วันที่ 3 กั.ย.67 ที่โรงแรมอัยยะปุระ อ.เกาะช้าง จ.ตราด นายนริศ ปาลวงศ์ ณ อยุธยา นายอำเภอเกาะช้าง ตัวแทนของผู้ว่าราชการจ.ตราด ร่วมกับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (การปฐมนิเทศโครงการ) งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด โดยมี นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี รองผู้ว่าการ กทพ. นายชาญวิทย์ อาจสมิติ ผู้จัดการโครงการ และตัวแทนบริษัทที่ปรึกษา 6 บริษัท ร่วมรับฟังความคิดเห็นของชาวอำเภอเกาะช้างในเรื่องการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะช้าง ซึ่งมีชาวเกาะช้าง ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวร่วมประชุมกว่า 250 คน
หลังจากที่นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี และนายนริศ ปาลวงศ์ ณ อยุธยา รับฟังการกล่าวถึงการจัดประชุมปฐมนิเทศโครงการจากนายชาญวิทย์ อาจสมิติ แล้ว ตัวแทนของบริษัทที่ปรึกษาได้รมยงานผลการศึกษาแนวทางการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะช้างให้กับที่ประชุม และเปิดรับฟังความคิดเห็น จากชาวอำเภอเกาะช้าง ซึ่งที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้มีการการดำเนินการก่อสร้าง และไม่สนใจว่าจะสร้างตรงบริเวณไหน เพียงแต่ขอให้มีการดำเนินการก่อสร้างอย่างจริงจัง และดำเนินการไปตามความต้องการของพี่น้องชาวตราดและชาวเกาะช้าง เนื่องจากที่ผ่านมาชาวเกาะช้างที่อาศัยอยู่ขาดโอกาสทั้งในเรื่องการแข่งขันด้านการศึกษา การสาธารณสุขที่ไม่สามารถเดินทางไปรักษาการป่วยได้ทันท่วมที หรือปัญหาอื่นๆซึ่งเทียบกับพี่น้องชาวตราดบนฝั่งไม่ได้ จึงเรียกร้องให้กทพ.ดำเนินการเรื่องนี้โดยเร็ว
นายพรชัย เขมะพรรค์พงษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดตราด ที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ของเกาะช้าง กล่าวว่า การเดินทางมาท่องเที่ยวของจังหวัดตราดและมาที่เกาะช้างทุกวันนี้ ประสบปัญกาจากการเดินทางจากกรุงเทพมาตราดที่ติดขัดทั้งในเรื่องไฟแดงจราจรที่มีมากเกินไป และเมื่อมาถึงตราดยังต้องประสบปัญหาเรื่องขึ้นเรือเฟอร์รี่ข้ามเกาะช้างทีทต้องเสียงเวบา 1-2 ชม.และกลับก็เสียเวลาอีก 1-2 ชม หรืออาจจะมากกว่านั้นในช่วงเทศกาล ซี่งทำให้เกาะช้างเสียโอกาสไป ขณะที่สนามบินก็เป็นของเอกชนที่ยังไม่มีการลงทุนที่ให้สายการบินพาณิชย์ขนาดใหญ่มาลงได้ ทางรถไฟรางคู่ก็ไม่มี ซึ่งหากมีการสร้างสะพานข้ามเกาะช้างได้จะสร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจท่องเที่ยวได้มากขึ้น เพราะเดินทางมาได้ทุกเวลา ซึ่งส่งผลดีต่อการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว และสร้างรายได้ทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นอีกมาก
ด้านนายสารพล ประศาสตร์ศิลป์ นายกสมาคมโรงแรมและรีสอร์ทจังหวัดตราด กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีที่กทพ.มารับฟังความคิดเห็นของชาวเกาะช้าง และชาวตราดในการสร้างสะพานข้ามเกาะช้าง ในครั้งนี้ เพราะปัจจุบันการเดินทางมาสู่แหล่งท่องเที่ยวของเกาะช้างมีทางเลือกแค่ใช้เรือเฟอร์รี่ข้ามเข้ามา ซึ่งหากจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมามาก การเดินทางจะเสียเวลามากจากการขึ้นเรือเฟอร์รี่ ซึ่บส่งผลต่อภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของเกาะช้าง ขณะเดียวกัน หากสร้างสะพานข้ามเกาะช้างแล้ว การเดินทางสามารถเดินทางได้ตลอด 24 ชม.ทำให้เป็นโอกาสของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่จะเดินทางมาเกาะช้างเพิ่มมากขึ้น รายได้ของผู้ประกอบการก็จะมากขึ้น ส่งผลดีต่อการกระจายรายได้ไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ซี่งต้องยอมรับว่า นักท่องเที่ยวไทยกลุ่มที่ชอบเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวจะเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังจะส่งผลดีต่อความเสมอภาคของพี่น้องชาวเกาะช้าง และชาวตราดด้วยทั้งในเรื่องการเดินทางที่จะไวมากขึ้น รวมทั้งยังทำให้นักท่องเที่ยวมีทางเชือกเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากจะมีเรือเฟอร์รี่รับส่งเพียงช่องทางเดียว
ส่วนนายสัคศิษฐ์ มุ่งการผู้บริหารกลุ่มโรงแรมสยามโรยัลวิว เกาะช้าง จ.ตราด เปิดเผยว่า ปัจจุบันในทุกๆวัน จะมีรถยนต์เดินทางเข้ามายังอำเภอเกาะช้างวันละ 800 คัน ไปกลับก็จะประมาณ 1,600 คัน (584,000 คัน/ปีเป็นอย่างน้อย)แต่หากเป็นช่วงเสาร์-อาทิตย์ จะเพิ่มเป็น 1,200 คัน หรือไป-กลับ 2,400 คัน แต่หากเป็นช่วงวันหยุดยาวจำนวนก็จะเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งหากจะประเมินผลทางเศรษฐกิจ ที่จะสร้างรายได้ให้กับกทพ.ที่จะเก็บได้จากค่าผ่านทางแล้วจะสามารถคุ้มทุนได้ในเวลาไม่นาน แต่สิ่งที่ได้จะได้มากกว่านี้ก็คือ ผลทางเศรษฐกิจในอีกหลายมิติ ซึ่งที่ผ่านมา ในปี 2567 รายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดตราดตั้งแต่ปีใหม่ถึงเดือนเมษายน 2567 มีสูงถึง 1.4 หมื่นล้านบาท และคาดว่า สิ้นปี 2567 จะมีสูงแตะ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากมองต่อไปว่า ถ้ามีการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะช้างจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้อีก และรายได้ที่จะเกิดขึ้นจะเพิ่มขึ้นกี่เท่าตัว ซึ่งยังไม่รวมกับรายได้การเก็บค่าผ่านทางของกทพ.ที่จะเก็บจากรถยนต์ที่เดินทางมายังเกาะช้าง ซึ่งคุ้มค่ากับการก่อสร้างและผลอื่นๆที่จะตามมาอีก
ส่วนนางวิภา สุเนตร ประธานหอการค้าจ.ตราดและเจเาของกลุ่มโรงแรมบ้านปู จ.ตราด เปิดเผยว่า หอการค้าจ.ตราดเคยได้ผลักดันโครงการสร้างสะพานข้ามเกาะช้างมากว่า 10 ปี ก่อนที่จะเขเามานั่งเป็นประธานหอการค้าจังหวัดตราด ซึ่งในยุคที่มามองในเรื่องความสะดวกสบาย และผลทางเศรษฐกิจทีทจะทำให้จังหวัดตราด โดยเฉพาะเกาะช้างสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้สะดวกขึ้น และไม่เกิดปัญหารถยนต์รอลงเรือเฟอร์รี่ทั้งขาไปและขากลับ แต่เมื่อมานั่งเป็นประธานหอการค้าจ.ตราดยอมรับว่า สร้างสะพานข้ามเกาะช้าง เป็นเรื่องดี แต่อยากให้มองอีกด้านว่า นักท่องเที่ยวบางส่วนโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างประเทศเขาต้องการเดินทางแบบไหน ส่วนใหญ่จะชอบในเรื่องการลงเฟอร์รี่มากกว่า และนั่งเฟอร์รี่ชมวิวทะเล เพราะแค่ไม่เกิน 30 นาทีก็ถึงเกาะช้างแล้ว แต่ก็นั่นแหละเพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่นั่งเครื่องบินมา แต่นักท่องเที่ยวไทยมักนิยมเดินทางมาด้วยรถยนต์ ซึ่งจำนวนรถยนต์ที่ขึ้นไปยัลเกาะช้าง จะเกิดปัญหาด้านจราจร และอาจจะติด หรืออาจจะหาสถานทีทจอดรถยนต์ลำบาก เพราะช่วงวันหยุดยาวรถยนต์ที่ลงไปเกาะช้างบางทีหาที่จอดลงหาดไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้ต้องแก้ไขก่อนที่สะพานจะสร้างเสร็จ ซึ่งมีเวลา 5-6 ปีที่คนบนฝั่งเกาะช้างจะต้องเร่งดำเนินการ
“มองในเรื่องความคุ้มค่าทีทกทพ.ลงทุนด้วยเงินไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้าน เงินหมื่นล้านเอามาทำโครงการอื่นๆ เช่น การก่อสร้างสะพานสาธารณะเพื่อให้สัมปทานเรือข้ามเกาะช้างเพิ่ม เพราะปัจจุบันมีแต่ท่าเรือเอกชน บางทีหากจะแก้ไขให้รถยนต์ลงเกาะช้างได้เร็วหากมีท่าเรือใหม่ขอลภาครัฐจะทำการแก้ปัญกานี้ได้ หรือระบบการส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน ไม่ต้องข้ามมาฝั่งจังหวัดตราดก็ได้ แต่สร้างสถานการพยาบาลที่มีศักยภาพเท่าบนฝั่งก็น่าจะทำได้ หรือสถานการศึกษาที่รองรับนักเรียนของชาวเกาะช้างก็ทำได้ หากใช้เงินมายกระดับ หากทำเช่นนี้ได้การก่อสร้างสะพานข้ามเกาะช้างอาจจะไม่จำเป็นก็ได้”
และหลังจบการประชุมประชุมนายกาจพล กล่าวสรุปว่า ทั้งหมดที่ได้รับฟังความคิดเห็นมายอมรับว่า ชาวตราดและชาวเกาะช้างมีความต้องการให้กทพ.สร้างสะพานข้ามเกาะช้างมาก และหลังจากศึกษาผลกระทบแล้วอยากจะให้ผลักดันต่อ ซึ่งในเรื่องงบประมาณนั้นไม่ใช้ปัญหาเนื่องจากกทพ.มีงบประมาณของตัวเอง และยังมีรายได้จากการเก็บค่าผ่านทาง ซี่งเรานำกำไรมาดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งอาจจะหารือกับฝ่ายรัฐวิสาหกิจในการออกแบบสะพานเพื่อจะสามารถเกี่ยวสายสื่อสาร สายไฟฟ้า หรือท่อประปาไปพร้อมกับสะพานแห่งนี้ได้พร้อมกัน จะส่งผลดีต่อการใช้จ่ายของสาธารณูปโภคได้ และน่สเกอดผลต่อต่อการก่อสร้างสะพานด้วย และราคาค่าเก็บค่าผ่านทางที่จะลดลงด้วย