บีเอเอสเอฟ ประเทศไทยนำโดยคุณรสจันทร์ โลหะกิจสงคราม กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทบีเอเอสเอฟ ในประเทศไทยและเวียดนาม เป็นตัวแทนส่งมอบเครื่องไทรนามิกซ์ (trinamiX) นวัตกรรม NIR Spectroscopy แบบพกพาสำหรับการคัดแยกพลาสติก ให้กับสถาบันพลาสติกแห่งประเทศไทย โดยมีคุณภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รักษาการผู้อำนวยการ เป็นตัวแทนรับมอบในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “นวัตกรรมในกระบวนการรีไซเคิลและการคัดแยกพลาสติก” ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญเพื่อยกระดับการหมุนเวียนของพลาสติกในประเทศไทย เครื่องไทรนามิกซ์ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทไทรนามิกซ์ (trinamiX GmbH) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บีเอเอสเอฟ เป็นเทคโนโลยี NIR Spectroscopy แบบพกพา ใช้ในการบ่งชี้ชนิดพลาสติกหลากหลายประเภทได้อย่างแม่นยํา นวัตกรรมนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิล โดยสามารถคัดแยกชนิดพลาสติกอย่างถูกต้องตั้งแต่ต้นทาง จึงช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

เมื่อวันที่ 27 ส.ค.67 คุณรสจันทร์ โลหะกิจสงคราม กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทบีเอเอสเอฟในประเทศไทยและเวียดนามเปิดเผยว่า ความร่วมมือกับสถาบันพลาสติกแห่งประเทศไทยในการนำโซลูชัน TrinamiX Mobile NIR Spectroscopy ของเรามาประยุกต์ใช้กับโครงการริเริ่มรีไซเคิลพลาสติกของไทยนี้ จะสามารถสร้างผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะพลาสติก และผลักดันให้ประเทศก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืนได้เร็วยิ่งขึ้น การผสมผสานนวัตกรรมเทคโนโลยีของ บีเอเอสเอฟ กับความเชี่ยวชาญของสถาบันฯ จะช่วยยกระดับการรีไซเคิล   พลาสติกในประเทศไทยให้ก้าวหน้าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม

โดยสถาบันพลาสติกแห่งประเทศไทยมีบทบาทสําคัญในการจัดการขยะพลาสติกในประเทศ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญในการให้ความรู้ การวิจัยพัฒนา และการฝึกอบรมแก่อุตสาหกรรม การผสานรวมการใช้เทคโนโลยีของอุปกรณ์ไทรนามิกซ์นี้ จะช่วยให้สถาบันสามารถนํานวัตกรรมการคัดแยกพลาสติกมาสู่ประเทศไทย และสนับสนุนโครงการรีไซเคิลในท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพการรีไซเคิลและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย

คุณภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รักษาการผู้อำนวยการ สถาบันพลาสติกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "ความร่วมมือครั้งนี้เป็นตัวอย่างในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการการคัดแยกพลาสติกและขับเคลื่อนการจัด การขยะพลาสติกอย่างยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน พร้อมทั้งเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของเราในการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ควบคู่ไปกับพันธมิตรที่มีมายาวนานของเรา"
กิจกรรมในครั้งนี้ ถือเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการคัดแยกและรีไซเคิลพลาสติก เพื่อมุ่งไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน