จากการที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ได้ทำการก่อสร้างแท่นปูน และสร้างทางลงหาดทรายขาว หน้าโรงแรม ซี่งมีขนาดใหญ่ปรากฏให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่หาดทรายขาว อ.เกาะช้าง โดยไม่ได้ทำการขออนุญาตจากกรมเจ้าท่านั้น ปรากฏว่า ผู้ประกอบการเกาะช้างได้ทำการร้องเรียนไปยังศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดตราด เพื่อให้ทำการรื้อถอนออกไป เนื่องจากส่งกระทบต่อสภาพพื้นที่ด้านข้าง โดยเฉพาะตลิ่งที่ถูกน้ำทะเลกลัดเซาะ โดยมีการก่อสร้างมานานกว่า 2-3 ปี และเมื่อถูกร้องเรียน และสื่อมวลชนได้รายงานออกไป ทำให้นายมานพ เหลืองอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าตราด เข้าไปตรวจสอบและพบว่าเป็นความจริง และได้สั่งให้รื้อถอนออกไปภายใน 180 วัน (ครบกำหนด 17 กันยายน 2567) 

อย่างไรก็ตาม เมื่อครบกำหนด ปรากฏว่า แท่นปูนยังไม่มีการรื้อถอนออกไป ทำให้ นายกิตติ ยิมเรวัต ผู้ประกอบการในอำเภอเกาะช้าง จ.ตราด ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างแทนปูน ได้ทำหนังสือถึงศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดตราด เพื่อขอให้ตรวจสอบการออกคำสั่งรื้อถอนแท่นปูนออกไป หลังจากได้รับความเดือนร้อนจากการก่อสร้างแท่นปูนแห่งนี้ 

“งบรื้อ..แมคโคสองวันจบครับเช่าวันละหมื่นกว่าๆ สองวันเสร็จผมออกให้ก็ได้  แต่ถ้ารีสอร์ททุบแค่กำแพงออก หรือหากก่อสร้างให้เหลือแต่เสาให้น้ำรอดได้คงจะดี อีกทั้ง เรื่องนี้จริงๆ ท้องถิ่นน่าจะรื้อได้ด้วยซ้ำ  แต่เพราะไม่ได้ขออนุญาต แต่ผมไม่แม่นกฏหมายเท่าไร ซึ่งไอ้แท่นปูนนี่  มันเข้าข่ายอาคารแล้ว ส่วนนับจากนี้ มีผู้ใหญ่บอกมาให้ผมไปร้องศาลปกครองเพื่อระงับคำสั่งขยายเวลา150 วัน ซี่งน่าจะทำได้และอาจจะใช้เวลาไม่นาน แต่กว่าจะมีคำสั่งก็เป็นปีอยู่“

ทั้งนี้ นายพีระ เอี่ยมสุนทร รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ที่ดูแลศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดตราด ได้ชี้แจงว่า ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดตราดได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้างแท่นกรีตของโรงแรม KohChang Grand View Resort ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงได้รับความเสียหาย ซึ่งจังหวัดตราดได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจังหวัดตราด (ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด) ได้รับแจ้งเพิ่มเติมจากสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาตราด ว่า เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2567 นางภิราพัณณ์ วงษ์มณีกิจชัย (กรรมการผู้จัดการของบริษัท แกรนด์วิว เกาะช้าง จำกัด) ได้ทำหนังสือเรื่อง ขอขยายระยะเวลารื้อถอนจากวันที่ 17 กันยายน 2567 ขอขยายระยะเวลาในการรื้อถอนและทุบทำลายสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำล้ำน้ำน้ำ เนื่องจากการรื้อต้องกระทำการด้วยแรงงานคน ซึ่งบริเวณดังกล่าวไม่มีถนนหรือพื้นที่ในการนำเครื่องจักรหรือรถตักเข้าไปได้ ประกอบกับช่วงระยะเวลาที่รื้อถอนมีฝนตกหนัก คลื่นมรสุมลมแรง ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในคำสั่งเดิม สำนักงานเจ้าท่าท่าภูมิภาคสาขาตราด มีความเห็นชอบให้ขยายระยะเวลารื้อถอนออกไปก่อนและต้องทำการรื้อถอนให้เสร็จสิ้น ภายในระยะเวลา 150 วัน นับแต่วันที่คระยะเวลาเดิม (ภายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 ) 

ซึ่งจังหวัดตราดได้แจ้งอธิบดีกรมเจ้าท่า ซึ่งเป็นผู้บังคัญชาโดยตรง กำกับ ติดตาม สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาตราดให้ดำเนินการตามกฎหมาย กฎ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและของทางราชการเป็นสำคัญ

นายพีระ กล่าวว่า ผู้เป็นเจ้าของแท่งบอริเอ้อหรือแท่นปูนเป็นเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเจ้าท่าตราดครั้งแรกได้มีการยื่นผ่อนผันไปครบ 180 วันแล้วและได้มีการอ้างว่ามีการรื้อถอนไปแล้วส่วนหนึ่ง และได้มีการยกเหตุผลว่าไม่สามารถดำเนินการรื้อถอนได้ทันตามกำหนด 180 วันจึงขอรื้อถอนเป็นล็อตที่สองซึ่งทางเจ้าของโรงแรมได้ขอเวลาอีก 180 วันแต่ทางสำนักงานเจ้าท่าตราด ได้อนุญาตเพียง 150 วันซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์หากพ้นจากระยะเวลาที่ขออนุญาตแล้วก็ได้สอบถามไปอีกครั้งหนึ่งกับเจ้าท่าตราด หากดำเนินการไม่ทันตามที่ได้มีการกำหนดไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 จะดำเนินการอย่างไรหรือมีโทษอะไรซึ่งมีแนวทางในการปฏิบัติอยู่แล้ว

ส่วนหากพ้นกำหนดนี้แล้วยังไม่มีการรื้อถอนออกไปจะต้องหาผู้รับผิดชอบและต้องดำเนินการฟ้องร้องในทางแพ่งกับผู้รับผิดชอบต่อไปซึ่งการก่อสร้างแท่นปูนขนาดใหญ่บริเวณหาดทรายขาวอาจจะส่งผลกระทบและเกิดความเสียหายในสภาพพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับแท่นปูน  และมีความเสียหายกับชายฝั่งอย่างไร และเสียหายกับผู้ร้องเรียนอย่างไรให้เกิดความเข้าใจ ซึ่งจะสามารถดำเนินการฟื้นฟูให้กลับได้ นอกจากนี้ทางจังหวัดได้ทำหนังสือสอบถามไปยังอธิบดีกรมเจ้าท่า เพื่อจะได้นำคำตอบดังกล่าว มาตอบคำถามให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบต่อไป