แม้ว่าวันนี้สามารถเข้าไปนั่งในสภาแล้ว แต่เรื่อง วุฒิการศึกษาของ "หมอเกศ" หรือ พญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย ยังคงเป็นเรื่องที่หลายคนจับตาและให้ความสนใจ

ล่าสุด ศาสตราจารย์ ดร.ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ภาพเอกสารพร้อมข้อความระบุว่า  ชัดเจนมาก

เนื่องจากไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย แต่เขียนอะไรไปควรรับผิดชอบตรวจสอบ จึงไปค้นเอกสารใบสมัครสมาชิกวุฒิสภามาดูว่ามีการลงนามรับรองข้อมูลของผู้สมัครหรือไม่ตามที่เคยสงสัยและเขียนในบทความแรก

ในใบสมัครสมาชิกวุฒิสภา มีการให้กรอกวุฒิการศึกษา รับรองคุณวุฒิต่างๆ และลงนามรับรองข้อมูล(ว่าเป็นจริง) มีคำยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ และมีบทลงโทษที่ชัดเจนหากมีการตรวจสอบว่าคุณสมบัติไม่ถูกต้องตามที่ให้ไว้

หลังจากเป็น "ตัวแทนหมู่บ้าน" ในการเขียนอธิบายในมุมนักวิชาการมา 3 วันแล้ว (และยังคงมีคนแชร์บทความอย่างไม่หยุดหย่อน) ขอใช้โอกาสนี้ส่งไม้ต่อให้นักวิชาการด้านกฏหมาย หรือฝ่ายกฏหมายของประเทศ รวมทั้ง กกต. ดำเนินการต่อเพราะตนเองไม่มีความรู้ในเรื่องกฏหมายจริงๆ

ถึงเวลาที่นักกฎหมายของประเทศจะต้องออกมาช่วยชาติกันแล้วกระมัง

ประชาชนคนในชาติที่จ่ายภาษีและใช้ภาษีกำลังได้รับความเสียหายและเสียใจกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ลูกสาวที่บ้าน(อายุจะ 17 ปี)ยังบอกว่า "แม่! นี่ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวหรือข่าวฉาวในวงการบันเทิงที่จะใช้ความนิ่งแก้ปัญหา รอให้คนลืมเพราะยังไงมันก็คือเรื่องของเค้า แต่นี่มันคือเป็นเรื่องของประเทศชาติเพราะตำแหน่งนี้และคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เค้าใช้เงินภาษีของประชาชน!"

นอกจากนี้ยังมีชาวเน็ตเข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มอีกว่า  "ขออนุญาติเเชร์ความเห็นค่ะ เราเป็นผู้สมัคร สว รอบที่ผ่านมาเช่นกัน Step ของการยื่นใบสมัคร จะต้องมีผู้รับรอง (1 ท่าน + พยานอย่างน้อย 1 ท่าน) รายละเอียดระบุว่า (ซึ่งก็เป็น Sense ทั่ว ๆไป)

"ผู้ใดรับรอง หรือเป็นพยานซึ่งลงลายมือชื่อรับรองเอกสารหรือหลักฐานที่ใช้ประกอบการรับสมัครเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เเละให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 5 ปี (มาตรา 75)”

ตอนที่ตัวเราเองจะให้ผู้รับรอง และพยาน ซึ่งเป็นรุ่นพี่มหาวิทยาลัยที่สนิทกัน มาเซ็นต์รับรอง (1 ท่าน) + พยาน (1 ท่าน) วิญญูชนทั่วไป (ความเห็นส่วนตัว) ถึงแม้ว่า เรามั่นใจ 100% ว่า ข้อความใด ๆ ในใบสมัครมีความถูกต้อง ยังมีความเกรงใจรุ่นพี่ที่จะต้องมารับภาระความเสี่ยง (โดยทางอ้อม) โดยไม่จำเป็นด้วยซ้ำ ไม่ต่างจากการเซ็นต์เป็นพยาน หรือผู้รับรอง ในกรณีอื่นๆ"

 

 

 

ขอบคุณ เพจ อาจารย์ปังปอนด์