“สนง.ปภ.มหาชัย” กำหนดแผนพร้อมเผชิญเหตุภัยจากนิวเคลียร์-สารรังสีฯ หวังป้องกัน ปชช.  

วันที่ 3 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงาน ร้อยตำรวจตรี สัณฐิติ ธรรมใจ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯสมุทรสาคร ในฐานะได้รับมอบหมายฯจากกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดฯ รายงานว่า เผยว่า เนื่องด้วยทางกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง มีหนังสือ มท.(กปภ.ก.) 0624/ว.111.(สมุทรสาคร) เพื่อการแจ้งการจัดเตรียมความพร้อมป้องกันฯและตอบสนองกรณีฉุกเฉินทางสารนิวเคลียร์และรังสี โดยมีทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เข้าร่วม เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหากรณีฉุกเฉินด้านสารนิวเคลียร์และรังสี ทั้งนี้หลังพบว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงและมีโอกาสเกิดเหตุฉุกเฉินจากวารนิวเคลียร์และรังสีในพื้นที่ต่างๆของประเทศ ความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบจากเหตุฉุกเฉินดังกล่าวที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ 

โดยร้อยตำรวจตรี สัณฐิติ ธรรมใจ หัวหน้า สนง.ปภ.เผยว่า ในส่วนของจังหวัด สมุทรสาครจึงได้มีกำหนดให้มีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เข้าร่วมดำเนินงานตามแผนดังกล่าวเพื่อเตรียมความพร้อมและรายงานกรณีป้องกันเหตุปัญหาในกรณีความเสี่ยง ซึ่งเบื้องต้นประกอบด้วย ดังนี้

(1) ให้จัดทำแผนเผชิญเหตุภัยจากนิวเคลียร์และรังสีจังหวัด ให้อาศัยใช้ข้อมูลการมีวัสดุเกี่ยวข้องกัมมันตรังสี ไว้ในครอบครองหรือเก็บวัสดุกัมมันตรังสี เพื่อใช้ในงานการประเมินความเสี่ยงในพื้นที่จังหวัด ตลอดจนการจัดส่งแผนเตรียมพร้อมป้องกันอันตราย การให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ทางเอกสารและทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 
(2) ออกกำชับสถานประกอบการในพื้นที่ เรื่องป้องกันกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินด้านสารปนเปรื้อนนิวเคลียร์ และรังสีในสถานประกอบการที่มีไว้ในครอบครอง หรือใช้วัสดุกัมมันตรังสี และสถานการณ์ที่อันอาจมีความรุนแรงและอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน สิ่งแวดล้อม และสาธารณะ เพื่อให้สถานประกอบการแจ้ง สนง.ปรมาณูเพื่อสันติทราบ โทรศัพท์สายด่วน 1296 หรือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ 

และ 3.กรณีหากเกิดเหตุฉุกเฉินทางสารนิวเคลียร์และรังสีที่มีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก ให้ผู้อำนวยการอำเภอ ผู้อำนวยการท้องถิ่น รายงานสถานการณ์ และประสานการปฏิบัติงานกับทางกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรสาครทางโทรศัพท์ /โทรสารหมายเลข 0 3442- 6424” 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  สำหรับเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีนั้น หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่ปกติซึ่งอาจมีความเสี่ยงอันตรายหรือมีผลกระทบทางรังสีต่อชีวิต ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม อันเกิดจากสถานประกอบการ หรือระหว่างการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ หรือกิจกรรมใด ที่เกี่ยวข้องทางนิวเคลียร์และรังสีเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีนี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการปฏิบัติป้องกันอันตรายเพื่อลดความเสี่ยงหรือลดผลกระทบทางรังสีที่เกิดขึ้น นอกจากนี้อาจต้องมีการปฏิบัติงานร่วมกันของหน่วยงานตอบสนองเหตุฉุกเฉินในท้องถิ่นหรือหน่วยงานตอบสนองเหตุฉุกเฉิน ระดับชาติหากเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม และสามารถแบ่งเหตุฉุกเฉินที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกัน  ได้แก่
(1) เหตุฉุกเฉินทางรังสี (Radiological Emergency) หมายถึง เหตุฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับการได้รับรังสี ที่ก่อให้เกิดไอออน ยกเว้นการได้รับรังสีจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ และผลผลิตของปฏิกิริยาดังกล่าว
(2) เหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ (Nuclear Emergency) หมายถึง เหตุฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยานิวเคลียร์ และผลผลิตของปฏิกิริยาดังกล่าว ได้แก่ เหตุฉุกเฉินจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือเหตุฉุกเฉินจากบ่อเก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว หรือสถานที่ผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ หรือ การขนส่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว   โดยระดับรังสีเพื่อเข้าแทรกแซงการปฏิบัติงาน (Operation Intervention Levels, OILs) ซึ่งหมายถึงระดับรังสีที่ถูกกำหนดไว้ เพื่อใช้ในการเข้าแทรกแซงการปฏิบัติงานป้องกันอันตรายจากรังสีสำหรับประชาชน และสิ่งแวดล้อม  โดยใช้เครื่องมือวัดทางรังสีในการตรวจวัดพื้นที่เกิดเหตุฉุกเฉิน โดยค่า OILs จะใช้ค่าในการประเมิน ได้แก่ อัตราปริมาณรังสีหรือค่ากัมมันตภาพของสารกัมมันตรังสีที่แพร่กระจาย หรือค่าความเข้มข้นกัมมันตภาพในอากาศ หรือค่าความเข้มกัมมันตภาพบนพื้นดิน หรือค่าความเข้มกัมมันตภาพบนพื้นผิวใด ๆ หรือค่าความเข้มกัมมันตภาพของนิวไคลด์กัมมันตรังสีในตัวอย่างสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างอาหารหรือตัวอย่างน้ำ

“สาธารณภัย หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติmujมีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุหรือเหตุอื่นใดซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรมด้วย เป็นต้น”