ชาวบ้านเขาขาวนำไก่ตัวโปรดร่วมแข่งขันประชันเสียงไก่ขัน ในงานยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนต้นแบบ  สร้างสีสันต์ในชุมชน

สิ้นเสียงนกหวีดดัง   เจ้าของไก่แจ้พันธุ์พื้นเมืองต่างส่งเสียงและท่าทางสนุกสนาน  ส่งสัญญานให้ไก่ตัวโปรดขันร้อง  เพื่อเรียกคะแนน  ภายในสนามแข่งขันประชันเสียงไก่แจ้   โดยสนามนี้มีผู้ร่วมแข่งขันทั้งหมด 20 ทีม   แข่งขันกัน 4 ยก  ยกละ1 นาที ขันให้ได้รวม 8 ดอก หรือ ขัน 8 ครั้ง  จะเป็นผู้ชนะ   โดยนายเพิ่ม  ตรีสุข  เจ้าของไก่ชื่อ จะโก้ย  หรือ ปาต้องโก๋  ได้รับชัยชนะในครั้งนี้ รับรางวัลที่เงินสด 500  บาท

ด้านนายอำสัน  ตรีสุข  อายุ 52 ปี ผู้จัดการแข่งขัน   กล่าวว่า  การแข่งขันประชันเสียงไก่ขัน มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ตำบลเขาขาวแต่ได้หยุดไปช่วงโควิดระยะหนึ่ง   ก่อนมาจัดขึ้นอีกครั้งเพื่อความสนุกสนานเป็นการอนุรักษ์ไก่แจ้ไว้  ซึ่งการแข่งขันนี้เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในพื้นที่เขาขาวมานาน  โดยไก่แจ้เป็นไก่พื้นเมือง ที่จัดอยู่ในประเภทสัตว์สวยงามอยู่คู่สังคมไทยมาเป็นเวลานาน  บางคนเลี้ยงไว้ดูเล่น   

สำหรับการแข่งขันประชันเสียงไก่ขันเป็น 1 ในกิจกรรม  ภายในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนต้นแบบ  (เทศกาลตำข้าวเม่า ปี 2)   ต.เขาขาว  อ.ละงู  จ.สตูล  ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 สิงหาคม 2567 ณ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล   โดยนายคณิต  คงช่วย  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  เป็นประธานในพิธีเปิดงาน  โดยมี  รศ.ดร.ทัศนา  ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา   นายวรวุฒิ ปาละสัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว   นายจักรพรรณ  วัลแอ   เลขาธิการสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยภาคใต้ , ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จ.สตูล    ส่วนราชการเข้าร่วม  พร้อมมอบรางวัลการประชันเสียงไก่ขันในเวทีนี้

ผศ.ดร.วัชชพงษ์   ชัชวาลย์  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา   กล่าวว่า   ภายในงานเทศกาลต่ำข้าวเม่า   ปี 2 "โครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนต้นแบบ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล   มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ประเพณีท้องถิ่นชุมชนเขาขาว และจัดงานเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นและการประกวดธิดาข้าวเม่าชุมชนเขาขาว ปีที่ 2"    โดยภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดงาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประภาคการศึกษา ที่ได้ผนึกกำลังกันเพื่อนำทุนทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ตำบลเขาขาขาวมาจัดแสดงและประชาสัมพันธ์พื้นที่ให้คนภายนอก   ได้รับรู้ผ่านการจัดงานเทศาล

            การนำเอาศักยภาพของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน รวมถึงการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการระดับพื้นที่บนฐานองค์ความรู้และความเข้าใจในบริบทในเชิงลึก นับเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถของประชาชน เฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการรวมตัวของประชากรทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ในการร่วมคิด ร่วมลงมือพัฒนา เป็นพลังสำคัญในการสร้างโอกาสและความเสมอภาศในสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินการของภาครัฐในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า

              การพัฒนาการท่องเที่ยวระดับชุมชนท้องถิ่นและเชิงพื้นที่ ถือเป็นการวางแผนที่เชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจกับชุมชนแหล่งท่องเที่ยว การนำทุนทางศิลปวัฒนธรรมมาสร้างให้เกิดมูลค่าและคุณค่าใหม่ เป็นการเพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนในทุกระดับเข้ามาเป็นกำลังของการพัฒนา เป็นการสร้างพื้นที่สร้างความเข้าใจและยอมรับถึงคุณค่า และสร้างเป้าหมายหรือร่วมอย่างสร้างสรรค์