สรุป 10 ภารกิจ วันที่สองของการประชุมสุดยอดอาเซียน นายกฯ แพทองธาร  “ทำไทยแลนด์เนื้อหอม” หลายประเทศคู่เจรจา พร้อมขยายการค้า-การลงทุน  ความมั่นคงด้านอาหาร - อุตสาหกรรมใหม่-แก้ปัญหาข้ามแดน มั่นใจไทยแลนด์ผงาดเป็นเสือตัวที่หนึ่งบนเวทีอาเซียน

วันที่ 11 ต.ค.67 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เปิดเผย ว่าในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 44-45  ใน 2 วันนี้ (9-10 ตุลาคม 2567)นายกรัฐมนตรีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร ได้ปฎิบัติภารกิจแทนประชาชนคนไทยได้อย่างยอดเยี่ยม  จนสื่อมวลชนทั่วโลกจับตาผู้นำสุภาพสตรีคนใหม่ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์ บุคลิก และความเป็นกันเอง รวมทั้งการแสดงวิสัยทัศน์จนทำให้ผู้นำหลายประเทศ ออกปากชื่นชมหลายครั้ง

ไม่เพียงแต่ภาพลักษณ์ ผู้นำของประเทศไทยที่ดีในสายตาของผู้นำต่างชาติและ สื่อมวลชนจำนวนมากแล้ว สาระสำคัญในการนำประเด็นต่างๆ เสนอในที่ประชุม ทั้งวงเล็กและวงใหญ่ที่ประเทศไทยจะสามารถบรรลุผลอันนำไปสู่ความเจริญในทุกมิติของประเทศที่นายกรัฐมนตรีนางสาวแพทองธาร เข้าร่วมประชุม ไม่ว่าจะเป็นการประชุมอาเซียน 10 ประเทศ หรือการประชุม ทวิภาคี หรือแม้กระทั้งการประชุมกับประเทศมหาอำนาจในหลากหลายด้าน อาทิ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนาดา ก็ยิ่งทำให้สปอรต์ไลท์ฉายมาที่ประเทศไทยมากยิ่งขึ้น

โดย 10 โอกาสสำคัญในการประชุมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และ พบปะหารือกับประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี จากหลายประเทศ อันเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ไทยมีโอกาสกลับมาผงาดเป็นเสือตัวที่ 1 ของ อาเซียนได้อีกครั้งอาทิ  

1. วงประชุมอาเซียน - จีน ครั้งที่ 27 ที่มุ่งบูรณาการเศรษฐกิจ สานสัมพันธ์ประชาชน และความร่วมมือด้านความมั่นคง ย้ำความสัมพันธ์อาเซียน-จีนเป็นรากฐานสันติภาพและความเจริญในภูมิภาคนี้  

2.การประชุมอาเซียน - เกาหลีใต้ครั้งที่ 25 โดยนายกรัฐมนตรีของไทยเราได้เสนอวิสัยทัศน์  'ABC' Advanced Technology - Balanced development - Creative economy (เทคโนโลยีขั้นสูง – การพัฒนาที่สมดุล - เศรษฐกิจสร้างสรรค์) ในการพัฒนาหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์รอบด้าน (CSP) กับเกาหลีใต้ 

3. การประชุม อาเซียน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 27 ที่ไทยเสนอการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุม 3 แนวทาง ได้แก่ ดิจิทัล พลังงานสีเขียว และนวัตกรรม  

4.ส่วนการประชุมสำคัญ ของอาเซียน 10 ประเทศ กับ อีก 3 ประเทศ หรืออาเซียน+3 (ASEAN Plus Three: APT) ครั้งที่ 27  ซึ่งประเทศไทยย้ำ 3 ประเด็นในการส่งเสริมภูมิภาคเอเชียตะวันออกให้สามารถปรับตัวให้ทันกับภาวะการณ์ปัจุบัน เช่น การต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ  ความมั่นคงทางอาหารและการจัดการทรัพยากรน้ำ และเสถียรภาพทางการเงิน 

5. นายกฯแพทองธาร ได้เข้าพบปะหารือทวิภาคีกับนายยุน ซ็อก ย็อล (Yoon Suk Yeol) ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลีใต้  ซึ่ง นายยุน ออกปากชมประเทศไทยที่สามารถตั้ง  Thailand Creative Culture Agency (THACCA) ที่สามารถ ชูศักยภาพอุตสาหกรรมคอนเทนต์และซอฟต์พาวเวอร์ไทย ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ได้และพร้อมให้ความร่วมมือกับประเทศไทยในหลากหลายประเด็น

6. การหารือทวิภาคีกับนาย Klaus Schwab ผู้ก่อตั้ง World Economic Forum: WEF ซึ่งผู้ก่อตั้งได้กล่าวเชิญนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ร่วมประชุม WEF ที่เมือง Davos ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในปีหน้าเพื่อประชาสัมพันธ์และแสดงศักยภาพของไทยในด้านต่างๆ อาทิ โครงสร้างพื้นฐาน อาหาร เป็นต้น  

สำหรับในห้องประชุมที่ 7.ของวันที่ 10 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของการประชุมนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เข้าหารือกับนายจัสติน ทรูโด (The Right Honourable Justin Trudeau) นายกรัฐมนตรี ประเทศแคนาดา ซึ่งได้ออกปากชื่มชมประเทศไทยที่มีกฏหมายสมรสเท่าเทียมเป็นชาติแรกในอาเซียน และพร้อมร่วมมือด้านการศึกษาและการอาชีวะระหว่างกัน 

ส่วนในห้องประชุมที่ 8. เป็นการหารือกับดาโตะ เซอรี อันวาร์ อิบราฮิม (Dato’ Seri Anwar Ibrahim) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ที่จะสนับสนุนโครงการ " 6 ประเทศ  1 จุดหมาย" เพื่อกระตุ้นให้การท่องเที่ยวในภูมิภาคมีความคึกคัก การส่งเสริมเศรษฐกิจชายแดนภาคใต้ เนื่องจาก นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเที่ยวเมืองไทยมากเป็นอันดับ 1 ในขณะนี้

ส่วนการประชุมลำดับที่ 9 .เป็นการหารือกับนายแอนโทนี เจ. บลิงเกน (H.E. Antony J. Blinken) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งชื่นชมบทบาทเชิงรุกของไทยในฐานะสะพานเชื่อม กับอาเซียนต่อ อเมริกา(bridge builder) เพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในระดับภูมิภาคและระดับโลก และ ไทยยืนยันในการสนับสนุนร่วมกันในทุกมิติของทั้ง 2 ประเทศ

ส่วนการประชุมในช่วง 19.00 น ในครั้งที่10 ของวานนี้เป็นการหารือกับนายหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีจีน โดยประกาศให้ปี 2568 เป็น “ปีทองแห่งมิตรภาพความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน (Golden Year of Friendship)  เพื่อเฉลิมฉลอง 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต ทั้งสองฝ่ายจะเร่งจัดการประชุม JC เศรษฐกิจไทย - จีน ครั้งที่ 7 ในเร็ววัน เพื่อขยายโอกาสการค้า-การลงทุนระหว่างกัน 

นายจิรายุ ยังกล่าวว่าการประชุม ของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตรในฐานะตัวแทนของประเทศตั้งแต่ ช่วงเช้า 8.00 น. ไป จนถึง 19.00 น. ผู้นำประเทศต่างๆ  ที่ได้พบกับนายกรัฐมนตรีของไทย ต่างแสดงความประทับใจและมั่นใจว่าไทยจะกลับมามีบทบาทนำในเวทีระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมถึงศักยภาพของไทย ที่จะช่วยผลักดัน การค้า-การลงทุน การท่องเที่ยว รวมถึงการส่งเสริมสันติภาพและความสงบสุข โดยเชื่อมั่นว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธารจะทำให้ประเทศไทยกลับมาโดดเด่นบนเวทีระดับโลกและเป็นที่ติดตามของประชาคมโลกอีกครั้ง