เมื่อวันที่ 22 ต.ค.67 นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ระบุว่า "ขบวนการล้มเจ้าในออสเตรเลีย"

หนึ่งในเหตุผลหลักที่ชาวออสเตรเลียเลือกที่จะยังคงระบบกษัตริย์เอาไว้คือ "ความไม่ไว้วางใจในนักการเมือง"

รวมถึงความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าของชาวออสเตรเลียที่เชื่อว่า“ระบบกษัตริย์ช่วยให้การปกครองมีเสถียรภาพตลอดหลายทศวรรษ” และมีคำกล่าวว่า “ถ้ามันไม่เสียหาย ทำไมต้องแก้ไข”

สื่ออังกฤษพาดหัวข่าวว่า พระเจ้าชาร์ลส์เสด็จเยือนออสเตรเลียเพื่อพบกับการประท้วงต่อต้านระบอบกษัตริย์

ในขณะที่ “ออสเตรเลียเตรียมจัดการลงประชามติเกี่ยวกับการยุติความสัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์อังกฤษ”

การเสด็จเยือนของพระเจ้าชาร์ลส์ จะมีการประท้วงโดย Graham Smith ซึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารขององค์กร Republic จากสหราชอาณาจักร เขาจะนำการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ขนาดเล็กในกรุงแคนเบอร์ราและซิดนีย์

Graham Smith กล่าวว่า “ผมมาออสเตรเลียเพื่อพูดถึงเหตุผลว่าทำไมสหราชอาณาจักรควรเลิกสถาบันกษัตริย์ และเพื่อท้าทายการประชาสัมพันธ์ของราชวงศ์ และเพื่อพูดคุยกับชาวออสเตรเลียเกี่ยวกับการเติบโตของขบวนการสนับสนุนสาธารณรัฐในสหราชอาณาจักร และความล้มเหลวครั้งใหญ่ของสถาบันกษัตริย์อังกฤษ”

สังเกตมั้ยว่า คนที่เป็นผู้นำหรือคนที่ยั่วยุให้เกิดการต่อต้านระบบกษัตริย์เป็นคนจากประเทศอังกฤษ ไม่ใช่คนออสเตรเลีย

แปลกแต่จริง เมื่อคนอังกฤษยุยงให้ออสเตรเลียล้มเจ้าอังกฤษ

ในปี 1999 ออสเตรเลียได้จัดการลงประชามติเพื่อถามประชาชนว่าควรเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นสาธารณรัฐหรือไม่

ผลการลงประชามติแสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ 54.87% โหวต “ไม่” ซึ่งทำให้สถาบันกษัตริย์ยังคงเป็นประมุขของรัฐต่อไป

ข้อมูลล่าสุดในปี 2024 จากการสำรวจของ Roy Morgan Research แสดงให้เห็นว่า 60% ของชาวออสเตรเลียสนับสนุนการรักษาสถาบันกษัตริย์

ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ ที่มีประชากรนับถือศาสนาและพูดภาษาที่หลากหลายแตกต่างกัน จากหลากหลายเชื้อชาติจากทั่วโลกอยู่อาศัยปะปนกัน แต่ชาวออสเตรเลียกลับมีความเป็น “อนุรักษ์นิยม” ที่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของอังกฤษที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกซีกโลก

สาเหตุหลักของความเป็นอนุรักษ์นิยมของชาวออสเตรเลียที่จงรักภักดีต่อระบบกษัตริย์คือ

1. ความมั่นคงและเสถียรภาพ

ชาวออสเตรเลียเชื่อว่าระบบกษัตริย์ช่วยให้การปกครองมีเสถียรภาพตลอดหลายทศวรรษ และมีคำกล่าวว่า “ถ้ามันไม่เสียหาย ทำไมต้องแก้ไข”

2.ความไม่ไว้วางใจในนักการเมือง

ผู้สนับสนุนหลายคนไม่มั่นใจในนักการเมืองที่จะแนะนำระบบสาธารณรัฐ และไม่ต้องการให้ประเทศจบลงเหมือนบางประเทศที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูง

อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่

https://www.atsadang.com/?p=5038

 

ขอบคุณ เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์

#อัษฎางค์ดอทคอม #TheNewGeopoliticaAlarena #AtsadangNews #เอ็ดดี้อัษฎางค์