"นายกฯอิ๊งค์" ไม่ตอบปม "ปปช." ขอเวชระเบียน "ทักษิณ" นอนรักษาตัวชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจหลายรอบ ด้านเทพไทชี้ช่องรังสิมันต์ โรม เอาผิดนักโทษเทวดาชั้น14  ขณะที่ พรรคประชาชน อวดผลงานฝ่ายค้าน 1 ปี เสนอกฎหมาย 84 ฉบับ ลุยงานทั้งรุก-รับ ปฏิเสธฮั้ว เพื่อไทย ไม่สนผลโพลคะแนนร่วง 

        
 เมื่อวันที่ 4 พ.ย.67 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่าที่กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นการเลื่อนประชุมมาจากวันที่ 31 ต.ค. เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมีอาการป่วย และเสียงแหบ ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามการเรียกประชุมหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล ที่ทำเนียบรัฐบาลในช่วงบ่ายวันนี้ โดย นายกรัฐมนตรี ตอบว่า อ๋อ นัดคุยกันค่ะ
        
 จากนั้นผู้สื่อข่าวถามถึงประเด็นกรณีมีกระแสข่าวคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พยายามขอเวชชระเบียนการรักษาตัวของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จากโรงพยาบาลตำรวจ ไปถึง 3 ครั้ง แต่ยังไม่ได้รับรายงานดังกล่าว โดย นายกรัฐมนตรี ไม่ตอบคำถาม ได้แต่เพียงหันมายิ้มให้กับผู้สื่อข่าว
       
  วันเดียวกัน นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เทพไท เสนพงศ์-คุยการเมือง ระบุว่า นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.พรรคประชาชน (ปชน.) ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร มีมตินัดประชุม ในวันที่ 7 พ.ย.นี้ มีวาระการประชุมคือ พิจารณาศึกษาปัญหาและแนวทางในการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม กรณีกรมราชทัณฑ์ให้  นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พักรักษาตัวในโรงพยาบาลตำรวจกับการใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งได้เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูล ได้แก่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย , พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรอง ผบ.ตร. , พล.ต.ท.โสภณรัชต์ สิงหจารุ ผู้ช่วย ผบ.ตร. , พล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ , พล.ต.ต.สรวุฒิ เหล่ารรัตนวรพงษ์ อดีตรองนายแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ , นายวัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข ผบ.รพ.ราชทัณฑ์ , น.ส.รวมทิพย์ สุภานนท์ แพทย์รพ.ราชทัณฑ์ , นายวิชัย วงศ์ชนะภัย ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา และนายวาโย อัศวรุ่งเรือง สส.พรรคประชาชน ในฐานะประธาน กมธ.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมประชุม
      
   ผมรู้สึกยินดีที่ ส.ส.พรรคประชาชนใช้กลไกของคณะกรรมาธิการตรวจสอบสถานะการเป็นนักโทษของ นายทักษิณ ชินวัตร ว่ามีอาการป่วยจริงหรือป่วยทิพย์ และได้ปฏิบัติตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้สังคมคลางแคลงใจต่อบทบาทการตรวจสอบของพรรคประชาชนต่อนายทักษิณมาโดยตลอด เหมือนกับการตรวจสอบแบบขอไปที หรือชกไม่เต็มหมัด มีข้อตกลงหรือความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอะไรหรือไม่
       
  ในฐานะที่ผมมีประสบการณ์ตรง ในเรื่องนักโทษป่วยต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล จึงขอแนะนำให้นายรังสิมันต์ โรม ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ดำเนินการนอกจากจะเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูลแล้ว อยากให้เรียกสมุดบันทึกสีน้ำเงินเล่มใหญ่ ที่มีการบันทึกการตรวจผู้ป่วยของเวรตรวจประจำวันทุกวัน ที่ต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาการเรือนจำ พร้อมกับการถ่ายรูปผู้ป่วยที่เป็นนักโทษติดกุญแจโซ่ตรวนที่ขากับเตียงนอน ส่งรายงานทาง แอพพลิเคชั่นไลน์ ถึงผู้บัญชาการเรือนจำทุกวันเช่นกัน ซึ่งเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า นายทักษิณพักรักษาตัวอยู่ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจจริงหรือไม่ และมีใครได้เข้าเยี่ยมในแต่ละวันบ้างหรือไม่ เพราะหลักฐานจากทีวีวงจรปิดของโรงพยาบาลตำรวจที่อ้างว่าเสีย จึงไม่สามารถนำมายืนยันได้ จึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากเอกสารสมุดบันทึก และรายงานจากแอพพลิเคชั่นไลน์แทน ถ้าไม่มีหลักฐานชิ้นนี้ สามารถสันนิษฐานได้เลยว่ามีเหตุผิดปกติเกิดขึ้น ขอให้คณะกรรมาธิการชุดนี้ได้สอบสวนและค้นหาความจริงเกี่ยวกับนายทักษิณให้กับสังคมได้รับรู้ ขออย่าเป็นมวยล้มต้มคนดูก็แล้วกัน
        
 ที่อาคารอนาคตใหม่ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาชน แถลงสรุป 1 ปี ผลงานกฎหมายในสภาฯ ของพรรคประชาชน ว่า สิ่งที่เราพยายามตลอด 1 ปีที่ผ่านมา คือการวางบทบาทใหม่ของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งพยายามผสมผสานบทบาท ทั้งฝ่ายค้านเชิงรับที่การตรวจสอบรัฐบาล ในการดูว่าจะดำเนินการ ออกนโยบาย อย่างไร ซึ่งทั้งอดีตพรรคก้าวไกล จนถึงพรรคประชาชน เราทำงานอย่างเต็มที่ ไม่มีการอ่อนข้อ และมีความเข้มข้นเท่าเดิม
        
 พรรคประชาชนใช้กลไกหลายอย่างของสภา เพื่อตรวจสอบรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 เพื่อซักถามข้อเท็จจริง และเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในทุกๆ เรื่องที่ประชาชนสงสัย อีกทั้งใช้กลไกการอภิปรายพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ที่พยายามเข้าไปตรวจสอบ ว่าการใช้ภาษีถูกใช้อย่างคุ้มค่าหรือไม่ รวมถึงมีการเสนอแนะว่า หากจะใช้อย่างคุ้มค่าควรจัดงบประมาณแบบใด รวมทั้งยังมีการใช้กลไกของกระทู้สดทุกสัปดาห์ เพื่อพยายามซักถามประเด็นข้อสงสัยของประชาชน ณ เวลานั้น และยังพยายามใช้กลไกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญทั้ง 35 คณะ ไม่ว่าจะมี สส. ของพรรคเป็นประธาน กมธ.หรือไม่
       
  อีกสิ่งหนึ่งที่เราพยายามเติมเข้ามา เพื่อเสริมคือบทบาทฝ่ายค้านเชิงรุก คือบทบาทในการนำทางรัฐบาล หรือเสนอแนะในสิ่งที่เราเห็นว่า รัฐบาลยังไม่ได้ทำ แต่เราเห็นว่าควรจะทำ นอกเหนือจากการเสนอแนะด้วยวาจา เราได้ยื่นร่างแก้ไขกฎหมาย เพราะมองว่าเป็นการฉายภาพให้เห็นพิมพ์เขียวของประเทศไทยในฉบับของพรรคประชาชนนั้น หน้าตาเป็นอย่างไร และเพื่อทำให้รัฐบาลเห็นว่า หากจะมีการปรับเปลี่ยนกฎหมายให้สอดคล้องกับนโยบายที่พรรคประชาชนเสนอนั้น จะต้องแก้ไขมาตราไหนกฎหมายฉบับใดอย่างไร
      
   สำหรับหลายคนที่ตั้งข้อสังเกตว่า การที่พรรคประชาชนเป็นฝ่ายค้านเสนอกฎหมายไปแล้วจะได้อะไร ในเมื่อเสียงในสภาผู้แทนราษฎรของเราไม่เกินกึ่งหนึ่ง แต่เรามี 3 วัตถุประสงค์ คือ 1.แก้ไขกฎหมายเพื่อประชาชน (Legislative changn) คือการแก้กฎหมายให้สำเร็จจริงๆ ร่างกฎหมายหลายฉบับที่เรายื่นไปนั้น สอดคล้องกับ 300 นโยบายที่เรานำเสนอกับประชาชนในช่วงของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งหากเราสำเร็จในการผลักดันกฎหมายให้มีการแก้ไขจริง ก็เปรียบเสมือนการทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน แม้ในวันที่เราเราอาจจะยังไม่ได้เป็นรัฐบาล
        
 2.การกำหนดวาระของรัฐบาล (Agenda-setting) เพราะไม่ว่าการเสนอกฎหมายของเรา ท้ายที่สุดจะนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายหรือไม่ แต่การที่เรายื่นเข้าไปส่วนหนึ่งเป็นการทำให้รัฐบาลต้องมาคุย และหาทางออกร่วมกันในประเด็นที่เราคิดว่าสำคัญ ถึงแม้ว่ารัฐบาลอาจจะมีข้อเสนอที่ไม่ตรงกับเราทั้งหมด แต่หากการยื่นกฎหมายของเราทำให้รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายเข้ามาประกบ และสามารถแก้ไขปัญหาได้บางส่วน เราก็เห็นว่าเป็นความสำเร็จที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน
        
 3.การทำงานเชิงความคิด (Winning hearts & minds) แม้ร่างกฎหมายที่เราเสนอเข้าไปอาจไม่ผ่านการเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรในสภาชุดนี้ แต่การใช้พื้นที่สภาในการอธิบายสังคมว่า ทำไมการแก้ไขกฎหมายจะเป็นประโยชน์ ตนเชื่อว่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เราพยายามจะนำเสนอมากขึ้น และเข้าใจว่าเรามีความมุ่งมั่นตั้งใจในการลงลึกในรายละเอียดว่าจะแก้ไขสิ่งต่างๆ อย่างไร และหวังว่าหากประชาชนให้การสนับสนุนเรื่องที่เราเสนอ ก็อาจจะทำให้ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นในการเลือกตั้งครั้งถัดไป
        
 นายพริษฐ์ กล่าวว่า พรรคประชาชนได้เสนอร่างกฎหมายไปแล้วทั้งหมด 84 ฉบับ แบ่งออกเป็นลงมติวาระ 1 แล้ว 25 ฉบับ และยังมีอีก 59 ฉบับที่ยังไม่เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ หลายคนมักมีความเชื่อว่าพรรคประชาชนเสนอกฎหมายอะไรไปก็ตกอยู่ดี แต่ความเป็นจริงมีเพียง 9 ร่างเท่านั้นที่สภาฯ ลงมติเห็นชอบ ถือเป็นหลักฐานที่ประจักษ์ว่าพรรคประชาชนเสนอกฎหมายเข้าไปไม่เสมอไปว่ากฎหมายจะถูกปัดตก และการเสนอกฎหมายของเรายังมีความสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในประเทศแม้วันนี้เรายังเป็นฝ่ายค้านก็ตาม 
        
 นายพริษฐ์ กล่าวอีกว่า พรรคประชาชนมี 7 ชุดกฎหมายสำคัญ ที่จะเดินสายรณรงค์ในช่วงปิดสมัยประชุม แบ่งออกเป็น 2 เปิด คือ เปิดโอกาสแข่งขัน จากการยื่น พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า ที่พยายามจะปรับอำนาจที่มาของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงการนำเสนอ โครงการคนฮั้ววงแตก เพื่อให้เกิดการระแวงกันเอง ระหว่างบริษัทเอกชนกับผู้ประกอบการที่พยายามจะฮั้วกัน ทางการค้า และเปิดโปงการทุจริต มีทั้งส่วนการเสนอในการเสนอ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารสาธารณะรวมไปถึงการแก้แก้ไขรัฐธรรมนูญหลายมาตรา เกี่ยวกับเรื่องสิทธิประชาชนเข้าถึงข้อมูลของรัฐ รวมถึงคุ้มครองประชาชนที่มาชี้เบาะแสในเรื่องการทุจริตอีกด้วย
        
 สองปลดล็อก คือการปลดล็อกที่ดิน สาระสำคัญคือ การนิรโทษกรรมประชาชนที่ถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับที่ดินทำกิน สืบเนื่องมาจากการประกาศที่ดินของรัฐที่ไปทับที่ดินที่ประชาชนอาศัยอยู่หลายปี รวมไปถึงการแก้กฎหมายที่เพิ่มช่องทางให้ประชาชนที่ประสบปัญหาดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินทำกินของตนเองได้อย่างสะดวกมากขึ้น และปลดล็อกการท่องเที่ยว โดยการแก้ไข พ.ร.บ.โรงแรม และพ.ร.บ. ควบคุมอาคารไปพร้อมกัน สาระสำคัญคือการอำนวยความสะดวกให้โรงแรม ที่พัก สามารถขอใบอนุญาตได้สะดวกมากขึ้น รวมไปถึงการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น ให้มีบทบาทหลักในการออกใบอนุญาตให้กับโรงแรม
       
  สองปฏิรูป คือปฏิรูปกองทัพ จะทำอย่างไรให้กองทัพอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน และดำเนินการสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการปรับอำนาจที่มาของสภากลาโหม ยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารในยามที่ไม่มีภัยสงคราม ขอบเขตของอำนาจศาลทหาร รวมไปถึงพรบฉุกเฉิน ที่พยายามจะให้มีกฎหมายที่รักษาสมดุลให้ดีขึ้นระหว่างเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชน กับการบริหารจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และปฏิรูปการศึกษา เป็นการนำเสนอ พ.ร.บ.การศึกษาฉบับใหม่ ที่พยามจะคุ้มครองสิทธิของผู้เรียน และนักเรียนทุกคนทั่วประเทศ ในการเข้าถึงสิทธิ์เรียนฟรีอย่างน้อย 15 ปี รวมไปถึงสิทธิต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร สิทธิการรักษาด้านสุขภาพจิต และ 1 ปกป้อง คือการปกป้องสิ่งแวดล้อม การเสนอกฎหมายปกป้องสิ่งแวดล้อม พ.ร.บ.โลกรวน , พ.ร.บ.ขยะ พ.ร.บ.PRTR เกี่ยวกับมลพิษ , พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
       
  โฆษกพรรคประชาชน กล่าวว่า การผลักดันกฎหมายของพรรคประชาชนถือเป็นกลไกสำคัญในการทำงานในสภาของพรรคในฐานะฝ่ายค้านเชิงรุกที่ไม่เพียงแค่ตรวจสอบรัฐบาลแต่จะเดินหน้าในการนำทางและเสนอแนะรัฐบาลผ่านการเสนอร่างแก้ไขกฎหมาย
       
  เราเข้าใจดีในเชิงคณิตศาสตร์เสียงของ สส.พรรคประชาชนที่มีเพียงน้อยนิดก็ไม่เพียงพอในการผ่านความเห็นชอบกฎหมายในสภาได้ จึงพยายามที่จะทำงานร่วมระดมทำความคิดกับพรรคซีกรัฐบาล เพื่อให้ร่างกฎหมายของพรรคประชาชนผ่านความเห็นชอบของสภาไปได้ เพราะมีความเชื่อมั่นมั่นใจในกฎหมายที่เราเสนอนั้น เป็นจุดยืนที่เป็นประโยชน์กับประชาชนสามารถแก้ปัญหากับประเทศได้ภารกิจของเราไม่ใช่การเปลี่ยนจุดยืนแต่คือการเปลี่ยนใจคนทั้งในและนอกสภาที่มีความสำคัญยิ่งเราอธิบายต่อสังคมเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าวก็จะทำให้การสนับสนุนในสภามีโอกาสมากขึ้นเพราะเสียงประชาชนที่ดังเข้ามาในสภาก็อาจจะมีผลกระทบต่อท่าทีของสส.ในสภาด้วยเช่นกัน
       
  นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า พรรคประชาชนจะเน้นไปที่การพยายามจะเพิ่มการมีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด หากย้อนกลับไปจะเห็นว่ามี สส.ที่รับผิดชอบในแต่ละเรื่องชัดเจนอยู่แล้ว ในการผลักดันประเด็นดังกล่าวอย่างต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อสร้างความเข้าใจว่ากฎหมายต่างๆ เหล่า กระทบต่อชีวิตประชาชนอย่างไร เน้นการรับฟังความเห็น และสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนประเด็น เมื่อถามว่า หากให้ประเมินผลงานตัวเองที่ผ่านมา เต็มสิบให้เท่าไหร่ นายพริษฐ์ กล่า