เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ตราดรับฟังสถานการณ์บริหารจัดการน้ำรับมือน้ำท่วมหลังพายุไต้ฝุ่นนางิ และฝนตกหนักกลางเดือนกันยายน หวั่นท่วมรอบ 2
เวลา 09.30 น.วันที่ 7 กันยายน 2567 ที่ห้องประชุมพลอยแดง ศาลากลางจังหวัดตราด นายสุรสีห์ กิดติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช) เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว)ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก และลุ่มน้ำบางปะกง และลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ ณ จังหวัดตราด ซึ่งมีส่วนราชการในภาคตะวันออก และส่วนราชการในจังหวัดตราดทั้งโครงการชลประทานตราด,สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตราด และภาคเอกชนร่วมประชุม
นายสุรสีห์ กล่าวถึงการเดินทางมาประชุมครั้งนี้ ว่าจากสถานการณน้ำท่วมในหลายจังหวัดของภาคตะวันออกในช่วงเดือนสิงหาคม 2567 ที่ผ่านมาทั้งในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราดนั้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนและทรัพย์สิยของประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เกิดปัญหาทั้งในเรื่องการบริหารจัดการน้ำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักทั้งจากอิทธิพลของพายุใต้ฝุ่น และจากลมมรสุมที่เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดต่างๆในภาคตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดตราดและจังหวัดจันทบุรี จึงจัดการประชุมครั้งนี้เพื่อรับทราบสถานการณ์ต่างๆและการเตรียมรับมือกัขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้
นายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์น้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวว่า สถานการณ์แหล่งน้ำในภาคตะวันออกทั้งหมดมี 11,775 แห่ง มีปริมาณน้ำรวม1,661 ล้านลบ.ม.(54%)ส่วนแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 6 แห่ง ประกอบด้วย อ่างขุนด่านประการชล 142 ล้านลบ.ม.(64%),อ่างคลองสียัด 136 ล้านลบ.ม.(32%)อ่างบางพระ 66 ล้านลบ.ม. (57%) ,อ่างหนองปลาไหล 113 ล้านลบ.ม. (69%),อ่างประแสร์ 218 ล้านลบ.ม. (74%) ,และนฤบดินทรจินดา 193 ล้านลบ.ม. (65%) ส่วนอ่างขนาดกลางมี 46 แห่ง มีปริมาณน้ำ 634 ล้านลบ.ม.(55%)และอ่างน้ำขนาดเล็ก 11,723 แห่ง ปริมาณน้ำ 159 ล้านลบ.ม.(41%) ทั้งนี้ มีแหล่งน้ำ-น้ำมากจำนวน13 แห่ง ที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงเนื่องจากมีปริมาณน้ำมากกว่า 80% มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 1 แห่ง คือ อ่างนฤบดินทรจินดา 65% และแหล่งน้ำขนาดกลาง จำนวน 11 แห่ง ทั้งนี้ มี 3 อ่างเก็บน้ำมีน้ำมากกว่า 100 % คือ อ่างเก็บน้ำคลองประเเกด จ.จันทบุรี (106%) อ่างเก็บน้ำทับลาน จ.ปราจีนบุรี( 127 %)และอ่าวเก็บน้ำด่านชุมพล จ.ตราด (110 %) และขนาดเล็ก 1 แห่ง และทีมีปริมาณน้ำเสี่ยงต่ำ 9 แห่ง ซึ่งมีที่จังหวัดตราด 2 แห่ง จังหวัดระยอง 2 แห่ง จังหวัดนครนายก 4 แห่ง และปราจีนบุรี 1 แห่ง ทั้งนี้ แม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดระยอง 3 แห่ง อยู่ในระดับปกติ จังหวัดจันทบุรี 2 แห่ง อยู่ในระดับปกติ และในจังหวัดตราด 3 แห่ง มี 2 แห่งที่มีความเสี่ยงที่มีระดับน้ำสูงขึ้น
สำหรับการคาดการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดตราด คือ ที่ ระดับน้ำในแม่น้ำตราด และระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำเขาระกำตอนล่าง(สระสีเสียด)ในช่วง 7 วันนับจากนี้ ซึ่งจะมีฝนตกหนักในช่วงวันที่ 13-16 กันยายน 2567 นั้น ระดับแม่น้ำตราดในอำเภอเขาสมิง 2 จุด จะสูงขึ้นจากเดิม คือ จุดที่ Z-52 และต่ำกว่า1.92 เมตร และจุดที่ Z-10 จะต่ำกว่าตลิ่ง 3.86 เมตร และในอ่างสระสีเสียด ที่มีปริมาณจัดเก็บ 3.3 ล้านลบ.ม.แต่ในวันที่ 12-13 กันยายน 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีฝนตกหนักที่สุดตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ไว้ จะทำให้น้ำในสระสีเสียดล้นเหมือนเช่นที่เกิดขึ้น กรณีที่มีการระบายน้ำ 0.5 ล้านลบ.ม./วัน แต่หากมีการระบายน้ำ 0.55 ล้านลบ.ม.จะทำให้อ่างสระสีเสียดไม่ล้นเหมือนที่ผ่านมา
ด้านนายพรพรหม อุ่นแท่น รองผู้อำนวยการโครงการชลประทานตราด กล่าวว่า ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญของจังหวัดตราดที่ผ่านมา อ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง สามารถควบคุมอยู่ในระดับปกติได้ มีเพียงอ่างเก็บน้ำด่านชุมพลเท่านั้น ที่มีปริมาณน้ำล้นมานานแล้ว ซึ่งทางโครงการชลประทานตราดได้ทำการระบายออกมาอย่างต่อเนื่องทั้งในเรื่องการทำกาลักน้ำ และช่องอื่นๆ
ขณะที่อ่างเก็บน้ำเขาระกำได้ทำการระบายน้ำออกไปยังช่อลทางอื่นๆทั้งในต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ ต.หนองเสม็ด อ.เมืองตราด และการระบายน้ำออกจากสระสีเสียด ซึ่งปัจจุบันได้ระบายน้ำออกจากสระสีเสียดอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำในอนาคต นอกจากนี้ทางโครวการชลประทานตราดได้นำเครื่องสูบน้ำไฮโดรโฟร์ 2 เครื่องมาติดตั้งเพื่อทำการสูบน้ำออกจากสระสีเสียดเพื่อช่วงระบายน้ำออกไปช่องทางอื่นๆเพื่อไม่ให้ไหลเข้าผ่านตัวเมืองตราดเหมือนที่ผ่านมา
หลังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รายงานการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการตรวจสอบความพร้อมอาคารชลศาสตร์ เครื่องสูบน้ำ การจัดตั้งจุดอพยพ และสาธารณูปโภคต่าง ๆทั้งในจังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง และชลบุรี แล้ว เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำพื้นที่จังหวัดตราดที่อ่างเก็บน้ำเขาระกำส่วนขยาย (สระสีเสียด) จุดติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฮโดรโฟร์ ปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ อ่างเก็บน้ำเขาระกำขยาย และคันดินกั้นทางน้ำไหล (คลองเพชร) ต.วังกระแจะ อ.เมือง จ.ตราด
ซี่งพบว่า อ่างเก็บน้ำสระสีเสียดพร่องน้ำจนเหลือเพียงพื้น และมีความจุเหลือเพียง 0.60 ล้านลบ.ม. ซึ่งอยู่หว่างการขุดพื้นที่เพิ่มความจุของอ่างเก็บน้ำด้วย ส่วนเครื่องสูบน้ำไฮโดรฟอร์นั้น ติดตั้งไว้ที่ร่องระบายชลประทานที่ไปทางต.หนองเสม็ด และเดินทางไปที่ประตูน้ำคลองเพชร ที่เป็นทีทกั้นคันดินน้ำไหล ซึ่งเป็นโครงการระบายน้ำที่กรมโยธาธิการและผังเมืองจ้างผู้รับเหมามาดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งหลังจากดูพื้นที่แล้วเดินทางไปที่หลังศูนย์ดับเพลิง เทศบาลเมืองตราด เพื่อดูโครงการที่เชื่อกับประตูน้ำคลองเพชร ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2568 จะช่วยให้แก้ปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองตราดได้
นายสุรสีห์ กล่าวกับสื่อมวลชนว่า ในช่วงนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าพายุไต้ฝุ่นยางิ กำลังเคลื่อนตัวสู่ภาคเหนือของจังหวัด และจังหวัดในภาคตะวันออก และจะขึ้น ที่ประเทศเวียดนามในวันนี้หลังจากนั้นก็จะสลายตัวเป็นพายุโซนร้อน ดีเปรสชันและเป็นหย่อมความกดอากาศ ในที่สุดโดยพายุรูปนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรงซึ่งวันที่ 7 และ 8 กันยายน 2567 ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบในระดับหนึ่งที่บริเวณโซนภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะทั้งซีกตะวันออกของภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ก็จะมีฝนตกหนักในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามส่งผลกระทบให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ให้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและภาคตะวันออกจะได้รับผลจากอิทธิพลด้วย ในวันนี้จังหวัดในภาคตะวันออกจันทบุรีและจังหวัดตราดจะได้รับผลกระทบจากการมีผลตกหนักระยะหนึ่ง ในวันที่ 13 ถึง 16 กันยายน 2567 จะมีแนวโน้มล่องมรสุมพัดผ่านจะมีผลทำให้มรสุมตะวันออกเฉียงใต้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ช่วงนั้นนั้นจะทำให้ผลในภาคตะวันออกโดยเฉพาะจังหวัดตราด จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยอง และจะมีปริมาณฝนมากกว่าสามวันนี้อีก ทำให้สทนช.ต้องเดินทางมาประชุมร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามสถานการณ์ในเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะที่จังหวัดตราดที่อ่างเก็บน้ำหลายแห่งของจังหวัดมีปริมาณล้น และมีความเสี่ยง จึงมาดำเนินการประสานงานและบริหารจัดการในการพร่องน้ำเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนที่เกิดขึ้น เช่นกันนำเครื่องสูบน้ำมาดำเนินการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าเพื่อรับมือกับปริมาณน้ำฝนที่จะเกิดขึ้นภายในสัปดาห์นี้
“ ทางสนทช.จะได้ลงพื้นที่เพื่อไปตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงเพื่อจะนำเครื่องมือและอุปกรณ์มาติดตั้งหรือมีการเสริมคันกันน้ำเพิ่มเติม และประเมินสถานการณ์น้ำพี่จะมาเติมในรอบนี้ของจังหวัดตราดและจันทบุรี แต่พบว่า ในเรื่องของความเสี่ยงนั้นทั้งสองจังหวัดสามารถที่จะรับมือได้ในระดับหนึ่ง ส่วนปริมาณน้ำที่สระสีเสียดที่มีการประเมินกันไว้ว่ามีจุดเสี่ยงนั้นทางสนทช.ได้ประเมินจะมีปริมาณน้ำมากขึ้นและอาจจะเต็มอ่างเก็บน้ำอยู่ในช่วงประมาณกลางเดือนกันยายน 2567 จึงได้แนะนำให้มีการพร่องน้ำในช่วงจังหวะที่น้ำทะเลไม่หนุน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบเพื่อที่จะรองรับน้ำในฤดูฝน เพราะนั่นเป็นการบริหารจัดการที่จะสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งการที่จะลดการปัญหาในเรื่องของน้ำที่จะท่วมพื้นที่บ้านเรือนของประชาชนได้“เลขาธิการสนทช.กล่าวและว่า
“ในส่วนในเรื่องของการแจ้งเตือนที่เคยมีปัญหาและส่งผลกระทบกับประชาชนนั้น ก็มีการที่จะพูดพูดคุยครับว่า ข้อมูลต้องมีความถูกต้องในระดับหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ต้องมีข้อมูลไปให้ถึงพี่น้องประชาชนให้มาก และในเรื่องของพี่น้องประชาชนที่จะเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีแนวโน้มที่จะอาจมีน้ำท่วมแบบฉับพลันจะต้องประสานเพิ่มเติมสร้างเครือข่ายให้กับตำรวจจราจรที่เข้ามาช่วยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุอย่างที่เป็นข่าวในหลายพื้นที่และมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ“
เลขาธิการสนทช.ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ของให้ประชาชนได้ติดตามข่าวสารโดยเฉพาะการแจ้งเตือนข้อมูลต่างๆว่าปริมาณน้ำเป็นอย่างไร จากหน่วยงานของภาครัฐ ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อที่จะดูแลในเรื่องของชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน