ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย บก.ปทส., บก.ทล. ร่วมกระทรวงอุตสาหกรรม ทลายโรงงานเถื่อนลักลอบนำเข้ากากอลูมิเนียมดรอสเครือข่ายนายทุนชาวจีน ปล่อยก๊าซแอมโมเนีย ส่งกลิ่นเหม็น ปวดศีรษะ แสบตา ทำลายระบบทางเดินหายใจ
 
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการตำรวจทางหลวง (บก.ทล.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.คงกฤช  เลิศสิทธิกุล ผบก.ทล., พล.ต.ต.วัชรินทร์ พูสิทธิ์ ผบก.ปทส., พ.ต.อ.แมน เม่นแย้ม, พ.ต.อ.ชาคริต มงคลศรี รอง ผบก.ทล., พล.ต.ต.อริยพล สินสอน ผู้ทรงคุณวุฒิ ตร., พ.ต.อ.มงคล พรานสูงเนิน รอง ผบก.ปทส.,พ.ต.อ.อรุณ วชิรศรีสุกัญยา รอง ผบก.ปทส., พ.ต.อ.ภคพล สุชล ผกก.2 บก.ทล., พ.ต.อ.อภิสัณฐ์ ไชยรัตน์ ผกก.5 บก.ปทส, พ.ต.ท.นโรตม์ ยุวบูรณ์, พ.ต.ท.กฤตย์ ธีรเวศย์สุวรรณ รอง ผกก.2 บก.ทล. และ พ.ต.ท.พรเทพ ชุมแสง รอง ผกก.5 บก.ปทส. ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงนครปฐม นำโดย พ.ต.ต.กล้า สมบัติพิบูลย์ สว.ส.ทล.1 กก.2 บก.ทล., ด.ต.เฉลิม เนียมเมือง, ด.ต.ปริญญา ตะเกิงราช, ด.ต.ชุติเทพ คชพงษ์, ด.ต.รังสรรค์ แปรงกลาง, จ.ส.ต.ทศพล แซ่อึ้ง ผบ.หมู่ ส.ทล.1 กก.2 บก.ทล.เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.5 บก.ปทส. นำโดย พ.ต.ท.ปฐมพงศ์ ทองจำรูญ รอง ผกก.5 บก.ปทส., พ.ต.ต.ธนิสร หุ้ยเวชศาสตร์ สว.กก.5 บก.ปทส., ร.ต.อ.ยุทธการ กาญจนรักษ์กุล รอง สว.กก.5 บก.ปทส.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม นำโดย นายวีระศักดิ์ รันทกิจธนวิชญ์ ผู้ตรวจการกระทรวงอุตสาหกรรม เขตตรวจราชการที่ 2, นายสมพร ทองคำ หัวหน้ากลุ่มดรงงานอุตสาหกรรม และ นายทรงเดช ผ่องฉวี เจ้าพนักงานตรวจโรงงานชำนาญงาน
ร่วมตรวจยึดและตรวจค้น

1. รถบรรทุกกึ่งพ่วง 22 ล้อ ที่บรรทุกถุงบิ๊กแบ็คบรรจุฝุ่นจากหน้าเตาหลอมอลูมิเนียม-ดรอส จำนวน 18 ถุง น้ำหนัก 21,280 กก. ซึ่งสามารถสกัดและตรวจยึดได้บริเวณทางหลวงหมายเลข 325 กม.32 ต.ถนนขาด อ.เมือง จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 10 ส.ค.67 เวลาประมาณ 11.30 น.

2. โรงงานแห่งหนึ่งซึ่งลักลอบเปิดเป็นโรงงานคัดแยกเศษขี้เตาจากการหลอมหล่อเศษอลูมิเนียมโดยไม่ได้รับอนุญาต ตั้งอยู่ใน ต.โพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม ตรวจค้นและอายัดไว้ เมื่อวันที่ 10 ส.ค.67 เวลาประมาณ 15.00 น.

3. บริษัท ไท่ เป่า อลูมิเนียม จำกัด ลักลอบเปิดเป็นโรงงานคัดแยกเศษขี้เตาจากการหลอมหล่อเศษอลูมิเนียมโดยไม่ได้รับอนุญาต ตั้งอยู่ใน ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ตรวจค้นและอายัดไว้ เมื่อวันที่ 11 ส.ค.67 เวลาประมาณ 13.00 น.พฤติการณ์ เมื่อ วันที่ 10 ส.ค. 2567 เวลาประมาณ 11.30 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงนครปฐมกำลังออกตรวจ บนทางหลวงหมายเลข 375 กม.32 ต.ถนนขาด อ.เมือง จ.นครปฐม ได้พบรถบรรทุกกึ่งพ่วง 22 ล้อ บรรทุกถุงบิ๊กแบ็คจำนวนมากผ่านมา ลักษณะต้องสงสัยว่าจะมีการบรรทุกสิ่งของวัตถุอันตราย จึงได้ให้สัญญาณหยุดรถเพื่อขอตรวจสอบ จากการตรวจ ผู้ขับขี่ชื่อ นายปรเมศวร์ฯ อายุ 42 ปี เมื่อตรวจสอบสิ่งของที่บรรทุกมา พบว่าเป็นสิ่งของลักษณะผงสีเทาคล้ายกากอุตสาหกรรมโรงงาน จึงประสานอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐมเพื่อมาตรวจสอบ โดยมี นายทรงเดช ผ่องฉวี เจ้าพนักงานตรวจโรงงาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม เป็นผู้ตรวจสอบ เบื้องต้นยืนยันว่า สิ่งของที่บรรทุก คือ ฝุ่นจากหน้าเตาหลอมอลูมิเนียมตรอส สารวัตถุอันตราย 100097HA ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานการขนส่งจากต้นทางและปลายทาง เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงตำรวจจึงได้ตรวจยึดไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินการตามกฎหมาย

เบื้องต้นนายปรเมศวร์ฯ ให้การว่า ตนได้เห็นประกาศในเฟสบุ๊กว่า โรงงาน ไท่เป่า อลูมิเนียม ประกาศรับสมัครคนรับงานขนส่ง ตนสนใจจึงติดต่อไปและได้ตกลงรับงาน โดยทราบว่าสิ่งของที่จะต้องไปบรรทุก คือ อลูมิเนียมก้อน ใส่บิ๊กแบ็ค โดยในวันดังกล่าว ตนได้ขับรถบรรทุกกึ่งพ่วงไปรับฝุ่นอลูมิเนียมดรอส จากโรงงานแห่งหนนึ่งใน ต.โพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม เพื่อไปส่งที่ โรงงาน ไท่เป่า อลูมิเนียม ในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร จนมาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐมเรียกตรวจสอบ

ต่อมา เวลา 15.00 น. ของวันที่ 10 ส.ค.67 โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงนครปฐม และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.5 บก.ปทส. ได้นำกำลังทำการตรวจค้นโรงงานต้นทางของวัตถุอันตราย ที่ตั้งอยู่ที่ ต.โพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม เมื่อไปถึง พบ นายมาโนชย์ฯ เป็นผู้ดูแลโรงงานดังกล่าว และทำการตรวจค้นร่วมกับเจ้าหน้าที่ ผลการตรวจค้น พบว่ามีการประกอบกิจการโรงงานคัดแยกเศษขี้เตาจากหลอมหล่อและหลอมเศษลูมิเนียม โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเข้าข่ายเป็นโรงงานไม่ได้รับอนุญาต และมีฝุ่นผงสีดำบรรจุอยูในถุงบิ๊กแบ็กเป็นจำนวน 8258 ถุง น้ำหนักรวม 12,327 ตัน โดยหนึ่งในลูกจ้างของโรงงานให้การว่าวัตถุดิบเศษขี้เตาจากการหลอมหล่อดังกล่าว มีกลุ่มนายทุนชาวจีนนำวัตถุดิบมาจากลุ่มโรงงานหลอมหล่อในเขตจังหวัดสมุทรสาคร ที่ตั้งอยู่บริเวณภายในชอยกองพนันพล เฉลี่ยวันละ 2 เที่ยวรถสิบล้อ (ครั้งละประมาณ 10 ตัน) เพื่อมาให้ตนทำการคัดแยกและหลอมเป็นลูมิเนียมเพื่อจำหน่ายต่อไป

ต่อมา วันที่ 11 ส.ค.67 เวลาประมาณ 13.00 น. โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปทส. ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากกระทรวงอุตสาหกรรม และตำรวจทางหลวงนครปฐม ได้นำหมายค้นจากศาลจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเข้าตรวจค้น บริษัท ไท่ เป่า อลูมิเนียม จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานปลายทางที่รถบรรทุกกึ่งพวกที่ถูกตำรวจทางหลวงจตรวจยึดจะนำถุงบิ๊กแบ๊คบรรจุกากอุตสาหกรรมไปส่ง ตั้งอยู่ใน ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร โดยผลการตรวจค้น พบว่ามีการประกอบกิจการโรงงานคัดแยกเศษขี้เตาจากหลอมหล่อและหลอมเศษลูมิเนียม โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเข้าข่ายเป็นโรงงานไม่ได้รับอนุญาต และมีฝุ่นผงสีดำบรรจุอยูในถุงบิ๊กแบ๊คเป็นจำนวน 9,676 ถุง น้ำหนักรวม 2,100 ตัน โดยพบว่า บริษัท ไท่ เป่า อลูมิเนียม ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการหลอมอลูมิเนียมจากตะกรัน จึงเข้าข่างเป็นการประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
ซึ่งจากการตรวจสอบทั้ง 2 โรงงานพบว่ามีการปล่อยมลพิษทั้งทางน้ำและอากาศ ที่เกิดจากการคัดแยกเศษขี้เตาจากหลอมหล่อและหลอมเศษลูมิเนียมดรอส โดยอะลูมิเนียมดรอสเมื่อสัมผัสกับน้ำหรือความชื้นในอากาศ จะเกิดแก๊สแอมโมเนียซึ่งส่งกลิ่นเหม็น ในพื้นที่ใกล้เคียงโรงงาน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดฝุ่นพิษและอาจปะทุเกิดไฟไหม้ขึ้นได้ ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของคนและสิ่งมีชีวิต รวมทั้งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอันตรายจากการได้รับสารแอมโมเนีย

การสูดดมก๊าซแอมโมเนียที่มีความเข้มข้นสูง จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการไอ หายใจมีเสียงหวีด หายใจถี่ และแน่นหน้าอก การได้รับสารที่มีความเข้มข้นสูงเป็นเวลานานอาจทำให้ปอดถูกทำลายและการหายใจล้มเหลว

นอกจากนี้ก๊าซแอมโมเนียยังสามารถระคายเคืองและทำลายดวงตา ทำให้น้ำตาไหล ตาแดง และกระจกตาไหม้ได้ หากสัมผัสกับแอมโมเนียสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง การเผาไหม้ ของสารเคมี และผิวหนังอักเสบพิษของ สารแอมโมเนียกับสิ่งแวดล้อม

 

พิษต่อสิ่งแวดล้อม หากมีการปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ จะทำให้ค่าความเป็น กรด-ด่าง (pH) ของน้ำสูงขึ้น ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) ลดลง ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง หรือหากมีการปนเปื้อนในอากาศ จะเปลี่ยนเป็นสารประกอบ กลุ่มไนโตรเจน NOx และละอองไอแอมโมเนีย มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะได้

พิษต่อ สัตว์ และสัตว์น้ำ แอมโมเนียที่พบในแหล่งน้ำจะเกิดจากการย่อยสลายอินทรีย์ไนโตรเจน  ปุ๋ย และเศษอาหาร จนกลายเป็นแอมโมเนียอิสระ (NH3) และเมื่อสัตว์น้ำสัมผัสกับแอมโมเนียอิสระ 1 ถึง 2 มิลลิกรัม/ลิตร นาน 1 ชั่วโมง มักทำให้สัตว์น้ำตายอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากระดับแอมโมเนียในกระแสเลือด และเนื้อเยื่อสูงขึ้น ทำให้ค่าความเป็น กรด-ด่าง ในเลือดจึงสูงขึ้น ส่งผลต่อปฏิกิริยาชีวเคมีทำงานผิดปกติ ลดความสามารถในการลำเลียงออกซิเจน และทำให้เสียชีวิตในที่สุด

พิษต่อสุขภาพ แอมโมเนียมีฤทธิ์กัดกร่อน และทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังที่สัมผัส การสัมผัสกับแอมโมเนียเข้มข้นทำให้เกิดเวียนศีรษะ ตาลาย และเกิดอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึงการสูดดมเข้าระบบทางเดินหายใจจะทำให้เกิดการระคายเคืองเนื้อเยื่อ มีอาการแสบร้อนหากสูดดมเพียงเล็กน้อยจะทำให้น้ำตาไหล แต่หากสูดดมมากจะออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ เสี่ยงต่อหัวใจวายได้ง่าย