วันที่ 19 ส.ค.67 นายชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต กรรมการและรองเลขาธิการมูลนิธิสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า สองนามปากกา ของ พี่โชติ - ทองแถม นาถจำนง ที่ใช้เขียนงานด้านมนุษยวิทยาจีนศึกษาลงในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม นับตั้งแต่ พ.ศ.2528 เป็นต้น
พี่สุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นผู้ตั้งทั้งนามปากกานี้ให้ และเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ
เมื่อพี่สุจิตต์ เดินทางไปเขตปกครองตนเองจ้วง กวางสี แผ่นจีนแล้วกลับมาเขียนหนังสือ "คนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์" และเห็นว่าวิธีคิดโบราณคดีไทยโดยเฉพาะเรื่องมโหระทึกยังเชื่อตามแนวคิดตะวันตก-เยอรมัน และละเลยการตีความของตะวันออกโดยเฉพาะจีน จึงให้พี่โชติ ช่วยแปลเอกสารจีนย่อยสรุปง่ายๆ เขียนลงนิตยสารศิลปวัฒนธรรมเป็นตอน ๆ แล้วตั้งนามปากกาที่เขียนเรื่องนี้โดยเฉพาะว่า "บักหนาน ถงกู" และบทความได้รับการตอบรับแนวคิดนี้อย่างแพร่หลายจนกระทั่งคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เชิญไปช่วยสอนพิเศษว่าด้วยเรื่อง โบราณคดีจีนเพื่อไขกุญแจไขปัญหาประวัติศาสตร์ของกลุ่มชนในสุวรรณภูมิแดนแห่งทอง (โลหะ) นี้อยู่ที่ยุคสำริด
ภาพสามก๊ก โดยเฉพาะบทภาพยนตร์แปล ค.ศ.1994 เป็นภาพติดตัว พี่โชติว่าด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านสามก๊กวิทยา แต่เจ้าตัวไม่เคยเอ่ยปากชื่นชมตนเอง มีแต่เพื่อนมิตรกล่าวยกย่อง โดยเฉพาะบทแปลเพลงลำนำสามก๊ก อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ถึงกับกล่าวชมว่าแปลได้ดีมาก
เมื่อได้โอกาสมาเขียนเรื่องจีนในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมในยุคที่มี สุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นบรรณาธิการ สามก๊ก ในมิติของ ทองแถม ก็เริ่มที่นี่ในนามปากกา "สามกั๊ก" ที่บรรณาธิการเป็นผู้ตั้งให้เพื่อเขียนเกี่ยวกับ "สามก๊ก" ที่เป็นวรรณกรรของโลกที่แพร่หลายในมิติต่าง และชื่อเสียงด้านสามก๊กในมิติงานของ "สามกั๊ก" ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี พร้อมกับความสนใจเรื่องเส้นทางสามก๊ก พร้อมๆ กับทางรัฐจีนเริ่มสร้างภาพยนตร์ยิ่งใหญ่อย่างสามก๊ก พร้อมกับบูรณะสถานที่เกี่ยวข้องด้วยสามก๊กเพื่อขายการท่องเที่ยว
เมื่อรัฐบาลจีนเปิดตัวภาพยนตร์ชุดนี้ ฝ่ายไทยโดย บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด ได้ขอให้พี่ทองแถม เป็นล่ามประสานงานกับผู้จัดสร้างทางฝ่ายจีน เพื่อทำสัญญานำมาฉายในเมืองไทย เป็นรายแรก หลังจากทางบริษัทได้จ้างคณาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งแปลบทภาพยนตร์ ปรากฎว่า เมื่อตรวจบทแปล คุณยุวดี บุญครอง ถึงกับว่าไม่ผ่านให้ช่วยไปตามอาจารย์ทองแถม นาถจำนง กลับมาช่วยงานและจ้างทำการแปล
เมื่อข่าวการรับงานแปลภาพยนตร์สามก๊ก 1994 โดย ทองแถม นาถจำนง เริ่มต้น พี่สุจิตต์ วงษ์เทศ ถึงกับกล่าวว่า "ไอ้แถมมันสร้างประวัติศาสตร์ให้ตนเองแล้ว" และเป็นจริง บทแปลภาพยนตร์ชุดนี้เป็นงานยากที่คนแปลต้องเข้าใจภาษาจีนโบราณ อ่านปากตัวละคร และบางบทไม่มีในสามก๊กฉบับพระยาพระคลัง เพราะคนสมัยไม่ได้แปลไว้ เช่น สงครามน้ำลาย หรือ ถกปรัชญา เป็นต้น และงานนี้ก็ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ของผู้แปล(แม้ช่วงหลังแปลกไม่ทันต้องให้เพื่อนอย่างพี่อดุลย์ รัตนมั่นเกษมมาช่วยแปลอีกแรงหนึ่ง)
ระหว่างทำต้นฉบับ เตรียมงานเสวนา 100 วัน ให้พี่โชติ พี่สุจิตต์ วงษ์เทศ จึงแนะนำให้ค้นคว้าเอางานเขียนชุด "บักหนาน ถงกู" ที่พิมพ์ในศิลปวัฒนธรรมอยู่อยู่ไม่มาก แต่เป็นคุณค่าเกียรติยศการงานศึกษาข้อมูลด้านชาติพันธุ์วรรณาของตัวพี่โชติมาพิมพ์ในสูจิบัตรแบ่งปันความรู้ และแทรกข้อเขียนบทกลอนเพื่อนมิตรที่เขียนถึงและไม่ได้อยู่ในหนังสืองานศพ
เรื่องสถานที่ประสานงานไว้แล้วคาดว่าใช้ห้องริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มธ.ท่าพระจันทร์ เรื่องเวลากำหนดอีกทีแล้วจะแจ้งความเคลื่อนไหว ซึ่งงานน่าจะอยู่ช่วงเดือนพฤศจิกายน ก่อนวันนักกลอนเดือนธันวาคม นี้
ลักษณงานก็มีพูดคุยสองเรื่องสำคัญคือ "ชาติพันธุ์โบราณคดีถึงสามก๊ก" และอ่านบทกวีโดยมิตรสหาย งานฟรีมีสูจิบัตรแจก
ขอบคุณ เฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต