วันที่ 5 พ.ย.67 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติราชการแทนผู้บัญชาการ  ได้ลงนามคำสั่งให้ออกไว้ก่อนตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 538/2567 เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการไว้ก่อนด้วยข้าราชการตำรวจดังต่อไปนี้

1. พันตำรวจโท ชนะชัย ใจกล้า สารวัตรสืบสวน สถานีตำรวจภูธรขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1

2. ร้อยตำรวจเอก ธนกฤต กาญจนมาศ รองสารวัตร กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2

3. ร้อยตำรวจเอก อำนวย คงกลิ่น รองสารวัตร ป้องกันและปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3

4 . ดาบตำรวจ สุพรรณ ของใส ผู้บังคับหมู่ กองกำกับการ 1 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 ผู้ถูกกล่าวหาที่ 4

5. ดาบตำรวจ ชยพล วงษ์ปัน ผู้บังคับหมู่ กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว 1ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5

6. ดาบตำรวจ มนัสวี จรรยาลักษณ์ ผู้บังคับหมู่ กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว 1 ผู้ถูกกล่าวหาที่ 6

7. ดาบตำรวจ พรเทพ สังขาระ ผู้บังคับหมู่ กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ถูกกล่าวหาที่ 8

8. ดาบตำรวจ สยาม ทองมนต์ ผู้บังคับหมู่ กองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดสระบุรีผู้ถูกกล่าวหาที่ 8

9. จ่าสิบตำรวจ กิตติภูมิ จีนแปลงชาติ ผู้บังคับหมู่ กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 ผู้ถูกกล่าวหาที่ 9

จากกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนกรณีมีพฤติการณ์เรียกรับเงินจากนายไซ  สัญชาติ วานอาทุน เพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดี และถูกดำเนินคดีอาญา ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานร่วมกัน เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดใตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน

โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามจนถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้นตามคดีอาญาที่ 2175/2567ของสถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง และมีเหตุให้พักราชการได้ตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ.2557ข้อ 3 (3) คือผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญาในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการหรือเกียวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจ โดยผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการตำรวจมีอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชน ป้องกันและปราบปราบปรามความผิดอาญา แต่กลับต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาเสียเอง

ซึ่งเป็นคดีสำคัญอยู่ในความสนใจของประชาชนย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนและภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างร้ายแรง ถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการอาจเกิดความเสียหายแก่ราชการได้ ประกอบกับการสอบสวนพิจารณาในเรื่องนี้มีความยุ่งยากซับช้อนและมีผู้เกี่ยวข้องในการกระทำผิดเป็นจำนวนมาก พิจารณาแล้วเห็นว่าการสอบสวนพิจารณาคดีที่เป็นเหตุให้สั่งพักราชการนั้นจะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว

ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 105  มาตรา 131 และมาตรา 199 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ประกอบ กฏ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ.2547  ข้อ 8 คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 436 /วันที่ 20 มิถุนายน 2548 เรื่อง มอบอำนาจการดำเนินการทางวินัย การสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกราชการและกำหนดแนวทางการปฏิบัติ คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 484/2567 ลงวันที่ 1 ตุลาคม2567 เรื่อง กำหนดลักษณะงานและการมอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จเรตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และรองจเรตำรวจแห่งชาติ คำสั่งตำรวจแห่งชาติที่ 254/2567 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 เรื่อง กำหนดลักษณะงานและการมอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้รองผู้บัญชาการตำรตำรวจแห่งชาติ จเรตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และรองจเรดำรวจแห่งชาติ (เพิ่มเติม) และบันทึกสั่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติรักษาราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2567ท้ายหนังสือสำนักงานรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (งานบริหาร) ที่ 0001 (บร)/113 ลงวันที่ 67 พฤษภาคม 2567 เรื่องการมอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบในงานบริหาร จึงให้ พันตำรวจโท ชนะชัย ใจกล้า กับพวกรวม 9 นายออกจากราชการไว้ก่อน เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาทางวินัย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

อนึ่ง ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามคำสั่งนี้ มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค.ตร. ได้ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 มาตรา 1941 ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง และหากประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำสั่งหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์นี้ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่อยื่นต่อศาลปกครองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังศาลปกครองภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือรับทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือภายใน 90 วัน นับแต่วันพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้อร้องขอทราบผลการวินิจฉัยอุทธรณ์ สั่ง ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567