ชป.พิษณุโลก เตือน ปชช.เฝ้าระวังโดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ไกล้กับตลิ่งแม่น้ำ ให้ติดตามสถานการณ์ พร้อมตรวจสอบจุดที่ตลิ่งต่ำ ควรเสริมคันคลองให้มีความแข็งแรง
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลก พร้อมด้วยหัวหน้าฝ่าย ร่วมประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ ณ ห้องประชุม SWOC โครงการชลประทานพิษณุโลก เพื่อดำเนินการวางแผน คาดการณ์ เตรียมความพร้อม ประเมิน และ สรุปสถานการณน้ำ ในช่วงฤดูฝน ปี 2567
แม่น้ำน่านและแม่น้ำสาขา สถานการณ์โดยรวมปกติ โดยสถานการณ์ต้องเฝ้าระวังได้แก่ แม่น้ำที่มีพื้นที่ต้นน้ำมีความลาดชันสูง หากมีปริมาณฝนตกชุกในพื้นที่ เกินกว่า 50 มม. ต้องเร่งแจ้งเตือนประชาชนให้ระวังน้ำป่าไหลหลาก
แม่น้ำยมสายหลัก และแม่น้ำยมสายเก่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเข้าสู่สถานการณ์วิกฤตระดับมาก เสี่ยงน้ำเอ่อล้นตลิ่ง จากสถานการณ์ฝนตกชุกพื้นที่ต้นน้ำแม่น้ำยม จ.แพร่ และ จ.สุโขทัย และคาดการณ์ปริมาณน้ำมากที่จะไหลเข้าสูแม่น้ำยมในเขต อ.พรหมพิราม และ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เริ่มตั้งแต่ วันที่ 26 สิงหาคม 2567 เป็นต้นมา
โดยในส่วนการเตรียมการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ได้เพิ่มการระบายน้ำสูงสฺดของ ประตูระบายน้ำแม่น้ำยมสายหลัก อ.บางระกำ (ปตร.วังสะตือ,ปตร.ท่านางงาม,ปตร.ท่าแห) และ เพิ่มการระบายน้ำแม่น้ำยมลงสู่แม่น้ำน่าน ผ่านทาง คลองผันน้ำยมน่าน, คลองระบาย DR-2.8 และ คลอง DR-15.8 รวมทั้งดำเนินการพร่องน้ำในแม่น้ำยมสายเก่า อ.พรหมพิราม และ อ.บางระกำ
ปัจจุบัน เริ่มรับน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำโครงการบางระกำโมเดล เพื่อรองรับปริมาณน้ำจากพื้นที่แม่น้ำยมตอนบน และลดผลกระทบอุทกภัย โดยตั้งแต่ 15 ส.ค.- 15 ต.ค. 67 พื้นที่ภาคเหนือ จะเข้าสู่ช่วงฤดูฝนตกชุกหนาแน่น สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และกรมอุตุนิยมวิทยา ได้พยากรณ์สภาพภูมิอากาศ และประกาศแจ้งเตือน! เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก) ในช่วง ตั้งแต่ วันที่ 26-30 ส.ค. 67 ต้องเฝ้าระวังฝนตกหนัก ฝนตกสะสม อาจเกิดน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ และน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากน้ำในพื้นที่ ที่มีความลาดชันสูง โดยในจังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ อ.นครไทย (แม่น้ำแควน้อย) อ.วังทอง (แม่น้ำวังทอง) อ.เนินมะปราง และ อ.บางกระทุ่ม (แม่น้ำชมพู) อ.บางระกำ, อ.พรหมพิราม (แม่น้ำยม และ แม่น้ำยมสายเก่า)
ดังนั้น ขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เฝ้าระวังดังกล่าวโดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ไกล้กับตลิ่งแม่น้ำ ให้ติดตามสถานการณ์ พร้อมเฝ้าระวัง และ ตรวจสอบจุดที่ตลิ่งต่ำ ควรเสริมคันคลองให้มีความแข็งแรง และ เตรียมความพร้อมในการขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง และระมัดระวังไฟฟ้าที่อยู่ในที่ต่ำน้ำท่วมถึง อีกทั้งขอความร่วมมือเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม ในฤดูน้ำหลาก และเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิต หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะในพื้นที่โครงการบางระกำโมเดล ควรชะลอหรืองดทำการเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมหลากทำให้ผลผลิตเสียหาย
สำหรับสถานการณ์แม่น้ำน่านแม่น้ำน่าน สถานการณ์น้ำ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น (สถานีวัดน้ำ N.5A ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง -5.83 เมตร)-สถานการณ์ ปกติ
แม่น้ำสาขา ได้แก่ แม่น้ำภาค อ.ชาติตระการ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น (สถานีวัดน้ำ N.55 ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง -3.73 เมตร)-สถานการณ์ปกติ
แม่น้ำแควน้อย อ.นครไทย ระดับน้ำลดลง (ที่สถานีวัดน้ำ N.36 ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง -2.60 เมตร)-สถานการณ์ เฝ้าระวัง
แม่น้ำวังทอง อ.วังทอง ระดับน้ำลดลง (สถานีวัดน้ำ N.24A ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง -5.54 เมตร)- สถานการณ์ปกติ
แม่น้ำชมพู อ.เนินมะปราง ระดับน้ำลดลง (สถานีวัดน้ำ N.43A ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง -5.31 เมตร)-สถานการณ์ปกติ
สถานการณ์แม่น้ำยม แม่น้ำยมสายหลัก ที่ไหลผ่าน อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำเพิ่มขึ้น (ที่สถานีวัดน้ำ Y.64 ปริมาณน้ำไหลผ่าน 345 ลบ.ม/วินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง -0.30 เมตร/ ต่ำกว่าระดับวิกฤติ เขตชุมชน 1.20 เมตร)-สถานการณ์ เฝ้าระวัง แม่น้ำยมสายเก่า ที่ไหลผ่าน อ.พรหมพิราม และ อ.บางระกำ ปริมาณนิำไหลผ่าน 260 ลบ.ม/วินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งประมาณ -0.30 เมตร/ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
สถานการณ์เฝ้าระวังน้ำเอ่อล้นตลิ่ง(เสริมคันป้องกัน) ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีทุ่งหน่วงน้ำบางระกำโมเดล ปัจจุบันเก็บเกี่ยวแล้ว 100 % และเริ่มรับน้ำเข้าทุ่งแล้ว.