ยโสธรประกาศเตือน ปชช.เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งอาจเกิดน้ำท่วม

วันที่ 14 ก.ย. 67กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยโสธรโดยนายสุวัฒน์เข็มเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรได้ออกประกาศให้ประชาชนเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป้าไหลหลาก และน้ำท่วมขังตามที่กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) แจ้งว่า ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยงตามที่กรมอุตนิยมวิทยาได้มีประกาศแจ้งว่าในช่วงวันที่ 13 - 17 กันยายน 2557ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณสาธาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนกลาง

ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนตอนบนประเทศไทยและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝังตะวันตก และสำนักงานทรัพยากรนำแห่งชาติ ได้มีประกาศฉบับที่ 14/2567 ลงวันที่ 12 กันยายน 2567 แจ้งว่าได้ติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง พบว่ามีปริมาณฝนตกหนักหนักสะสมในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทำให้ในช่วงวันที่12 - 16กันยายน 2567 ระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในพื้นที่จังหวัดยโสธร ได้แก่อำเภอเมืองยโสธร อำเภอป้าติ้ว และอำเภอคำเขื่อนแก้ว ขอให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมชัง ระหว่างวันที่ 13 - 18 กันยายน 2567

พร้อมทั้ง อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจนและอ่างเก็บน้ำหัวยสะแบก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นเกินความจุเก็บกักแล้ว จึงจำเป็นต้องระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำลงสู่ลำเซบาย ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่สองฝั่งลำเซบาย ได้แก่อำเภอเลิงนกทา อำเภอไทยเจริญ อำเภอป้าติ้ว และอำเภอคำเขื่อนแก้ว เฝ้าระวังน้ำลันตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลันและขอให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งเตือนประชาชนให้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป้าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง จากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนตกสะสมในห้วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่จุดเสียงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือชุมชนในเขตเทศบาลเมืองยโสธรที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน หรือต้องการความช่วยเหลือให้รีบรายงานให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยโสธรรทราบทางหมายเลขโทรศัพท์ 045771 244 หรือสายด่วนนิรภัย 1784


ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่าไม่ขนาดนี้ในพื้นที่จังหวัดยโสธรตั้งแต่วันนี้ 13 กันยายน 2561 เป็นต้นมาได้เกิดฝนตกลงมาโดยตลอดตลอดจนถึงจะขนาดนี้แต่ก็ยังไม่มีพื้นที่ใดประสบปัญหาน้ำท่วมแต่อย่างใด