บ.ปิโตรเลียมยักษ์ใหญ่ยก BCG โมเดลสู่ชุมชนผลิตยาง-พลิกน้ำเสียเป็นก๊าซเชื้อเพลิงรมยางแผ่นแห่งแรกในไทย
“เชฟรอน”ยันร่วมส่งเสริมความยั่งยืนสร้างเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ยก BCG สู่ชุมชนสร้างสังคมคาร์บอนต่ำผ่านศักยภาพชาวสวนยาง ผลิตก๊าซจากน้ำเสียมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตยางแผ่นรมควัน สหกรณ์ต้นแบบจ่อผงาดเป็นองค์กรเป็นกลางทางคาร์บอนแห่งแรกของไทย
เชฟรอนมั่นใจขับเคลื่อนบุกเบิกพัฒนาและสำรวจธุรกิจพลังงานในประเทศไทยมากว่า 60 ปี และยังร่วมมือทุกฝ่ายบุกเบิกพัฒนาองค์ความรู้ในการต่อยอดสู่การสร้างสรรค์เศรษฐกิจชุมชน สร้างคุณภาพชีวิตให้กับสมาชิกในหลายชุมชนทั้งนครศรีธรรมราช สงขลา และจังหวัดใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้หนุนการเข้าสู่สังคมคอร์บอนต่ำโดยนำนวัตกรรมที่หลากหลายเข้าสู่ชุมชนการผลิตยางพารามุ่งสู่ความเป็นเลิศในการลดคาร์บอน
นางสาวพรสุรีย์ กอนันทา รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ระบุว่าพื้นที่อ่าวไทย และภาคใต้เสมือนเป็นบ้าน เป็นทุกอย่างของทุกคนในส่วนของเชฟรอนผูกพันมามากกว่า 40 ปี การมุ่งนำเอานวัตกรรมองค์ความรู้สู่ชุมชนเป็นวิธีการหนึ่งที่นำไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนในการผลิตเช่นยางพารา ผ่านโครงการก๊าซชีวภาพสหกรณ์ยางพาราสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และโครงการอนุรักษ์ย่านเมืองเก่าสงขลา ซึ่งมีความสำเร็จออกมาเป็นที่น่าพอใจ ชุมชนเกษตรกรรมสวนยางพารามีอยู่จำนวนมาก มีการผลิตยางแผ่นรมควันโดยใช้เชื้อเพลิงไม่ได้ได้คุณภาพและยังมีต้นทุนสูง กระบวนการผลิตก่อให้เกิดกลิ่นและก๊าซเรือนกระจก น้ำเสีย ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
“เราจึงร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบพลังงาน (PERIN) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่งเสริมกระบวนการผลิตยางแผ่นรมควันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ต้นแบบคือสหกรณ์บ้านทรายขาว และสหกรณ์ยูงทอง สงขลา โดยเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นก๊าซชีวภาพ และใช้ก๊าซชีวภาพไปรมควันยางแผ่นเพื่อช่วยประหยัดเชื้อเพลิงไม้ฟืน ตลอดจนนำระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการผลิตยางแผ่น นี่คือทางเลือกที่สำคัญของเทรนด์โลกใหม่ที่เข้าสู่การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกการผลิต คือ BCG การสร้างเศรษฐกิจแบบยั่งยืน”
ศาสตราจารย์ ดร. สุเมธ ไชยประพัทธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ระบุว่าได้พัฒนาและปรับใช้ทุกอุปกรณ์และเทคโนโลยีจนมีความเหมาะสมกับวิถีการดำรงอยู่ของวิสาหกิจชุมชนยางพาราที่นี่ เมื่อทุกระบบทำงานสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 425 ตัน/ปี หรือประมาณร้อยละ 31 สหกรณ์ยางแผ่นรมควันยูงทองเป็นต้นแบบในการส่งต่อความรู้ให้กับสหกรณ์อื่นๆ ในพื้นที่ต่อไป นอกจากนี้ เรายังต่อยอดสู่ ‘โครงการก๊าซชีวภาพสหกรณ์ยางพาราสู่สังคมคาร์บอนต่ำ’ โดยผลักดันให้
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร ยังยืนยันด้วยว่า สหกรณ์ยูงทองขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของยางแผ่นรมควัน (Carbon Footprint of Product) ได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของสหกรณ์ยางแผ่นรมควันของประเทศ ซึ่งปัจจุบัน อยู่ระหว่างดำเนินการขอรับรองการจดทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization) และดำเนินการประเมินความเป็นไปได้ในการทำคาร์บอนเครดิตของสหกรณ์ ตามเงื่อนไขขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ของประเทศไทย เพื่อนำสหกรณ์ยางแผ่นรมควันยูงทองไปสู่องค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) แห่งแรกของประเทศไทย./////