นครพนม คึกคักอลังการ เปิดงานไหลเรือไฟวันแรก จัดเรือไฟโชว์ ยิ่งใหญ่สวยงาม 2 ลำ สร้างการมีส่วนร่วม จุดตะเกียงไฟทีละดวง นับหมื่นดวง วันแรก อบจ.นครพนม กับมหาวิทยาลัยนครพนม สนับสนุน ส่วน ททท. จัดเรือไฟโบราณประดับด้วยไฟแอลอีดี จำลองพระธาตุประจำวันเกิด 8 พระธาตุ เรียกน้ำย่อยดึงดูดนักท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยว ออกพรรษา

ที่บริเวณริมฝั่งน้ำโขงในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ดร.ถนอม ทาทอง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม พร้อมด้วย อ.เสนอ ลาภะ ศิลปินเรือไฟ และทีมเรือไฟมหาวิทยาลัยนครพนม ร่วมสืบสานประเพณี นำขันธ์ห้า ดอกไม้ธูปเทียน กล่าวคำบูชา ขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ รวมถึงบูชาพญานาค ในแม่น้ำโขง ก่อนที่จะเริ่ม จุดตะเกียงไฟ เรือไฟโชว์ ตามประเพณีความเชื่อ สื่อถึงความศรัทธาต่อน้ำโขง รวมถึงเป็นการสืบสานประเพณีโบราณ โดยปีนี้ มหาวิทยาลัยนครพนม ได้สนับสนุน จัดสร้างเรือไฟไหลโชว์ ขาดความยาวประมาณ 40 เมตร สูงประมาณ 20 เมตร ใช้ตะเกียงไฟ รวมเกือบ 5,000 ดวง ใช้งบประมาณ มากกว่า 4 แสนบาท สับเปลี่ยนหมุนเวียนไหล รวม 3 วัน คือวันที่ 8 ตุลาคม เป็นวันแรก ตามด้วยวันที่ 11 กับ 15 ตุลาคม รวมใช้งบประมาณ กว่า 1.2 ล้านบาท อีกทั้งยัง เป็นการสร้างจิตสำนึก ให้นักศึกษา ทีมสร้างเรือไฟ ได้มีส่วนร่วมในการสืบสานประเพณีท้องถิ่น ตามนโยบายการพัฒนาการศึกษา ด้านการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณี  ท่องถิ่น ของมหาวิทยาลัยนครพนม  ส่วนลวดลายจะเน้นสัญลักษณ์สำคัญของ จ.นครพนม ประกอบด้วย องค์พระธาตุพนม ไปจนถึงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของ จ.นครพนม ถือว่าสวยงาม อลังการ รวมถึงมีเรือไฟโชว์ ของ อบจ.นครพนม สนับสนุน อีก 1 ลำ เป็นการดึงดูดเรียกน้ำย่อย รับการท่องเที่ยว วันแรก

นอกจากนี้ยังมี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครพนม สนับสนุนจัดเรือไฟโบราณ ประดับตกแต่งด้วย ไฟแอลอีดี เป็นการจำลองเรือไฟพระธาตุประจำวัดเกิด 8 พระธาตุ รวม 8 ลำ เป็นการ สืบสานประเพณีลอยเรือไฟโบราณ เสริมสิริมงคล สร้างความตื่นตากลางลำน้ำโขง ไฮท์ไลน์ ของงานจะมีขึ้นในคืนวันออกพรรษา วันที่ 17 ตุลาคม 2567 จะมีการประกวดไฟลเรือไฟโชว์ รวม 12 ลำ จากศิลปินเรือไฟ รวมทั้ง 12 อำเภอ คาดว่าจะมีประชาชน นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย ชาวลาว เข้ามาในพื้นที่ ไม่ต่ำกว่าแสนคน

ด้าน ดร.ถนอม ทาทอง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม เปิดเผยว่า การสนับสนุนสร้างเรือไฟโชว์ ถือเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยนครนพม ร่วมกับ ชาวบ้านทั้ง 12 อำเภอ  การประกอบพิธีบูชา เรือไฟ บูชา น้ำโขง รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพญานาค ถือเป็นการสืบสานประเพณีความเชื่อ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว สำคัญที่สุดนอกจากความสวยงาม อลังการ เสน่ห์ของเรือไฟ คือการจุดตะเกียงทำจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นกระป๋องกาแฟวัสดุเหลือใช้ เติมด้วยน้ำมันเพลิง  ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน สิ่งสำคัญก่อนที่จะเกิดความสวยงาม เรือไฟจะต้องจะจุดตะเกียงไฟ ทีละดวง จนครบ สำหรับเรือไฟโชว์ มหาวิทยาลัยนครพนม ต้องใช้ตะเกียงกว่า 5,000 ดวง ต้องใช้แรงงานคน จุดทีละดวง นานนับชั่วโมง จนครบก่อนไหล บูชาน้ำโขง บูชา พญานาค สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในแม่น้ำโขง สื่อถึงความสามัคคี การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จนกลายเป็นประเพณีส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่สำคัญระดับโลก