สยามคูโบต้า จัดกิจกรรม KUBOTA AGRI-INNO DAY นำสภาคณบดีสาขาการเกษตรแห่งประเทศไทย คณบดีและอาจารย์สาขาการเกษตร จากสถาบันอุดมศึกษา 23 แห่ง เข้าร่วมเรียนรู้นวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่แบบครบวงจรและระดมความคิดออกไอเดียในหัวข้อ "การผลักดันนักศึกษาสู่เกษตรกรรุ่นใหม่" เพื่อยกระดับการศึกษาไทยด้านการเกษตรให้ทันสมัย และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน ส่งต่อองค์ความรู้ที่ก้าวหน้าให้แก่นักศึกษาไทยต่อไป

นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า “ที่ผ่านมาสยามคูโบต้าเล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมีส่วนช่วยในการยกระดับการศึกษาการเกษตรไทยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในการพัฒนาบัณฑิตสู่เกษตรกรรุ่นใหม่ (Smart Farmer) ของประเทศไทย เราได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร เสริมสร้างประสบการณ์และความชำนาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร เพื่อพัฒนาบุคลากรและนักศึกษา รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากขึ้น”

ทั้งนี้เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาไทยด้านการเกษตรให้ทันสมัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการเกษตรอย่างยั่งยืนผ่านการส่งต่อองค์ความรู้ที่ก้าวหน้าให้แก่นักศึกษาไทย เราจึงได้จัดกิจกรรม KUBOTA AGRI-INNO DAY เพื่อหารือแนวทางในการพัฒนาการศึกษาด้านการเกษตรร่วมกันกับสถาบันอุดมศึกษาสาขาการเกษตรทั่วประเทศไทยรวม 23 แห่ง เข้าร่วมเรียนรู้นวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่แบบครบวงจรและสัมผัสประสบการณ์จริงที่คูโบต้าฟาร์ม โดยได้ร่วมชมนวัตกรรมเกษตร อาทิ โซนเกษตรแม่นยำข้าวและพืชหลังนา (Precision Rice Farm and Crop Rotation Zone) ที่ใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำเกษตรมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น  โซนเกษตรทฤษฎีใหม่ (New Theory Agriculture Zone) นำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนารูปแบบการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อให้เกิดรายได้ตลอดปี และโซนเกษตรสมัยใหม่พืชไร่ (Modern Field Crop Farm Zone) แสดงรูปแบบการเพาะปลูกด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจรในทุกขั้นตอน เทคนิคการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิ

นอกจากนี้ยังเข้าร่วมสัมนาเชิงปฏิบัติภายใต้หัวข้อ "การผลักดันนักศึกษาสู่เกษตรกรรุ่นใหม่" โดยร่วมกันระดมความคิดหาแนวทางการส่งเสริมนักศึกษาเข้าสู่ภาคการเกษตรผ่านการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน และมุ่งหาการดำเนินการที่ช่วยสนับสนุนที่ทำให้เป้าหมายสำเร็จร่วมกัน

​​​​​​​

“การจัดงานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับภาคการเกษตรไทย มุ่งสู่เกษตรอัจฉริยะ เพื่อสนับสนุนเยาวชนรุ่นใหม่ได้เติบโตไปเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ (Smart Farmer) ที่นำความรู้และความสามารถมาใช้พัฒนาภาคการเกษตร พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงเกษตรกรรุ่นใหม่สู่การต่อยอดในการทำงาน และสานต่ออาชีพเกษตรกรต่อไป” นางวราภรณ์ กล่าว

​​​​​​​