เมื่อวันที่ 4 ส.ค.67  ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต กรรมการและรองเลขาธิการมูลนิธิสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล โพสต์ภาพ "ทองแถม นาถจำนง" และภรรยา พร้อมระบุข้อความว่า "สุดเหงา-เสน่หา:สรรพสิ่งคือหนึ่งเดียว 《齐物论》"

พี่โชติมีคู่ชีวิตที่ดีมากคือพี่วนิดา ที่ดูแลทุกข์สุขแม้หลายอย่างพี่โชติมักทำให้พี่ดารำคาญเพราะความเป็นศิลปินและรักเพื่อนฝูงน้องนุ่งที่เกื้อกูลประหนึ่งญาติสนิท

อดีตสหายโชติออกจากป่าสู่เมืองมาทำงานที่กระทรวงยุติธรรมใจปรารถนาจะเป็น"กวี" ตั้งแต่แรกเริ่มรู้หนังสือด้วย"เฒ่าปึก บีโทเฟน" ผู้เป็นพ่อเป็นนักเลงหนังสือตัวฉกาจจึงมีหนังสือให้ลูกชายคนเล็กนามเล่นว่า"แหม" ได้อ่านอย่างรื่นรมย์พร้อมกับรู้บรรยากาศของวงเหล้า

แต่เรื่องนักรักนั้นเขาสู้พ่อไม่ได้อย่างมวยคนละชั้นเพราะจำภาพสาวมอญคนสวยนาม"ทองเติม" ผู้เป็นแม่น้ำตกเพราะความใจกุศลเมตตาเจ้าเสน่ห์บีโทเฟนวัดลิงขบอย่างบ่อยครั้ง

พี่โชติพบกับพี่วนิดาครั้งแรกที่ร้านเกยหาดในซอยจรัญแถวบ้านของหมอโชติซึ่งเป็นร้านของพี่วนิดาซึ่งงานหลักพี่ดาเป็นเจ้าหน้าที่การบัญชีของกรมอู่ต่อเรือกองทัพเรือ

เมื่อเลิกงานพกเหล้ามาหนึ่งกั๊กเปิดเมนูอาหารเพราะเจ้าตัวเคยบอกว่าใช้ชีวิตที่เหลือหลังออกจากป่าสู่เมืองคือกำไรผ่านความตายมาได้(ผมฟังแล้วอดขำไม่ได้ว่าพี่พูดราวกับ"ไอ้ลอย" ในเรื่อง"หลายชีวิต" ของอาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์เลยว่ะ)

เมนูที่เป็นเหตุให้รู้จักเมื่อหนุ่มหล่อผมดกดำเปิดเห็น"ยำนกเขา" ดูแล้วน่าจะเป็นเมนูแก้มเหล้าคิดประสาซื่อลืมนึกว่าร้านอาหารมักตั้งชื่อให้ลูกค้าอยากลิ้มลองเช่น หนุมานทรงเครื่อง(ปลาร้าสับ), สนั่นทุ่ง(กบทอด), ซุปเปอร์ลูกทุ่ง(ต้มตีนไก่)​เป็นต้น เมื่ออาหารตามเมนูที่มาเสริฟถึงโต๊ะเหล้าโซดาพร้อมยำนกเขากลายเป็น"ยำมะเขือเผา"เล่นเอาผู้สั่งเสียอารมณ์เรียกเจ้าของร้านมาตำหนิว่าหลอกลวงลูกค้านึกว่ามีนกเขาเป็นตัวๆยำรสเด็ดแกล้มเหล้าให้สาใจกลายเป็นมะเขือเผาไปได้ แต่เรื่องราวก็จบด้วยดีและเป็นเริ่มต้นของลูกค้าประจำหลังเลิกงาน

พี่วนิดามีน้องเขยชื่อธำรงค์ศักดิ์เป็นแฟนพี่ภาวินีหน้าตาละม้ายคล้ายกันมากแต่พี่ธำรงค์ศักดิ์ภายหลังกลุ่มชมรมวันศุกร์เรียกขานว่า"ป๋าดิ" หรือ"ป๋าดิลก" สมญานามที่พี่ตี๋-ปรีชา นักข่าวหน้ากีฬาสยามรัฐเป็นผู้ตั้งให้ประมาณ"ป๋าคาแฟ่" อะไรทำนองนี้

ป๋าดิมีเพื่อนรักเรียนเป็นนิสิตจุฬาด้วยกันเป็นครูสอนศิลปะอยู่โรงเรียนศรีสงคราม อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลยเริ่มมีชื่อในเมืองไทยและไปไกลถึงเมืองนอกนามว่า" สังคม ทองมี" ครูสีงคมที่สอนศิลปะเมื่อเข้ากรุงเทพฯก็แวะเวียนมาหาเพื่อนรักซึ่งเป็นข้าราชการประจำอยู่กระทรวงศึกษาธิการเย็นย่ำก็หาอะไรกินประสาเพื่อนฝูงก็แวะมาร้านเกยหาดของพี่วนิดาอยู่บ่อยครั้งและเป็นพี่วนิดานี่แหละเอ่ยปากชักชวนทั้งสองคนว่าอยากให้รู้จักลูกค้าประจำมานั่งกินบ่อยคนเดียวสั่งอาหารกินเหล้าหมดกั๊กก็เดินกลับบ้านไม่รู้ชื่อเลยเรียกเป็นรกัสว่า"สุดเหงา"

"สุดเหงา" จึงเป็นชื่อที่น่ารู้กันสามคนพี่วนิดาน่าจะได้มาจากเพลงสุดเหงาของทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาลเพราะพี่ดาเป็นคนชอบร้องเพลงและร้องเพลงดีเสียด้วย จนกระทั่งเทพบุรุษสุดเหงาได้เพื่อนร่วมดื่มจนจฝสนิทเข้าใจเหมือนอย่างศิลปะที่ส่องทางหากันในวงมิตรน้ำดื่มอย่างปราชญ์ผู้เข้าใจโลกจนกระทั่ง100วันของการรู้จักกันของพี่โชติและพี่วนิดารำมาสู่งานมงคลสมรสที่ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ถนนราชดำเนินโดยมีของที่ระลึกงานแต่งงานเป็นหนังสือที่เจ้าบ่าวแปลบทกวีจีนว่า"เพลงรัก" โดยสำนักพิมพ์ดอกหญ้าเป็นผู้สนันสนุนการจัดทำ(เพลงรักถูกนำมาแปลเป็นภาษาไทยอีกสำนวนของพี่หมึก-ทวีวร-ทวีป วรดิลก)​และหนัฃสือเล่มนี้หมอโชตินำมาพิมพ์ใหม่ในนามสำนักพิมพ์แม่โพสพเมื่อครบรอบวันแต่งงาน20ปึ

วันแต่งแขกต่างเชียร์ให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวร้องเพลงหนึ่งในเพลงที่ถูกขอเป็นผลงานซึ่งเป็นเพลงยอดนิยมงานแต่งงานคือเพลง"เสน่หา" ผลงานครูมนัส ปิติสาสน์ งานนี้ไม่ง่ายเพราะเจ้าย่างเพิ่งออกจากป่าไม่นานคุ้นเคยแต่เพลงในป่าและเพลฃฝรั่งที่เคยฟังหันไปถามเจ้าสาวว่ามันคือเพลงอะไร555โชคดีที่เจ้าสาวร้องเพลงเก่งร้องเพราะและร้องได้จึงรอดตัวไป

พี่โชติกับพี่ดาครองคู่กันจนมีลูกสามคนหญิงสองชายหนึ่งโตเป็นผู้ใหญ่กันหมดมีหลานปู่-ย่าผู้ชายกำลังน่ารักได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบันประทานนามว่า"อัศโชติ" ถูกใจผู้ปู่ยิ่งนักเพราะเหมือนเอาชื่อพี่ชายอันเป็นที่รักยิ่ง"อัศศิริ ธรรมโชติ" สมาสกับ"โชติช่วง นาดอน" เป็น"อัศโชติ" และหลานก็เป็นหนึ่งแรงใจให้เขามีแรงอยู่ยาวมาจนถึงวาระสุดท้ายที่หมดอายุกรรมประหนึ่งผี้สื้อจวงจื่อบินกลัยสู่การแปรเปลี่ยนของสรรพสิ่งโดยมีพี่วนิดาภรรยาคู่ชีวิตที่ทันอยู่ดูใจสามีอันเป็นที่รักยิ่งแม้ลูกทั้งสามเพื่อนพ้องน้องพี่ตั้งใจจะนัดกันมาเยี่ยมในวันรุ่งพรุ่งนี้ผีเสื้อตัวนั้นได้จากไปในคืนฝนพร่ำที่กงล้อจักรวาลแห่งเอกภาพกำลังเคลื่อนโคจรสู่อีกวัน

หมอโชติเคยกล่าวถึงผู้หญิงคนนี้ถ้าไม่เขาเราคงเมาตายไม่ได้เขียนงานอะไรขนาดนี้เป็นเขาเป็นกำลังหลังบ้านสำคัญของชีวิตแม้ไม่สวยงามเลิศเลอแต่เป็นคนจิตใจดีงาม

“ข้าจะรู้ได้อย่างไรว่าชีวิตอันน่าพิสมัยนั้นไม่ใช่มายาภาพ? ข้าจะรู้ได้อย่างไรว่าการหลีกหนีความตายอันน่าชิงชังนั้นไม่ผิดอะไรกับชายผู้ซึ่งเดินทางออกจากบ้านไปเมื่อวัยเยาว์ และได้หลงลืมเส้นทางกลับสู่บ้านเกิด?

ภาพเมื่อครั้งไปร่วมงาน100ปีชาตกาลม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติปักกิงประเทศจีน

ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต - มหา สุรารินทร์

ขอบคุณ เฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต