สัปดาห์พระเครื่อง / ราม วัชรประดิษฐ์
พระหลวงปู่ทวดเนี้อว่านปี พ.ศ.2497 ได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดของพระเครื่อง ที่มีผู้ ต้องการมากที่สุดประเภทหนึ่งของเมืองไทยแต่ด้วยการแยกออกเป็นหลายแม่พิมพ์ ทำให้ต้องพึ่งพาความชำนาญอย่างมาก ดังนั้น การเสาะหาบูชาจึงต้องรอบคอบและ เข้าใจถึงสภาพมวลสารขององค์พระ และแม่พิมพ์ ซึ่งแยกย่อยไปอย่างหลากหลาย จึงจะได้ของแท้มาครอบครองสมดังใจปรารถนา
แรกเริ่มเดิมทีนั้นจะสร้างเพียง 3 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ กลาง และพิมพ์เล็ก แต่เนื่องจากต้องกดพิมพ์จำนวนมากโดยใช้ผู้กดหลายคนจึงขยายแม่พิมพ์ออกไปมีทั้ง พิมพ์กลักไม้ขีด พิมพ์กรรมการ พิมพ์พระรอด พิมพ์ต้อ และพิมพ์อื่นๆ องค์พระมี หลาก หลายสี ถ้าเป็นกรรมการจะออกสีดำ ส่วนพิมพ์ทั่วไปจะออกสีเทานวล แต่จะ พบเห็น สีแดงนวลบ้างเข้าใจว่าเป็นเพราะผสมว่านสบู่เลือดลงไปมาก
ส่วนพิมพ์ใหญ่นั้นจะแยกเป็นพิมพ์หูขีด เรียกพิมพ์ A พิมพ์ลึกเรียกพิมพ์ B ส่วนพิมพ์ไหล่จุดเรียกพิมพ์ C ส่วนพิมพ์ใหญ่กรรมการเนื้อจะออกเป็นสีดำ และมีความ ลึกชัดกว่าพิมพ์อื่น
พระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน แม่พิมพ์เป็นบล็อกบังคับเฉพาะด้านหน้า และด้าน ขัาง ส่วนด้านล่างเปิดไว้ เพื่องัดพระออกจากแม่พิมพ์จากนั้นจะปาดเก็บงาน ให้เนื้อ ส่วนที่ล้นออกจากแม่พิมพ์ พระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน พิมพ์กรรมการ ส่วนใหญ่มัก จะมีสีดำ เนื้อพระจะมีความละเอียดมากกว่าพิมพ์ธรรมดา และเห็นริ้วรอยจีวรคม ชัดเจน ส่วนด้านหลังจะไม่มีเม็ดแร่มีแนวทางในการ พิจารณาดังนี้
1. เม็ดลูกตาทั้งสองข้างเป็นขีดเส้นขวางแนวนอน
2. แก้มทั้งสองข้างขององค์พระจะมีริ้วปรากฏให้เห็น
3. จะปรากฏริ้วจีวรบริเวณแขนด้านซ้ายขององค์พระ
4. จะปรากฏมีเส้นแตกแนวตั้ง
5.ใต้ฐานองค์พระจะปรากฎร่องรอยของการตัดเศษเนื้อเกินปรากฎให้เห็น ส่วนพิมพ์ด้านหลังมีลักษณะอูมเล็กน้อย มีแนวทางในการพิจารณาดังนี้
1. ใต้ฐานองค์พระ (ก้น) จะมีรอยก้านไม้ไผ่เสียบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ และหดตัวลง แต่บางองค์อาจใช้ก้านธูปเสียบขึ้นมาจากแม่พิมพ์ ทำให้รูมีลักษณะกลม หรือบางองค์ได้รับการตบแต่งจนไม่เห็นรู ส่วนบางองค์ ผู้กดพิมพ์ใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้ บีบสองข้างด้านล่าง บริเวณฐานบัวก็จะไม่มีรู ปรากฎให้เห็น แต่จะเห็นเป็นรอยบีบ เล็กน้อย และมีร่องรอยการตัดเนื้อเกินปรากฎให้เห็น
2. ด้านหลังมักเห็นเป็นรอยนิ้วมือ ไม่มีเม็ดแร่ปรากฎให้เห็น มีลักษณะอูม เล็กน้อย
3. สีของพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่านปี 2497 นั้นมีหลายสี หากเป็นพิมพ์ กรรมการ จะออกสีดํา ถ้าเป็นพิมพ์ทั่วไปจะออกสีเทานวล แต่จะพบเห็นมีสีแดงนวลบ้าง เข้าใจ ว่าเกิดจากผสมว่านสบู่เลือดลงไปในมวลสารมากเกินไป
4. เวลาใช้กล่องส่องดูเนื้อจะพบเห็นเม็ดมีลักษณะคล้ายอิฐแดงบดละเอียดเม็ด เล็กๆปะปนอยู่ในมวลสารมีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นเศษเนื้อสมเด็จหลวงปู่ภูวัดอินทรวิหาร ที่ใช้ตำผสมลงในมวลสาร ส่วนเม็ดแร่สีดำทอง เรียกว่า “แร่กิมเซียว” ซึ่งเข้าใจว่าคุณอนันต์ คณานุรักษ์ นำมาจากเหมือง ผสมเป็นมวลสาร บางองค์เมื่อนำ ออกจากแม่พิมพ์ ก็จะใช้นิ้วกดเม็ดแร่กิมเซียว ฝังไปที่ด้านหลังขององค์พระทีละองค์ แต่จะไม่ค่อยพบเห็นมากในพิมพ์ใหญ่
ข้อมูลทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นแค่แนวทางเบื้องต้นเพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่านเท่านั้นท่านต้องหมั่นศึกษาและจดจำจุดพิจารณาให้ขึ้นใจ และดูพระองค์จริงให้มากๆ ก็จะเกิดความชำนาญ และมีประสบการณ์เพิ่มพูนสร้า งความมั่นใจในการพิจารณามากยิ่งขึ้น ครับผม