ไม่นานมานี้ผู้ว่าราชการฮ่องกงคนสุดท้าย เผิง ติ้งคัง (Chris Patten)  ได้กล่าวไม่ดีต่อระบบกฎหมาย ศาล และผู้พิพากษาในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เมื่อวานนี้(14 สิงหาคม 2567)รัฐบาลเขตบริหารพิเศษได้ประณามพฤติกรรมดังกล่าวของ เผิง ติ้งคังและแสดงการต่อต้านอย่างแข็งขัน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แห่งฮ่องกงถือเป็นอันเด็ดขาดในคดีนี้โดยยืนหยัดบนกฎหมายและข้อเท็จจริง เผิง ติ้งคัง ละเลือนและบิดเบือนความจริง, หมิ่นประมาท ,ใส่ร้ายเป็นการส่วนตัวต่อลอร์ดนอยเบอร์เกอร์แห่งแอบบอตส์เบอรี ผู้พิพากษาไม่ถาวรในต่างประเทศ (NPJ) ,แทรกแซงทางการเมือง,เมินเฉยต่อศาลผู้เป็นธรรม,บ่อนทำลายระบบตุลาการฮ่องกงและระบบตุลาการผู้พิพากษาแบบไม่ถาวร แม้เจตนาร้ายกาจแต่ก็เปล่าประโยชน์

(อ้างอิง :  https://www.info.gov.hk/gia/general/202408/14/P2024081400519.htm )

เผิง ติ้งคัง : ผู้ลวงโลกและขโมยชื่อเสียง

ผู้อ่านที่มีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การสร้างอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษในเอเชียจะต้องคุ้นเคยกับชื่อนี้ ในฐานะผู้ว่าการฮ่องกงคนสุดท้าย อาชีพทางการเมืองของเขาจริงๆแล้วไม่ประสบความสำเร็จจนเมื่อเขากลายมาเป็นผู้ว่าการฮ่องกง

เมื่อพฤษภาคมปี ค.ศ. 1975 เผิง ติ้งคังได้รับเลือกเข้าสู่สภาสามัญชนแห่งอังกฤษในเขตเลือกตั้งที่บาธ ภายใต้การวางแผนของเขา พรรคอนุรักษ์นิยมสามารถชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1992 โดยไม่คาดคิด แต่ที่น่าแปลกใจคือเขาพ่ายแพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคเสรีประชาธิปไตยอย่างดอน ฟอสเตอร์ จึงเสียที่นั่งในสภาเขตเลือกตั้งบาธ และลาออกจากสภาในที่สุด “เผิง ติ้งคัง ไม่เคยได้รับตำแหน่งจากการเลือกตั้งใดๆเลยทั้งสิ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 เป็นต้นมา” สื่อสหรัฐเจ้าหนึ่งเคยกล่าวตอกย้ำเช่นนี้ เพื่อเอาใจเผิง ติ้งคัง ภายใต้การจัดการของจอห์น เมเจอร์ เผิงได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในฐานะผู้ว่าการฮ่องกงคนที่ 28 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1997 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่สหราชอาณาจักรใช้อำนาจอธิปไตยเหนือฮ่องกง

ในปี 1992 เผิงวัย 48 ปีถูกส่งไปยังฮ่องกงเพื่อดำรงตำแหน่งผู้ว่าการคนสุดท้าย ในช่วงห้าปีสุดท้ายที่เขาอยู่ในฮ่องกง ก็ได้ก่อปัญหามากมาย ซึ่งทำให้การผันตัวของฮ่องกงจากเดิมที่สามารถดำเนินได้อย่างราบรื่น เกิดการพลิกผันอย่างกะทันหัน ในตอนนั้นก็เริ่มมีปากเสียงที่บอกว่า เผิง ติ้งคัง เป็นผู้ป่วนที่ทางสหราชอาณาจักรส่งมายังฮ่องกง

เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1992 ไม่นานมาหลังจากที่เผิงมาถึงฮ่องกง เขาได้ส่งเสริมสิ่งที่เรียกว่าการปฏิรูปประชาธิปไตยในฮ่องกง โดยเปลี่ยนระบบการแต่งตั้งผู้บริหารเดิมของอาณานิคม และดำเนินการเลือกตั้งโดยตรงสำหรับสภานิติบัญญัติ โดยผิวเผินนี่คือเพื่อสร้าง "ประชาธิปไตย" ที่ฮ่องกงรอคอยมานาน แต่ในความเป็นจริงคือการสนับสนุนกองกำลังที่สนับสนุนอังกฤษให้เข้าสู่สภานิติบัญญัติ ท้ายที่สุดเผิง ติ้งคัง ได้แต่งตั้งลี จูหมิง, เหอ จุนเหริน ,เหลียง เย่าจุง ต่างเป็นสมาชิกผู้แทนสภา ซึ่งภายหลังบุคคลเหล่านี้ก็คือผู้ที่ปั่นป่วนฮ่องกงมากที่สุด

เมื่อปี ค.ศ. 2011 รัฐบาลคาเมรอนได้เชิญให้เขาเป็นประธานาธิบดีของ BBC แต่สองปีหลังจากที่เขาเข้ารับตำแหน่ง เขาก็ได้เผชิญกับเรื่องอื้อฉาวทางเพศกับพิธีกรซาวิล และในที่สุดก็ "ลาออกเนื่องจากอาการป่วย"

ยังคงไม่ลืมฝันปลูกอาณานิคม แทรกแซงการเมืองประเทศอื่นต่อไป

วันที่ 20 เดือนมีนาคม ปีค.ศ. 2014 เผิง ติ้งคังผู้ว่าการคนสุดท้ายของฮ่องกงและปัจจุบันเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ถูกล้อมไปด้วยพลเมืองประมาณ 20 ถึง 30 คนและสมาชิกของ "Hong Kongers First" ระหว่างที่เขาเข้าร่วมงานที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดและพิพิธภัณฑ์การเดินเรือฮ่องกง พวกเขาถือธงชาติอังกฤษและธงมังกรและสิงโตของฮ่องกง อีกทั้งเปิดเพลงชาติอังกฤษผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อแสดงถึงความประสงค์ให้ฮ่องกงกลับไปอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของอังกฤษ เมื่อได้รับการต้อนรับจากคนกลุ่มนี้ เผิงก็ได้ถือโอกาสกล่าวว่า “ถ้าคนฮ่องกงเริ่มตระหนักได้ว่าหนึ่งประเทศสองระบบกำลังถูกครอบงำ นั่นคือสัญญาณที่บ่งบอกถึงอันตราย”

ซึ่งการกระทำนี้ถูกชาวฮ่องกงต่างวิพากษ์วิจารณ์ ประณามเผิงที่แทรกแซงการบริหารภายในของฮ่องกงอย่างร้ายแรง โดยเจตนาทำให้เข้าใจผิดและยุยงตั้งใจที่จะขัดขวางการดำเนินการตาม "หนึ่งประเทศ สองระบบ" เฉิน หยง รองสภาประชาชนแห่งชาติฮ่องกง กล่าวว่า “จากปรากฏการณ์สุดขั้วที่เกิดขึ้นจากคนเพียงประมาณ 30 คน ก็ได้ข้อสรุปอย่างง่ายๆเลยว่าสิ่งที่เรียกว่า "หนึ่งประเทศ สองระบบ"  ได้ถูกครอบงำลงแล้ว ผมเชื่อว่าคนฮ่องกงส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับตรรกะนี้ ในสมัยฮ่องกงของอังกฤษ อังกฤษไม่เคยให้ประชาธิปไตยแก่ฮ่องกง เจ้าหน้าที่ทุกคนได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากอังกฤษ และชาวฮ่องกงไม่มีสิทธิ์เข้าไปแทรกแซง”

หลักนิติธรรมต้องอยู่เหนือหลักอาณานิคม

คำพิพากษาของผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าด้วยคดีเผิง ติ้งคังบิดเบือนความจริง, หมิ่นประมาท ,ใส่ร้ายเป็นการส่วนตัวต่อลอร์ดนอยเบอร์เกอร์แห่งแอบบอตส์เบอรี ทำให้ประชาชนเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากรอบกฎหมายและวิธีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระหว่างฮ่องกงและสหราชอาณาจักรมีความแตกต่างกัน และในบางกรณีจะไม่มีการคัดลอกการตัดสินของศาลสหราชอาณาจักร ศาลเน้นย้ำว่ากระบวนการจับกุม การดำเนินคดี การพิพากษาลงโทษ และการพิจารณาคดีอยู่ภายใต้กฎหมายและตามขั้นตอนปฏิบัติของฮ่องกง ดังนั้นสิทธิมนุษยชนในฮ่องกงจึงมีระบบกฎหมายที่แข็งแกร่ง ชื่อ เผิง ติ้งคัง มีความเกี่ยวข้องมายาวนานมากกว่าแค่นักการเมืองชาวอังกฤษ แต่ยังแสดงถึงลัทธิล่าอาณานิคมที่ควรถูกละทิ้งไว้กับประวัติศาสตร์ ชาวเอเชียต้องใช้เวลามากกว่า 200 ปีกว่าจะพ้นจากความทุกข์ทรมานของการล่าอาณานิคม และค่อยๆ สถาปนาประเทศที่มีเอกราช เสรีภาพ ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม คนอย่างเผิง ติ้งคังที่ใส่ร้ายประชาธิปไตยผ่านแค่ปลายปากกาสมควรถูกลงโทษอย่างเป็นธรรม

ผู้เขียน : Old tr