ที่ นครศรีธรรมราช นายกอบศักดิ์ เกตุเหมือน ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เปิดเผยข้อมูลผลสำรวจ หลังจากมีกระแสข่าวในทำนองปลาหมอคางดำลดลงในหลายพื้นที่ผ่านสื่อหลายสำนัก มีความเข้าใจว่ามีปลาหมอคางดำลดลงไปถึงร้อยละ 70 ในกลุ่มจังหวัดระบาดเช่นสมุทรสาคร นครศรีธรรมราช แต่ในส่วนของนครศรีธรรมราชยืนยันว่า ไม่ได้ระบุว่าลดลงถึงร้อยละ 70 แต่ยืนยันมาตรการจับได้ผลดี โดยผลการสำรวจความชุกชุมของปลาหมอคางดำ จำนวน 7 แหล่งน้ำ ได้แก่ คลองหัวไทร (อ.เชียรใหญ่) ประตูระบายน้ำเสือหึง คลองขนาบนาก-บางหรง คลองท่าเข็น คลองบางหรง  คลองมาบออก และ คลองหัวไทร (อ.หัวไทร)

โดยมีผลการสำรวจในเดือนกรกฎาคม จำนวน 5 แหล่งน้ำ คือคลองหัวไทร (อ.เชียรใหญ่) คลองท่าเข็น คลองบางหรง คลองมาบออก และ คลองหัวไทร (อ.หัวไทร) พบปลาหมอคางดำทั้ง 5 แหล่งน้ำ โดยมีความชุกชุมมาก จำนวน 2 แหล่งน้ำ คือ คลองบางหรง และคลองหัวไทร (อ.หัวไทร) มีความชุกชุมปานกลาง จำนวน 1 แหล่งน้ำ คือ คลองท่าเข็น และมีความชุกชุมน้อย จำนวน 2 แหล่งน้ำ คือ คลองหัวไทร (อ.เชียรใหญ่) และ คลองมาบออก

ผลการสำรวจในเดือนสิงหาคม จำนวน 6 แหล่งน้ำ ได้แก่ ประตูระบายน้ำเสือหึง คลองขนาบนากบางหรง คลองท่าเข็น คลองบางหรง คลองมาบออก และ คลองหัวไทร (อ.หัวไทร) พบปลาหมอคางดำ ทั้ง 6 แหล่งน้ำ โดยมีความชุกชุมปานกลาง จำนวน 2 แหล่งน้ำ คือ คลองมาบออก และ คลอง หัวไทร (อ.หัวไทร) และมีความชุกชุมน้อย จำนวน 4 แหล่งน้ำ คือ คลองท่าเข็น คลองบางหรง คลองมาบออก และ คลองหัวไทร (อ.หัวไทร) แหล่งน้ำที่มีการสำรวจทั้ง 2 เดือน มีจำนวน 4 แหล่งน้ำ ได้แก่ คลองท่าเข็น คลองบางหรง  คลองมาบออก และ คลองหัวไทร (อ.หัวไทร) มีความชุกชุมลดลง จำนวน 3 แหล่งน้ำ คือ คลองท่าเข็น คลองบางหรง และคลองหัวไทร (อ.หัวไทร) และมีความชุกชุมเพิ่มขึ้น จำนวน 1 แหล่งน้ำ คือ คลองมาบออก

ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังอธิบายด้วยว่า วิธีการสำรวจด้วยวิธีวิทยาในการคำณวนตามหลักวิชาการตามพื้นที่ความหนาแน่นเป็นตารางเมตร โดยมีมาตรวัดความชุกชุมคือ 1-10 ตัวในพื้นที่ 100 ตร.ม. ชุกชุมน้อย 11-100 ตัว ในพื้นที่ 100 ตารางเมตร ชุกชุมปานกลาง มากกว่า 100 ตัว ในพื้นที่ 100 ตารางเมตร คือชุกชุมมาก โดยตามการเปรียบเทียบเป็นตารางกราฟจะพบว่าในแหล่งน้ำสำรวจมีปริมาณความหนาแน่นลดลง