โรงงานแป้งมันพรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช จำกัด จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ FIELD DAY เน้นเพิ่มผลผลิตเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

วันที่ 31 ต.ค.67 ที่ลานอเนกประสงค์ PQS 2012 สกลนคร บริษัทในกลุ่ม พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช จำกัด ถนนสกลนคร-นครพนม อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร นายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง ผวจ. สกลนคร เป็นประธานเปิดจัดงาน "วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ FIELD DAY" โดยนายรัฐวิรรุมห์ ชาฎจึงถาวร กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีเมียร์ควอลิตตาร์ขจำกัด (มหาชน) พร้อมคณะผู้จัดงานขึ้นเพื่อต้องการให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตและลดรายจ่ายเนื่องจากบริษัท พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช จำกัด (มหาชน) คือผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลัง ทั้งประเภทแป้งมันสำปะหลังดิบ และแป้งมันสำปะหลังดัดแปร ด้วยวัตถุดิบหัวที่มีคุณภาพจากพื้นที่ไร่มันสำปะหลัง จากเกษตรกรของทุกโรงงาน กว่าปีละ 300,000 ตัน ซึ่งเฉพาะในเขตโรงงาน PQS 2012 จังหวัดสกลนคร มีพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่รวมกว่า 3,000 ครัวเรือนครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 25,000 ไร่ ที่เป็นผู้ส่งมอบมันสำปะหลังเข้าสู่โรงงาน และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการมลิตแป้งมันสำปะหลังมาร่วม 20 ปี ที่ POS ได้ทำหน้าที่ต่อเนื่อง จากมันสำปะหลังในไร่ของเกษตรกร ช่วยกันนำเงินตรากลับเข้าสู่ประเทศ เพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มกว่าปีละ 75,000 ตัน โดยส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศมีสัดส่วนเกือบร้อยละ 80 และพร้อมนั้นเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องในระดับอาเซียน

มันสำปะหลัง เป็นพืชที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สามารถปลูกได้หลายพื้นที่มีความทนแล้ง อีกทั้งสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตตันต่อไรได้อีก และในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ยังมีความต้องการสูงแต่ปัจจุบันการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เป็นการปลูกและจัดการโดยใช้แรงคนเป็นหลัก ทำให้เกษตรกรมีขีดจำกัดในการดูแลแปลงมันสำปะหลัง และไม่สามารถจัดการแปลงได้ทันตามฤดูกาล ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายสูง ผลผลิตต่อไร่ต่ำ อีกทั้งยั้งพบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในพื้นที่ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เข้าสู่ช่วงผู้สูงวัย และยังขาดโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ทันสมัย ดังนั้นเพื่อเป็นการยกระดับความสามารถ ด้านการผลิตมันสำปะหลัง จึงจำเป็นต้องสร้างต้นแบบระบบปลูกมันสำปะหลัง โดยการใช้เครื่องจักรการเกษตร เพื่อทดแทนแรงงานในการจัดการแปลงมันสำปะหลัง และสนับสนุนให้มีแหล่งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเครื่องจักรกลการเกษตรการเพิ่มผลผลิต เพื่อเป็นแบบอย่าง และแนวทางด้านการจัดการแปลงมันป็นระบบ ตลอดจนการใช้พันธุ์มันสำปะหลัง ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การจัดการที่ถูกวิธีต่อช่วงอายุการเก็บเกี่ยวจนเป็นวัตถุดิบมันสำปะหลังที่มีคุณภาพ สามารถสร้างรายได้และความยั่งยืนในอาชีพการปลูกมันสำปะหลัง ให้แก่พี่น้องเกษตรกรต่อไป วัตถุประสงค์ในการจัดงาน Field Day ในครั้งนี้ หลัก ๆ ก็เพื่อให้เกษตรในพื้นที่กับบริษัทมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมความสนใจให้เกษตรกรตระหนักถึงการผลิตมันสำปะหลักคุณภาพ และผนึกกำลังกำลังกาดีที่เพื่อ สนับสนุนการปลูกมันอย่างจริงจัง เนื่องจากมันสำปะหลังของภาคอีสานถือเป็น พืชเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของประเทศเพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมภายในงานด้วย กิจกรรม หลัก ๆ มี 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ส่วนการจัดประกวดมันสำปะหลัง โดยมาณฑ์ดีดสินวัดจากมูลค่าของหัวหัวมัน จากน้ำหนักเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้ง และราคาซื้อขาย ณ วันนั้น 

ส่วนฐานเรียนรู้ จะแบ่งออกเป็น 4 ฐาน ประกอบด้วย 1) ฐานการจัดการศัตรูพืชและโรคพืช และการปรัปรับปรุงหิน โดยส่วนราชการของ สำนักงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทีมนักวิชาการที่เจี่ยวชาญด้านงานอารักขาพืชและการพัฒนาที่ดิน 2) ฐานพันธุ์สำปะหลัง โดยคณาจารย์และทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3) ฐานเครื่องจักรกลการมาษตร สำหรับการผลิตมันสำปะหลังแบบครบวงรบวงจร โดยบริษัทตัวแทนจำหน่ายคโบต้าประจำเขตพื้นที่ ร่วมกับกับผู้เชี่ยวขาญของคู่โบต้าจากส่วนกลาง 4) ฐานการจัดการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง และการธนารธนารต้นไม้ POS มีการจัดนิทรรศการสินค้า จะมีทั้งส่วนการผลิตของทาง PQS นิทรรศการของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ผลิตผลและองค์ความรู้จากภาคีเครือข่าย รวมถึงเกษตรกร ขณะที่โซนนวัตกรรมเครื่องจักรกล จะจัดแสดงนวัตกรรมและเครื่องทุ่นแรง สำหรับการปลูกมันสำปะหลัง โดยคูโบต้า ประเทศไทย จำกัด นิทรรศก จาก บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด นิทรรศการสินค้าบริษัท Sojitz (โซ-จิท-สึ) จำกัด และ นิทรรศการสินค้าจากศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์สกลนคร เป็นต้น และ ส่วนช่วงท้ายกิจกรรม การแข่งขันผลผลิตมันสำปะหลังที่ปลูกได้ให้ผลิตผลิตมากอีกด้วย