รอง สสจ.กาญจน์ร่วมประชุมศูนย์ปฏิบัติการติดตามเร่งรัดการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 8
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 09.30 น.ของวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ที่ ห้องประชุมมณีเมืองกาญจน์ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี
พร้อมด้วย นายนิสิต จงศุภวิศาลกิจ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี พล.ต.ต.นครินทร์ สุคนธวิท ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี นายทัศน์พงษ์ วัฒนายากร ผู้อำนวยการสำนักงาน ปปส. ภาค 7 นางตะติมา นุ้ยฉิม ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติและยุติธรรมจังหวัดกาญจนบุรี นางสาวเสาวลักษณ์ กิตติธนานุรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์ข่าวและเฝ้าระวัง นางทิพวันย์ เฑียรฆโรจน์ สาธารณสุขอำเภอห้วยกระเจา
ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมศูนย์ปฏิบัติการติดตามเร่งรัดการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 8/2567 โดยมี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ฯ ผ่านระบบออนไลน์ด้วยระบบ Cisco WebEx
ในการประชุมมีการชี้แจงเรื่องสถานการณ์ข่าวเกี่ยวกับยาเสพติดประจำสัปดาห์ ผลการดำเนินงานด้านการปราบปราม วันที่ 1 มิถุนายน - 28 กรกฎาคม 2567 ผลการจับกุมข้อหาร้ายแรง / ข้อหาสมคบและสนับสนุน/ การตรวจสอบทรัพย์สิน ผลการดำเนินงานต่อเครือข่ายรายสำคัญและเจ้าหน้าที่รัฐ สถิติข่าวผลกระทบจากการใช้ยาเสพติด และ การรับแจ้งเหตุเกี่ยวกับจิตเวชผ่าน สายด่วน 191 ผลการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การนำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัด / ผลการดำเนินงานตามโครงการชุมชนล้อมรักษ์/ การนำผู้เสพที่มีอาการทางจิตเข้าสู่กระบวนการบำบัด (ระบบ HDC และ บสต.) ผลการดำเนินงานศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ผลการดำเนินงานตามโครงการชุมชนบำบัดอย่างยั่งยืน ในพื้นที่แพร่ระบาดยาเสพติดตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล การนำผู้เสพในระบบคุมประพฤติเข้าสู่กระบวนการบำบัด การจัดระเบียบสังคม และ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ผลการดำเนินงานด้านบริหารจัดการ
จากนั้นจังหวัดกาญจนบุรีมีการรายงานผลการปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างหรือข้อเสนอแนะ ในส่วนของสาธารณสุขได้ชี้แจงการดำเนินงาน โครงการป้อนยา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งได้รับความร่วมมือกับหลายหน่วยงานด้วยกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม 1. ประชาชน/ ทีมศป.ปส.อ.ห้วยกระเจา การค้นหากลุ่มเสี่ยงด้วย 5 สัญญาณเตือนแจ้งเหตุใน SMI-V SCAN จนท.ตำรวจ/พนักงานฝ่าย ปกครอง/จนท.รพ.สต. ประสานส่งต่อรพ. 2. สถานพยาบาล (รพ./รพ.สต.) ประเมินอาการทางกาย/จิต ประสานส่งต่อเมื่อเกินศักยภาพในการรักษา ส่งต่อผู้ป่วยให้ทีมชุมชน 3. อปท./พช./พชอ. ให้ความช่วยเหลือด้าน คุณภาพชีวิต ฟื้นฟูสภาพร่างกาย/จิตใจ ผู้ป่วยและครอบครัว 4. ทีมชุมชน (อสม./ผู้นำ ชุมชน/รพ.สต.) ให้ความรู้แก่ครอบครัว/ ญาติ สร้างเข้าใจ/ทัศนคติ ผู้เสพคือผู้ป่วย กำหนดทีมดูแล (ป้อนยา)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง ได้รับการคัดกรอง ส่งต่อเพื่อเข้ารับการวินิจฉัย และเข้าสู่กระบวนการรักษาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตจากยาเสพติด ได้รับการดูแล ต่อเนื่อง สามารถอยู่ในชุมชนได้ไม่กลับมามีอาการกำเริบ หรือไม่ ก่อความรุนแรงซ้ำ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น