"ดร.ปณิธาน" ห่วงความสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซีย ระวังซับซ้อน หลัง "ทักษิณ" เปิดบ้านจันทร์ส่องหล้าต้อนรับ "ว่าที่ ปธน.อินโดนีเซีย"
วันที่ 10 ก.ย.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ติ๊กต็อก thepublisherth โพสต์คลิป รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง และการต่างประเทศ มองถึงกรณีที่ว่าที่ประธานาธิบดีอินโดนีเซียไปเป็นแขกเยือนบ้านจันทร์ส่องหล้า ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยในบริบทของการต่างประเทศของหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ที่ประธานาธิบดีมาเยี่ยมเยือนเป็นการส่วนตัว ยกในกรณีที่เคยเป็นเพื่อนสนิทกันจริงๆ และมีความสัมพันธืที่ดีมาก่อน แต่ว่าการเยี่ยมเยียนของบุคคลในตำแหน่ง ส่วนใหญ้่จะเป็นทางการและมีกำหนดการที่ชัดเจน เพราะว่าหลายประเทศต้องการหลีกเลี่ยงความซับซ้อนในการเดินทาง ในการดำเนิความสัมพันธ์ และหลีกเลี่ยงข้อครหาต่างๆเกิดขึ้นก็มีผลกระทบต่อภาพรวมความสัมพันธ์ แต่เรื่องนี้มีให้เห็นเป็นระยะๆ ถ้ามีความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดี เป็นปกติมาก่อน มีการเยี่ยมเยียนกันไปมาหาสู่กันเป็นเวลาหลายสิบปี ตรงนั้นก็ถือว่า ไม่ผิดปกติ แต่ในบางกรณีที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งใหม่ของบางผู้นำ แล้วก็มีความซับซ้อนในทางการเมืองตรงนี้ก็ต้องระวัง เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความซับซ้อนได้
ส่วนในภาพที่ว่าที่ประธานาธิบดีอินโดนเซียเอาไปโพสต์ และประเด็นทีนายกรัฐมนตรีใส่ชุดขาวด้วย ดูเหมือนแยกกันลำบากหรือเปล่า
จริงๆแล้วความสัมพันธ์ไทยกับอินโดนีเซียก็ไม่ได้ถือว่าความสัมพันธ์ที่ดี ในรอบหลายปีก็มีความห่างเหินอยู่พอสมควร อย่างบางกรณี เช่น การแก้ปัญหาในเมียนมามีความซับซ้อนและเห็นต่างมาหลายปี จริงๆแล้วการดำเนินความสัมพันธ์ของบุคคลที่ไม่ได้เป็นทางการในหลายกรณีถ้าช่วยได้ก็ถือว่าเป็นผลดีเหมือนกันถ้าหากว่ามีการจัดระบบให้ชัดเจนว่าอยู่ในบริบทไหน ในบางประเทศจะตั้งกลุ่มบุคคล หหรือบุคคลให้เป็นผู้แทนพิเศษของประเทศ ในเรื่องเฉพาะนั้นๆ ทำให้เข้าระบบในการเป็นตัวแทนของประเทศแล้วก็ไม่ไปทับซ้อนกับเรื่องส่วนตัว เพราะฉะนั้นในกรณีอย่างนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องแยกแยะแล้วก็จัดระบบให้ดี แล้วก็การแต่งชุดเข้าเฝ้าหรือชุดขาว กำลังมีการดำเนินการหลายอย่างที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ รวมถึงเรื่องของคดีต่างๆ ทำให้เกิดความซับซ้อนขึ้นมา
ภาพที่ออกมาคิดว่าจะเกิดปัญหาอะไรตามมาได้บ้าง
ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่า นอกจากว่าที่ประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้ให้ข้อมูลข่าวทางโซเชียลมีเดียว่าเป็นการเยี่ยมเยียนส่วนตัวของเพื่อน แต่ว่าประเด็นมากกว่านั้น ว่ามีไรคงต้องเป็นเรื่องต้องถกเถียงกันอีกนาน เมื่อเรื่องเหล่านี้เป็นประเด็นขึ้นมาก็จะเกิดความซับซ้อน อย่างเช่นกรณีการแก้ปัญหาในเมียนมา แต่ว่ากรณีในเรื่องทะเลจีนใต้ หรือเรื่องกรณีที่จะมีการลงทุนว่ามีการดำเนินการทั้ง 2 ประเทศ ตรงนี้ยังไม่ชัดว่า นอกจากการเยี่ยมเยียนส่วนตัวแล้วยังมีอะไรที่จะเกี่ยวข้อแงหรือเปล่า
เพราะก่อนนี้เรื่องบทบาทของทักษิณกับเรื่องการต่างประเทศไม่แผ่วเลย เรื่องเมียนมา มีเรื่องที่สมเด็จฮุนเซ็นที่มีเรื่องของการเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนหรือเปล่า ถูกบรรจุเป็นนโยบายของรัฐบาลด้วย
เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายเป็นกังวลว่า จริงๆ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีคนต้องรับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้วก็คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหลัก และอยู่ในระบบ แล้วก็ความทับซ้อนตรงนั้นก็จะมีน้อย จะเห็นว่าผู้นำหลายประเทศไม่นิยมดำเนินการนิยมเป็นการส่วนตัวมากนัก ยกเว้นจะมีผู้แทนพิเศษดำเนินการที่เป็นทางการหรือกึ่งทางการ ตรงจะมีเรื่องอื่นๆ เข้าใจว่า ในบรรยากาศของการแข่งขันของมหาอำนาจในภูมิภาค และการเผชิญหน้ากัน และเรื่องการเลือกตั้งในสหรัฐฯจะมีผลต่อการค้าการลงทุนต่อประเทศในกลุ่มอาเซียน ก็คงมีการพูดคุยกันหลายเวที เรื่องเหล่านี้อาจจะมีทั้งผลดีแล้ว และมีข้อสังเกตอื่นทำให้เห็นความซับซ้อนกับประเทศมหาอำนาจกับประเทศในกลุ่มอาเซียนก็ได้ ทั้งหมดเหล่านี้อยู่ที่ความตั้งใจที่จะให้โปร่งใสและเข้าระบบ และความชัดเจนปัญหาก็จะลดลงไป
แล้วตอนนี้ภาพทับซ้อนกันอยู่ไหม
สื่อมลวชนก็ได้ตั้งคำถามแล้ว จริงๆก็อยู่ในโซเชียลมีเดียนแล้ว พูดถึงความสับสนว่า ตกลงเป็นเรื่องอะไร หมายความว่าอย่างไร เรื่องเหล่านี้จะเกิดความคลุมเครือก็จะไม่ได้กับดำเนินการทางดา้นการต่างประเทศของคนที่ต้องอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ จะมีความรู้สึกคลุมเครือว่า ใครดำเนินนโยบายอะไร ใครมีอำนาจอะไร ตรงนี้กลายเป็นปัญหาให้กับคนที่ทำงานปกติได้เหมือนกัน