สภาเกษตรกรจังหวัดตราดรับฟังความคิดเห็นต่อ(ร่าง)พรบ.ทุเรียนไทย พ.ศ...
ดันเสนอครม.ส่งเข้าสภาผู้แทนตราเป็นกม.,นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนตอ.ชี้หากเป็นกม.ได้จะมีทุนแก้ปัญหาเกษตร 2 พันล้านพัฒนาและแก้ปัญหาได้

อ.เมือง จ.ตราด /เวลา 13.30 น.วันที่ 4 กันยายน 2567 ที่ห้องประชุม โรงแรมตราดซิตี้ โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัด นายเรือง ศรีนาราง  ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดตราด ในฐานะเจ้าภาพรับฟังความคิดเห็น ต่อร่างพระราชบัญญัติทุเรียนไทย พ.ศ...และข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดตั้งเพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในการตรากฎหมาย ซึ่งมีนายประทีป ตระกูลสา ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาร่างพรบ.ทุเรียนไทย พ.ศ.เป็นผู้ดำเนินการ พร้อมมีนายประพันธ์ จันทสร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี นายเสถียร เสือขวัญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดระยอง และเกษตรกรชาวสวนทุเรียนใน 3 จังหวัดเดินทางมาร่วมประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น กว่า 200 คนร่วม


 
นายชลธี กล่าวว่า การจัดตั้งร่างพระราชบัญญัติทุเรียนไทย พ.ศ... เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในด้านต่างๆ เช่น 1. มีสวัสดิการช่วยเหลือชาวสวนทุเรียนที่ประสบภัย 2. มีการวิจัยและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตทุเรียน 3. มีแหล่งเงินทุนในการทำสวนทุเรียน และ4. มีการรักษาเสถียรภาพราคาผลผลิตทุเรียน ทั้งนี้โดยการจัดตั้งช่วงแรกจะต้องได้รับงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลช่วงแรกในการจัดตั้ง และดำเนินการหักเงินค่าธรรมเนียมการส่งออก และนำเข้า จากกองทุน โดยจัดเก็บเงินรายได้ที่ 0.50.- บาท/กิโลกรัม (มูลค่าการส่งออกทุเรียน 50 สตางค์ต่อน้ำหนักทุเรียน 1 กิโลกรัม) เข้ากองทุนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการผลิตและการตลาดอย่างยั่งยืน 

“หรือเพื่อเป็นการพัฒนาการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ พัฒนาศักยภาพเกษตรกร และส่งเสริมให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในหลักการให้ทุเรียนเป็นพืชที่ควรได้รับการแก้ไขปัญหาและยกระดับเพื่อพัฒนาอย่างเป็นระบบโดยมีการ “การจัดตั้งกองทุนทุเรียน” ภายใต้ร่างพระราชบัญญัติทุเรียนไทย พ.ศ....โดยศึกษารูปแบบการหักเงินค่าธรรมเนียมการส่งออก (Cess) จากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดยจัดเก็บเงินรายได้ที่ 0.50.- บาท/กิโลกรัม (มูลค่าการส่งออกทุเรียน 50 สตางค์ต่อน้ำหนักทุเรียน 1 กิโลกรัม) เข้ากองทุนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการผลิตและการตลาดอย่างยั่งยืน พัฒนาการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ พัฒนาศักยภาเกษตรกร และส่งเสริมให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง“

สำหรับ เงินกองทุนออกเป็น 4 ส่วน ในสัดส่วน ดังนี้ 1. การจัดสวัสดิการช่วยเหลือชาวสวนทุเรียนที่ประสบภัย (ร้อยละ 20) 2. การวิจัยและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตทุเรียน (ร้อยละ 40) 3. แหล่งเงินทุนในการทำสวนทุเรียน (ร้อยละ 20)และ 4. การรักษาเสถียรภาพราคาผลผลิตทุเรียน (ร้อยละ 20) ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไป เมื่อจัดประชุมแล้วจะนำร่างนี้ไปแก้ไขและส่งไปให้รัฐบาลเพื่อผ่านสภาผู้แทนราษฎร และผ่านสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งจะมีพรรคการเมืองอีกหลายพรรคจะนำเสนอควบรวมกันไปด้วย และคาดว่าจะผ่านออกมาเป็นกฎหมายได้ในอนาคต 

นายเรือง กล่าวว่า ทุกวันนี้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนไม่มีหลักประกันใดๆในเรื่องความเสี่ยงต่อความเสียหายในเรื่องภูมิอากาศปีหนึ่งเกษตรกรชาวสวนทุเรียน
ประสบปัญหาจากภัยธรรมชาติ ทั้งเรื่องพายุที่พัดต้นทุเรียนได้รับความเสียหายจำนวนมาก ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2568 เกษตรกรชาวสวนทุเรียนถูกพายุพัด้นทุเรียนล้มตายได้จำนวนมาก ซึ่งแต่ละต้นสร้างรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนไม่ต่ำกว่า 5 หมื่น-1 แสนบาท หรือปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งราคาทุเรียนตกต่ำ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพทุเรียน ล้วนแล้วเกษตรกรชาวสวนทุเรียนต้อลเผชิญกับความเสี่ยงทั้งหมด และรัฐบาลแม้จะเยี่ยวยาช่วยเหลือชดเชย แต่ไม่คุ้มกับความเสียหายที่เกิดขึ้น กองทุนทุเรียนทุเรียนไทยจะเป็นตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนได้หลักประกันเพิ่มขึ้น 

ที้งนี้ เงินที่นำมาตั้งกองทุนก็เป็นเงินที่หักจากรายได้จากส่งทุเรียนไปยังต่างประเทศไม่ได้นำมาจากรัฐบาลจึงเชื่อได้ว่า ภาครัฐจะเข้ามาควบคุมไม่ได้ เกษตรกรชาวสวนทุเรียนจึงควรสนับสนุนในเรื่องนี้ 

ขณะที่ประชุมได้นำเสนอความคิดเห็นใจมุมมองต่างๆและสนับสนุนให้เกิดพรบ.ทุเรียนไทยเพื่อนำมาบังคับใช้ ซี่งหลายคนสะท้อนการทำงานของสำนักงานกองทุนว่าจะมีโครงสร้างและวิธีทำงานไม่แตกต่างจากการยางแห่งประเทศไทย(หรือกยส.) ซึ่งมติส่วนใหญ่ในที่ประชุมสนับสนุนให้จัดตั้งได้ ……