ตรังจัดทำข้อมูลรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (แบบ มภ..3) แบบจัดทำรายการเบื้องตันมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อขอขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำจังหวัด ครั้งที่ 3/2567 โดยมี นางธมลวรรณ รักษ์สังข์ วัฒนธรรมจังหวัดตรัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงาน ป.ป.ช. จังหวัดตรัง ด้วยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธธรรมประจำจังหวัด ดำเนินการพิจารณาข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จำนวน 19 รายการ ที่ยังคงมีการบัฏิบัติสืบทอดอยู่จริงในพื้นที่จังหวัดตรัง พร้อมจัดทำข้อมูลรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (แบบ มภ..3) แบบจัดทำรายการเบื้องตันมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (แบบ มภ.6) และแบบเสนอรายการเบื้องตันมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อขอขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัด คือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดที่ยังไม่ได้ขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดจาก 6 ลักษณะ ดังนี้ วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา, ศิลปะการแสดง, แนวปฏิบัติทางสังคม, พิธีกรรมประเพณีและเทศกาล, ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล, งานช่างฝีมือดั้งเดิม และการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว โดยมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมต้องมีบุคคล กลุ่มคน หรือชุมชน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดถือครองหรือเคยปฏิบัติและสืบทอด ต้องมีสถานภาพอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ 1) กำลังเสี่ยงต่อการสูญหาย เผชิญกับภัยคุกคาม ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม หรือกำลังขาดผู้สืบทอด 2) สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของชุมชน ชาติพันธุ์ ภูมิภาค หรือเอกลักษณ์ของชาติ 3) มีการสืบทอดและยังปฏิบัติอยู่ในวิถีชีวิต ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อการพัฒนาวิถีชีวิตที่ยั่งยืน.