สตูล ดึงนักศึกษาชายแดนใต้ มีส่วนร่วม จัดงานกิจกรรมท่องเที่ยว SKRU Camping สุดชิคใน ม.ราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล แคมป์ปิ้ง วัฒนธรรมรำมโนราห์ตัวอ่อน  



วันที่ 12  สิงหาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผศ.ดร.อนุมัติ  เดชนะ  รองอธิการบดี ม.ราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล พร้อมด้วย  อาจารย์ ดร.ทวีสินธุ์  ตั้งเซ่ง  ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตสตูล เปิดเผยว่า ทางราชภัฎสงขลา วิทยาเขตสตูล นำร่องกิจกรรมแคมป์ปิ้ง พักเต้น เน้นของชุมชน ชูลานวัฒนธรรมศิลปะภาคใต้ ดันกิจกรรมนักศึกษา ในพื้นที่ชายแดนใต้ ภายใต้งานโครงการ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรบนฐานการเรียนรู้ โคก หนอง นา  โมเดล เชื่อมรูปแบบแคมปิ้ง  ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา วิทยาเขตสตูล  โดยนายคณิต  คงช่วย  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  เป็นประธานในพิธีเปิด 

บรรยากาศภายในงานมีลานกิจกรรมที่นำการแสดงของเด็กๆนักศึกษาที่เป็นเด็กในพื้นที่ได้มาเรียนกันที่นี่  รวมทั้งจัดเวทีการแสดงออกการร้องเพลง และการร่ายรำศิลปวัฒนธรรม รำมโนราห์ตัวอ่อนเป็นการเปิดพื้นที่ดีๆการกล้าแสดงออก นอกจากนี้มีการขายของจากสินค้า อาหารพื้นถิ่นของชุมชนในพื้นที่นำมาวางขาย และ มีจุดลานกางเตนท์  แคมป์ปิ้ง และมีคาเฟ่กิจรรมมาจัดโชว์ทั้งรถเก่า  ขี่ม้ารอบมหาวิทยาลัย  

ด้าน ผศ.ดร.อนุมัติ  เดชนะ  รองอธิการบดี ม.ราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล กล่าวว่า กิจกรรมนี้เป็นการนำร่องจัดงานครั้งแรก ภายใต้ชื่อว่า SKRU Camping สุดชิคใน ม.ราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล บรรยากาศการตั้งแคมป์ปิ้งในมหาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล  ซึ่งเป็น 1 กิจกรรมในโครงการศูนย์เรียนรู้ เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมขนอย่างยั่งยืน ที่คณะอาจารย์จัดขึ้น  จัดเพียง 1 วัน การนำร่องปีนี้โดยปีหน้าดึงหลายภาคส่วนมาร่วมจัดงานใหญ่กว่าเดิม 

การจัดงานและสัมมนาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบนฐานการเรียนรู้โคกหนองนาโมเดลเชื่อมโยงรูปแบบแคมป์ปิ้งและลานกิจกรรมวัฒนธรรมของนักศึกษาซึ่งจังหวัดสตูลเองนั้น  ทางจังหวัดก็มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนตลอดมา  ซึ่งกิจกรรมนี้ก็สอดคล้องกับยุทธศาสตร์รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอยู่แล้วนั้น  

การจัดงานครั้งนี้จึงเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งบนฐานของการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน  พร้อมทั้งเป็นการสื่อให้เห็นถึงการยกระดับและเพิ่มมูลค่าการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นแคมป์ปิ้งการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและกิจกรรมวัฒนธรรมและการนำเด็กในพื้นที่ชายแดนภาคใต้อย่างดึกสตูลร่วมมีกิจกรรมถือเป็นเรื่องที่ดีและในรูปแบบแคมป์ปิ้งพร้อมกับเป็นการนำอาหารพื้นถิ่นขนมอร่อยของชุมชนมาชูโรงพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืนมีรายได้ต่อไป