ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ / ทหารประชาธิปไตย
สหรัฐฯโดยกระทรวงการต่างประเทศ ได้ประกาศนโยบายว่าด้วยยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศในด้านไซเบอร์สเปซ และดิจิทัลเทคโนโลยี โดยรัฐมนตรีต่างประเทศแอนโธนี บลิงเกน ได้แถลงในที่ประชุม International Security Conference เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ในแคลิฟอร์เนีย
เป้าหมายหลักคือการรวมพลังกับพันธมิตรในเรื่องดิจิทัล ในแถลงการณ์ของบลิงเกน กล่าวว่า การรวมพลังกันทางดิจิทัลนั้น ตรงข้ามกับการกำหนดอธิปไตยเหนือเทคโนโลยีดิจิทัล
เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นไร้พรมแดน สหรัฐฯจึงจะใช้ความได้เปรียบทางเทคโนโลยีนี้แผ่อิทธิพลไปทั่วโลก
ดังนั้นสหรัฐฯจึงเริ่มดำเนินการในการสร้างพันธมิตรด้วยการทำสัญญาทวิภาคีกับประเทศต่างๆ โดยเป้าหลักคือหากมีการโจมตีทางไซเบอร์สหรัฐฯ และพันธมิตรก็จะร่วมกันตอบโต้ เช่นเดียวกับการถูกโจมตีโดยอาวุธ
ทั้งนี้เป้าหมายของสหรัฐฯจึงพุ่งไปที่ “Criminal And Hostile Actors” คืออาชญากรและศัตรู ซึ่งโดยรูปธรรมหมายถึงจีน รัสเซีย อิหร่าน และเกาหลีเหนือ
รัสเซียถูกกล่าวหาว่าใช้ขบวนการทางไซเบอร์ ทำจารกรรมต่อสหรัฐฯ และปกป้องอาชญากรรมทางไซเบอร์เพื่อทำให้สหรัฐฯและพันธมิตรอ่อนแอ จีนถูกกล่าวหาว่ามีการกระทำโดยใช้ระบบไซเบอร์อย่างเป็นล่ำเป็นสัน ต่อทั้งภาคเอกชนและภาครัฐของสหรัฐฯ
สหรัฐฯจึงมีนโยบายที่จะขยายขอบเขตของกิจกรรมทางไซเบอร์สเปซ ไปอย่างไร้พรมแดน โดยอาศัยภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพในการวิจัยพัฒนาและพัฒนาขีดความสามารถได้อย่างสูงสุด
ดังนั้นจึงเปิดช่องทางให้ภาคเอกชนเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล และไปกระจุกตัวอยู่กับบริษัทยักษ์ใหญ่เพียง 5 บริษัท นั่นคือ ไมโครซอฟท์ แอปเปิล เฟซบุ๊ก (เมตา) อเมซอน และกูเกิล ที่มีอิทธิพลต่อผู้ใช้นับพันล้านคน
บริษัทเหล่านี้มีมูลค่าใหญ่โตมากกว่าสถาบันธนาคารอย่าง JP Morgan ซึ่งถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 1 ของธนาคาร ยังมีมูลค่าเพียง 1 ใน 5 ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์
นอกจากนี้บริษัทเหล่านี้ยังผนึกกำลังกับบริษัทการเงินยักษ์ใหญ่อย่าง Black Rock ,Vanguard , Fidelity และ State Streetเพื่อเพิ่มพลังในการครอบงำ
และ แม้ดูเหมือนไม่เกี่ยวกันแต่ธนาคาร 5 อันดับแรกก็มีส่วนเกี่ยวพันโดยผู้บริหารที่มีโยงใยกับตระกูลรอธไซส์ หัวหน้าขบวนการไซออนิสต์ใหญ่ที่มีฐานอยู่ที่ City Of Londonเป็นผู้บงการเหนือระบบการเงินโลก
เมื่อมองอย่างนี้สหรัฐฯ โดยที่มีบริษัทเหล่านี้เป็นกลไกเมื่อรัฐบาลเดินหน้าสร้างพันธมิตร มันก็คือการสร้างระบบควบคุมโลกทางไซเบอร์สเปซนั่นเอง
แต่เอาเข้าจริงกลุ่มธุรกิจเหล่านี้กลับมีอิทธิพลเหนือรัฐบาลและกลับมามีบทบาทควบคุมรัฐบาลเสียเอง ทั้งการคลัง คือ คุม สส.และ สว. ตลอดจนประธานาธิบดี และยังควบคุมการเงิน คือ Federal Reserve System ซึ่งคือ Cartel ทางการเงินของกลุ่มธนาคาร ดังนั้น FED จึงไม่ใช่ธนาคารกลางของรัฐบาลเหมือนประเทศอื่นๆทั้งโลก
โดยรวมแล้วธุรกิจไอทียักษ์ใหญ่ จึงมีระบบการสั่งการ ที่ควบคุมธุรกรรมต่างๆทั่วโลกเสรี
ในขณะเดียวกันบริษัท IT ยักษ์ใหญ่ทั้ง 5 นั้น นอกจากจะควบคุม Platform ในการทำธุรกรรมทั่วโลกเสรีแล้ว ยังควบคุมคลังเก็บข้อมูล โดยได้พัฒนาไปสู่ระบบ Cloud ที่สามารถเก็บข้อมูลมหาศาล และนั่นทำให้บริษัททั้ง 5 มีอำนาจควบคุมข้อมูล ที่อาจให้รัฐบาลของตนในเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคง หรืออาจจะขายข้อมูล เพื่อผลประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งการเข้าแทรกแซง ในการเลือกตั้งอันเป็นบันไดไปสู่อำนาจทางการเมืองที่ควบคุมประเทศ
ดังนั้นในสหรัฐฯประธานาธิบดี คนใดต้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อลดอำนาจของธูรกิจเหล่านั้นที่มีอำนาจเป็น Deep State เขาคนนั้นก็อาจจะถูกสังหารได้อย่างจอห์น เอฟ. เคนเนดี ซึ่งตอนนี้ทรัมป์ก็เริ่มอยู่ในจุดอันตราย เพราะได้วิพากษ์วิจารณ์ FED และปรารภว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับ ซึ่งนั่นถือเป็นจุดศูนย์รวมพลังอันหนึ่งทางการเงินของขบวนการ Deep State ของขบวนการยิวไซออนิสต์
ในอีกด้านหนึ่งระบบสั่งการที่รวมศูนย์อยู่ที่ระบบการสั่งการทาง IT ก็เป็นจุดสำคัญที่ในที่สุดก็ถูกท้าทายโดยการปฏิบัติการ “จอสีน้ำเงิน” นั่นคือการทำให้ระบบสั่งการหยุดชะงัก “Control System Disruption” ทำให้หลายฝ่ายตระหนกตกใจ การบริการหลายชนิดตั้งแต่การบิน การโรงแรม โรงพยาบาล ธนาคาร ตลอดจนบริการต่างๆทางสาธาณะในโลกตะวันตก และพันธมิตรต้องหยุดชะงัก เป็นเวลาหลายสิบชั่วโมง
แต่รัสเซีย จีน เกาหลีเหนือ และอิหร่าน ที่มีระบบภายใต้การควบคุมของตนเองและมีอำนาจอธิปไตยเหนือระบบการสั่งการของตน รวมทั้ง Plat Form ต่างก็ไม่มีปัญหาในการทำธุรการผ่านระบบ IT ของตน
ตัวอย่างดังกล่าวของการมีอำนาจอธิปไตยในระบบการสั่งการและ IT ของตนเองจึงทำให้ประเทศเหล่านั้นไม่เกิดผลกระทบอะไรต่อการทำสงครามไซเบอร์ และมีอธิปไตยในการเก็บรักษาข้อมูลเพื่อความปลอดภัยของธุรกิจหรือความมั่นคงของชาติ
นอกจากเป็นอิสระจากการครอบงำทางระบบการสั่งการทางไอทีของรัสเซีย รัสเซียยังย้อนศรนำเอาระบบ “Network Centricity ไปโจมตีและแฮกข้อมูลจากระบบโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์การสื่อสาร ซึ่งยูเครนและนาโตอาศัยเครือข่ายของ Star link ดาวเทียมของอีลอน มัสก์ ทำให้รัสเซียได้เปรียบในการทำสงครามกับยูเครน
ด้วยประเด็นต่างๆที่กล่าวมาแล้ว การสร้างอธิปไตยบนระบบ IT ของตนเอง จึงน่าจะเป็นมาตรการที่ดีกว่าในยุคปัจจุบันที่สหรัฐฯ พยายามใช้ระบบไร้พรมแดน เพื่อชิงความได้เปรียบในการสั่งการของระบบและ Plat Form ที่ขยายตัวอย่างไร้พรมแดน
แม้จะมีระบบการป้องกันการโจมตี ในระบบเพื่อ Security ของโปรแกรม แต่ระบบป้องกันไวรัส ย่อมจะต้องถูกท้าทายและถูกเจาะระบบได้ ด้วยพัฒนาการทางเทคโนโลยี
ประเทศไทยเป็นแต่ผู้ใช้ แต่ไม่มีหน่วยงานที่จะคอยติดตามควบคุมดูแล ปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์สเปซ จึงทำให้เราอยู่บนความเสี่ยงของระบบที่อาจล่มได้ไม่ช้าก็เร็ว แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครให้ความสนใจ ด้วยยังไม่เห็นโลง จึงยังไม่หลั่งน้ำตา