วันที่ 24 ส.ค.67 ณ พระตำแหนักคำหยาด ตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานพิธีเปิดงาน มีนายอนุวัตร มากประมูล สมาชิกสภา. องค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทองนายประเวศน์ เดชคง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคำหยาด คณะผู้บริหาร สมาชิก กำนันผู้ใหญ่บ้าน พีาน่องประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรม
รองศาสตราจารย์ ดร.ธาตรี มหันตรัตน์ เปิดเผยว่า เนื่องด้วย ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำน้อย มีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และโบราณสถานที่มีคุณค่า ซึ่งได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากคนในชุมชนตลอดจนมีแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก จึงเหมาะสมแก่การส่งเสริมทางด้านศักยภาพให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา โดยสถาบันอยุธยาศึกษา จึงได้จัดทำโครงการ "การพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามรอยประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และอัตลักษณ์พื้นถิ่นลุ่มน้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำน้อย สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง"ตามแผนพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570)การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยของกลุ่มอุดมศึกษาเชิงยุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยามีปนิธานที่มุ่งเน้นสู่การเป็นมหาวิทยาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาประเทศควบคู่ไปกับการพัฒนาคนและสิ่งแวดล้อม โครงการดังกล่าวนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวภายในชุมชนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง รวมถึงการส่งเสริมการนำอัตลักษณ์จังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง เชื่อมโยงกับจังหวัดท่องเที่ยวเมืองหลัก มาเป็นส่วนผสมหลักในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว และเส้นทางการท่องเที่ยว เพื่อสร้างประสบการณ์และตอบความต้องการของนักท่องเที่ยว และตลาดสิบค้าภูมิปัญญา ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ทั้งไปประเทศและต่างประเทศ
สำหรับการจัดกิจกรรมลานวัฒนธรรม "เล่าขานตำนานตำหนักคำหยาด สานวัฒนธรรมเมืองอ่างทอง" เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานภายใต้โครงการ การเปิดเส้นทางท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และอัตลักษณ์พื้นถิ่นวัฒนธรรม "ลุ่มน้ำเจ้าพระยา - แม่น้ำน้อย" สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ประกอบด้วย การเสวนาทางวิชาการ "เล่าขานตำนานตำหนักคำหยาด สานวิถีวัฒนธรรมเมืองอ่างทอง" การบรรเลงดนตรีไทยร่วมสมัย การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม และนอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายทางด้านวัฒนธธรรมหน่วยงานทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในระดับจังหวัดและในระดับท้องถิ่น ตลออดจนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาในจังหวัดอ่างทอง ที่ได้กรุณาให้เกียรติในการเข้าร่วมกิจกรรม และเผยแพร่ความรู้ทางด้านภูมิปัญญาในครั้งนี้ภายใต้โครงการการเปิดเส้นทางท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสดร์วัฒนธรรม และอัตลักษณ์พื้นถิ่นวัฒนธรรม "ลุ่มน้ำเจ้าพระยา - แม่น้ำน้อย" สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยว