รถบัสนำเที่ยวขอนแก่น ถูกเลิกจ้างกว่า 80% หลังหลายหน่วยงานวิตกจากเหตุรถไฟไหม้ที่ปทุมธานี ขณะที่ผู้ประกอบการยืนยันมาตรฐานความปลอดภัยในการให้บรืการ 100%

เมื่อเวลา 15.30 น.วันที่ 2 ต.ค.2567 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตรวจสอบการให้บริการของรถบัสนำเที่ยวในเขต จ.ขอนแก่น หลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญที่ จ.ปทุมธานี จนเป็นเหตุให้ครูและนักเรียนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งพบว่าภายหลังเกิดเหตุส่งผลให้รถ[ylนำเที่ยวถูกเลิกจ้างไปกว่าร้อยละ 80%

นายจำรูญ วรรณภาส อายุ 53 ปี อยู่บ้านเลขที่ 151 ม.10 บ้านท่าหิน ต.บึงเนียม จ.ขอนแก่น เจ้าของ “เอ๋ ทรานสปอร์ต” กล่าวว่า หลังเกิดเหตุ เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการรถบัสโดยสารและรถบัสน้ำเที่ยวอย่างมาก เพราะหลังเกิดเหตุ มีผู้ว่าจ้างได้ติดต่อขอยกเลิกการเช่าบริการเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ80% ของการว่าจ้างที่ตกลงกันไว้ ซึ่งเอ๋น ทรนสปอร์ต ได้ให้บริการเช่ารถบัสโดยสารนำเที่ยว มาแล้ว30กว่าปี โดยปัจจุบันมีรถให้บริการจำนวน8คัน โดยมีทั้งรถบัสโดยสารแบบ2ชั้นจำนวนที่นั่ง 45-49 ที่นั่ง และรถบัสโดยสารชั้นครึ่งจำนวนที่นั่ง50ที่นั่ง

"ราคาค่าจ้างแต่ล่ะเที่ยวก็จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู้กับปัจจัยหลายอย่าง ทั้งระยะทางที่เดินทาง ระยะเวลาที่ใช้ รวมถึงเส้นทางและกำหนดการในการเดินทางไปสถานที่ต่างๆ หากใช้รถมากค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย โดยปัจจบันอัตตราค่าบริการจะอยู่ที่ 5,000-15,000 บาทต่อวัน ซึ่งปกติผู้ใช้บริการหรือลูกค้า จะเป็นจากโรงเรียนต่างๆประมาณ  50% หน่วยงานราชการ 40% และอื่นๆทั่วไปงานแต่ งานบุญอีกราว 10%  ซึ่งปกติงานจะรับแบบเดือนชนเดือนอยู่แล้ว คืองานที่ล็อคไว้หมดแล้ว พอเกิดเหตุการณ์เกิดขึ้นแบบนี้ โรงเรียนหรือผู้จ้าง ก็แจ้งยกเลิก โดยเฉพาะโรงเรียนและสถานบันการศึกษา มีการขอยกเลิก 100%  ซึ่งก็เข้าใจเหตุผลในการยกเลิก และต้องขอแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสียด้วย"

นายจำรูญ กล่าวว่า จากนี้ไปต้องมีการแนะนำหรือสอน การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆภายในรถหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น ให้แก่ผู้โดยสารที่มาใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นฆ้อนทุบกระจก หรือการเปิดประตูฉุกเฉิน ทั้งจากด้านในตัวรถ และจากนอกตัวรถ รวมไปถึงผู้ประกอบการเอง ต้องมีการกวดขันตรวจสอบรถ ให้มากขึ้น  จาก 10 ก็เป็นร้อยไปเลย อะไรที่เห็นว่ามันจุดอ่อนจุดบอด เราก็มาแก้ไข ทั้งนี้โดยปกติแล้วทุกครั้งไม่ใช่แค่ก่อนออกเดินทาง จะมีการเช็ครถทุกช่วงระยะเวลาเพราะรถเป็น รถรับจ้าง ไม่ ประจำทาง เช่นวันนี้เดินทางไปหนองคาย ระหว่างทาง ได้ยินเสียงอะไรผิดปกติก็ต้องจอดแก้ไขก่อน เพื่อความปลอดภัย หากแก้ไขไม่ได้ ก็ต้องกลับมาแก้ที่อู่ ไล่ทำระบบใหม่ทั้งหมด เพราะงานออกแทบทุกวัน หรือทุกอาทิตย์ รถต้องมีความพร้อมในการใช้งานเสมอ หากพบสิ่งปกติก็ต้องรีบแก้ไขก่อนนำรถออกใช้งาน

"ทางที่ดีที่สุดคือผู้ประกอบการต้องดูแลรถตัวเองให้ดี ขึ้นกว่านี้ ทั้งนี้รถบัสโดยสาร เป็นรถที่ต้องมีคนเข้ามาจ้างมันไม่สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ อย่างอื่นได้ มีเพียงให้ผู้โดยสารมานั่งอย่างเดียว อาศัยคนขึ้นนั่งอย่างเดียว เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ก็คือจบต้องทำใจ ยอมรับกระทบมากแต่เหตุการณ์แบบนี้ก็ไม่มีใครอยากให้เกิด เข้า ใจทั้งผู้ประกอบการและผู้สูญเสีย"