วันที่ 1 ต.ค.67 ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต กรรมการและรองเลขาธิการมูลนิธิสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล โพสต์กลอนผ่านเฟซบุ๊กความว่า ..
วัดฝ่าเหมินซื่อ
๏ เจดีย์คีรีมาศศาสน์สมัย
อุ่นอำไพสาธกยกเสถียร
กราบพระหัตถ์ประเสริฐเลิศจำเนียร
ได้ผ่านเวียนบรรจบมาครบวาร
๏ อัศจรรย์แห่งใจในปรากฏ
สุขลาภยศมองเห็นเป็นหลักฐาน
โลกธรรมผ่านครบได้พบพาน
จึงเขียนอ่านค้นหาวิลาวัณย์
๏ ปรารถนาน้ำใจใช้ไมตรี
ทุกพื้นที่มิตรภาพอาบสุขสันต์
สรรพวิชาไพศาลนานนิรันดร์
ผูกสายขวัญท่องอยู่คู่สกล
๏ ทุกคำไขปลายนุ่มจุ่มผาณิต
ฝากมิ่งมิตรน้อมรับไม่สับสน
ลมรำเพยพัดฉ่ำย้ำกมล
ให้สุขล้มเจือจุนอุ่นฤดี
๏ กราบธาตุเสด็จไปในแหล่งหล้า
ทุกทิศาอิงแอบแนบสุขศรี
ในทับทิพย์เริงรื่นทุกคืนดี
ถึงชีพนี้น้อยนักตระหนัก ฤๅ
๏ ด้วยธรรมคุณอาบอุ่นทรวง
ให้โชติช่วงชีวาอย่ายึดถือ
ได้สู้อย่าสิ้นหวังทั้งสองมือ
พระธรรมคือแรงใจใฝ่ดีงาม ๚
มหา สุรารินทร์
วัดฝ่าเหมินซื่อ นครซีอาน มณฑลส่านซี
อารามประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุข้อพระหัตถ์
เสาร์ 14 กันยายน 2568 เวลา 11.24 น.
อารามแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นในยุคสมัยราชวงศ์ไม่แน่ชัดว่าช่วงสมัยไหนแต่ทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าเนื่องจากอิฐแกละสลักและกระเบื้องหลังคาที่ขุดพบเป็นของราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสต์กาล - ค.ศ. 220) จึงเป็นไปได้ว่าวัดนี้สร้างขึ้นในสมัยจักรวรรดิโจวเหนือ โดยจักรพรรดิหฺวัน ส่วนหลักฐานทางวรรณกรรมเสนอว่าวัดฝ่าเหมินได้มีอยู่แล้ว และมีขนาดใหญ่โต ในระหว่างราชวงศ์เว่ยเหนือ (ค.ศ. 386–534) กระนั้น เนื่องจากศาสนาพุทธถูกกดขี่อย่างหนักในสมัยของจักรพรรดิหวู่ในราชวงศ์โจวเหนือ (ค.ศ. 557–581) วัดฝ่าเหมินถูกทำลายเรียบ
วัดฝ่าเหมินสร้างขึ้นมาใหม่และกลับมามีสถานะอีกครั้งหลังการสถาปนาราชวงศ์ถังขึ้น (618–907) ในปีแรกในรัชสมัยของจักรพรรดิเกาจู่ (618) ได้มีการตั้งชื่อวัดว่าวัดฝ่าเหมินขึ้น พร้อมทั้งมีการเรียกหาพระสงฆ์มาจำวัดที่นี่ในปีถัดมา ต่อมาวัดถูกเผาทำลายลงอีกครั้ง ก่อนจะสร้างขึ้นใหม่ในปีที่ห้าของรัชสมัยเจิ้งกวง (631) มีการสร้างเจดีย์ขึ้น เจดีย์หลังดังกล่าวได้สร้างขึ้นใหม่อีกครั้งในปีที่ห้าของจักรพรรดิเกาจง (660) เจดีย์ความสูงสี่ชั้นนี้ตั้งชื่อว่าเป็น "เจดีย์พระธาตุแท้จริง" (True Relic Pagoda) จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถัง จงซงและจักรพรรดินีเว่ย์ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ล้วนฝังร่างของตนไว้ใต้เจดีย์นี้ ร่างของทั้งคู่ถูกขุดขึ้นมาในปี 1978 ในสมัยราชวงศ์ถัง จักรพรรดิแห่งถังได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวายแก่วัดรวม 7 ครั้ง พร้อมให้มีการขยับขยายทั้งวัดและเจดีย์ หลังการก่อสร้างและต่อเติมหลายครั้ง วัดฝ่าเหมินในเวลานั้นมีขนาดกว้างถึง 24 ลาน (courtyards) เจดีย์หลังเดิมจากสมัยราชวงศ์ถังพังทลายลงมาในสมัยราชวงศ์หมิง และวัดเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหว ในปี 1579 จึงมีการสร้างเจดีย์พระธาตุแท้จริงขึ้นใหม่อีกครั้ง มีบักษณะสูงสิบสามชั้นและสร้างมาจากอิฐเลียนลักษณะของไม้
หลังสาธารณรัฐจีนจัดตั้งขึ้น วัดฝ่าเหมินถูกใช้งานทางการทหารอย่างต่อเนื่อง และเสียหายอย่างหนัก การก่อสร้างใหม่นำโดยสมาคมผู้ใจบุญแห่งจีนเหนือระดมทุนสร้างวัดขึ้นใหม่ในปี 1938-1940 พร้อมทั้งมีการฟื้นฟูศาสนกิจในวัดขึ้นอีกครั้ง ในระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรม โถงและพระพุทธรูปภายในวัดถูกทำลายเสียหายโดยยุวชนแดง เจ้าอาวาสเหลียงชิง (良卿法师) จุดไฟเผาตนเองถึงแก่มรณภาพด้านหน้าเจดีย์พระธาตุแท้จริงเพื่อป้องกันพื้นที่ใต้ดินของวัด พระสงฆ์รูปที่เหลือถูกบังคับลาสิกขาหรือถูกสังหาร หลังปี 1979 รัฐบาลมณฑลฉ่านซีได้สนับสนุนเงินทุนในการฟื้นฟูอาคารโถงมหาวีระ และศาลาพระพุทธรูปโลหะ (铜佛阁) วัดฝ่าเหมินได้ถูกส่งมอบคืนจากรัฐกลับสู่ชุมชนพุทธศาสนิกชนในปี 1984 และมีการสร้างเจดีย์พระธาตุแท้จริงขึ้นใหม่ในปี 1985 โดยรัฐบาลมณฑล ในปี 1987 "วังใต้ดิน" ของวัดได้ถูกขุดและเปิดออกเป็นครั้งแรก ภายในได้มีการค้นพบพระธาตุและโบราณวัตถุล้ำค่าจำนวนมาก ในปี 1988 การก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่เสร็จสิ้น และมีการเปิดพิพิธภัณฑ์วัดฝ่าเหมินขึ้นอย่างเป็นทางการ ภายในจัดแสดงวัตถุที่ค้นพบจากวังใต้ดินของวัด
พื้นที่ส่วนใหม่ที่ขยายจากตัววัดโดยรัฐบาลมณฑลก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2009 ภายใต้ชื่อ "พื้นที่ทิวทัศน์ทางวัฒนธรรมวัดฝ่าเหมิน" ขนาด 150 เอเคอร์ (0.61 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งมีอาคารหลังสำคัญคือนมัสเตดาโกบา (Namaste Dagoba) ความสูง 148 เมตร ผลงานออกแบบสร้างโดยสถาปนิกคนเดียวกับที่ออกแบบไทเป 101 ในประเทศไต้หวัน
ขอบคุณ เฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต