ไล่เรียง 4 อำเภอชายแดนติดน้ำโขง ยังรับน้ำไหวท่วมส่วนน้อย แต่กระทบน้ำสาขาล้น
นครพนม เกาะติดสถานการณ์น้ำโขงล้นตลิ่ง ไล่เรียง พื้นที่ 4 อำเภอชายแดนเสี่ยง ติดน้ำโขง ยังรับน้ำไหว ท่วมพื้นที่ส่วนน้อย ไม่กระทบพื้นที่เศรษฐกิจ ชุมชนตัวเมือง ปัจจัยน้ำมวลน้ำในพื้นที่น้อย ส่วนใหญ่มาจากภาคเหนือ กระทบหนักคือ ลำน้ำสาขาสายหลัก ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ระบายลงน้ำโขงไม่ทัน ท่วมนาข้าว กว่า 70,000 ไร่ เฝ้าระวังน้ำโขงหนุนลำน้ำสาขา ระบายไม่ทัน เอ่อท่วม ชุมชน ย่านเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 ผุ้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม มาไล่เรียงพื้นที่เสี่ยง ได้รับผลกระทบจากน้ำโขงเอ่อล้นตลิ่ง ล่าสุดถึงแม้ระดับน้ำโขงจะจ่อจุดวิกฤติที่ ประมาณ 11.60 เมตร ห่างจากจุดล้นตลิ่ง ถือว่าเป็นจุดเตือนภัย คือที่ 12 เมตร เหลือแค่ 40 เซนติเมตร เป็นจุดเฝ้าระวัง จากการตรวจสอบพื้นที่ ได้รับผลกระทบ ในพื้นที่ 4 อำเภอชายแดน สำคัญ พบว่ายังได้รับผลกระทบน้อย และยังสามารถรองรับน้ำได้อีกจำนวนมาก เนื่องจากปัจจัยพื้นที่มีฝนตกในพื้นที่น้อย ทำให้มวลน้ำส่วนใหญ่ มาจากพื้นที่ภาคเหนือ เริ่มที่ อ.บ้านแพง พบว่าส่วนใหญ่กระทบเอ่อท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ในพื้นที่ บ้านดอนแพง ต.บ้านแพง อ.บ้านแพง รวมถึงบ้านเรือนที่อยู่ติดน้ำโขง ประมาณ10 หลัง แต่ยังใช้ชีวิตปกติ ส่วนพื้นที่เศรษฐกิจ ย่านชุมชนตัวอำเภอ ยังไม่ได้รับผลกระทบ ระดับน้ำยังอีกไกล โอกาสท่วมน้อยเนื่องจากอยู่ห่างจากพื้นที่ริมตลิ่งไหลกว่า 1 กิโลเมตร เฝ้าระวังเพียง ล้ำน้ำสาขา สายหลีกไหลระบายลงน้ำโขงไม่ทันหากมีฝนตกหนัก
สำหรับพื้นที่ อ.ท่าอุเทน ถือว่า ใด้รับผลกระทบน้อย ยังไม่มีบ้านเรือน ชุมชน ย่านเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบจากน้ำโขงล้น เนื่องจากเป็นพื้นที่สูง และมีการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งตลอดแนวเขตเทศบาลตำบลท่าอุเทน นอกจากนี้ ในพื้นที่ อ.เมือง รวมถึงเขตเทศบาลเมืองนครพนม ระดับน้ำโขงสูง แต่ยังห่างระดับเขื่อนกั้นตลิ่งอีกหลายเมตร สามารถรองรับน้ำได้อีกจำนวนมาก อีกทั้งพื้นที่ตัวเมืองยังมีระดับห่างจากน้ำโขง ประมาณ 4 -5 เมตร โอกาสที่จะล้นท่วมตัวเมืองน้อยมาก ท่วมเพียงพื้นที่ลุ่มต่ำ เป็นจุดเขื่อนป้องกันตลิ่ง ในพื้นที่ ต.ท่าค้อ อ.เมืองนครพนม แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังหากมีฝนตกหนัก จะทำให้มวลน้ำไม่สามารถไหลระบายลงน้ำโขงทัน จึงต้องเตรียมพร้อม ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่เสริมการระบาย และ อ.ธาตุพนม ยังไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากมีการก่อสร้างเขื่อนกันตลิ่งสูง อีกทั้งเป็นพื้นที่โซนใต้ ไม่มีมวลน้ำไหลมาสมทบ ทำให้น้ำโขงระบายเร็ว
ทั้งนี้ ภาพรวมพื้นที่ จ.นคพรนม ได้รับผลกระทบหนักสุด คือ พื้นที่ ติดลำน้ำสาขา สายหลัก ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ที่ไหลมารวมกันที่ อ.ศรีสงคราม ก่อนที่จะไหลลงน้ำโขง พื้นที่ อ.ท่าอุเทน ทำให้ช่วงน้ำได้รับผลกระทบจากน้ำโขงสูง ไม่สามารถไหลระบายลงน้ำโขงได้ เกิดปัญหาเอ่อล้นพื้นที่ลุ่ม พื้นที่การเกษตร นาข้าว พื้นที่เลี้ยงสัตว์ จากการสำรวจมีพื้นที่นาข้าวได้รับผลกระทบแล้วกว่า 70,000 ไร่ หากระดับน้ำโขงเพิ่ม จะส่งผลกระทบมากขึ้น และเกิดความเสียหายเกือบทั้งหมด โดยหน่วยงานเกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการสำรวจ เตรียมช่วยเหลือชดเชยเยียวยา ตรามระเบียบทางราชการ