยงามคมชัด เหมือน “พระนาคปรก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ” ซึ่งเป็นฝีมือช่างหลวงในสมัยโบราณ จึงน่า จะเป็นฝีมือสกุลของช่างพื้นบ้าน องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ เหนือ ขนดนาค เบื้องหลังมีพญานาค 7 เศียร แผ่พังพานเหนือเศียร พระเศียรเหมือน สวม หมวกชีโบ ยกเว้นพิมพ์จิ๋ว         

พระนาคปรก เนื้อชินเงิน กรุวัดปืน จ.ลพบุรี         

แบ่งได้เป็น 4 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ ขนาดประมาณ 1.7 X 3 ซม. พิมพ์เล็ก พิมพ์จิ๋ว หรือ พิมพ์เศียรปลาหลด เพราะเศียรจะเรียวยาวแบบปลาหลด  และพิมพ์ นาคปรกในซุ้มเรือนแก้ว คือ นอกจากเศียรพญานาคที่แผ่พังพานแล้ว ยังมีซุ้มเรือนแก้ว ครอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งสองพิมพ์หลังนี้ถือว่าหาได้ยากที่สุด

พระนาคปรก พิมพ์จิ๋ว หรือ พิมพ์เศียรปลาหลด

เอกลักษณ์เนื้อชินของ พระกรุวัดปืนทุกชนิด นั้น จะมีตะกั่วผสมมาก จนดู เหมือนเป็นพระที่หล่อด้วยตะกั่วมีจุดสังเกตและมีหลักการพิจารณาเอกลักษณ์แม่ พิมพ์ ในเบื้องต้นดังนี้                                                                                        

ตำหนิที่ 1 เครื่องอาภรณ์ที่ประกอบองค์พระจะมีลักษณะเฉพาะ เช่น มงกุฎ รูปกรวยไม่สูงนัก เป็นต้น

ตำหนิที่ 2 เส้นพระเกศาทั้งด้านหน้าและด้านหลังเป็นเส้นถักแนวตรง

ตำหนิที่ 3 สร้อยพระศอ สัมผัสกับ ไรเส้นพระศก เป็นเส้นใหญ่

ตำหนิที่ 4 พระกรรณ (ใบหู) จรดกับ สร้อยพระศอ คล้าย “พระหูยาน”

ตำหนิที่ 5 พระอุระจะมีลักษณะเป็นลอนเหมือนกล้ามเนื้อ

พิมพ์นาคปรกในซุ้มเรือนแก้ว

ตำหนิที่ 6 พระนาภีพลุ้ย พระนาคปรก วัดปื++น พิมพ์จิ๋ว ถือว่าหายากที่สุด มีจุดสังเกตว่าพระพิมพ์นี้จะ แตกต่างจากพระพิมพ์ใหญ่โดยเฉพาะตรงเศียรขององค์พระจะเป็นเศียรแบบปลาหลด คือมีลักษณะเรียวยาว ทางด้านพุทธคุณนั้นพระนาคปรก กรุวัดปืน มีพุทธานุภาพ สูงครบครัน โดยเฉพาะด้าน คงกระพันชาตรี ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งของตระกูล พระนาคปรกทั้งหมดครับผม

 

พระนาคปรกพิมพ์เล็ก พระนาคปรก