โลกได้ก้าวสู่โลกปัญญาประดิษฐ์ AI ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกแง่มุมของชีวิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU) เล็งเห็นถึงความสำคัญของทักษะการใช้ AI จึงได้ริเริ่มจัดการแข่งขัน SPU AI Prompt Mini Hackathon: Unlock Your Coding ครั้งที่ 2 ขึ้นเพื่อปลุกพลังเยาวชนรุ่นใหม่ให้ตระหนักถึงศักยภาพของ AI และเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสในอนาคต
เวทีนี้ เปรียบเสมือนสังเวียนเยาวชนจากทั่วประเทศกว่า 380 คน จาก 127 ทีม ต่างทุ่มเทความสามารถ แสดงฝีมือการเขียน Prompt หรือ คำสั่ง ที่ขับเคลื่อน AI ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนให้เห็นถึงทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์การแข่งขันครั้งนี้เปิดเวทีให้กับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษาจากทั่วประเทศ แสดงฝีมือการเขียน “คำสั่ง” ที่ขับเคลื่อนให้ AI ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนให้เห็นถึงทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชน เวทีนี้ไม่ได้เป็นเพียงการแข่งขันเท่านั้น แต่เป็นเวทีที่รวมพลังเยาวชนผู้ใฝ่รู้ ใฝ่ฝัน และมุ่งมั่นที่จะสร้างอนาคตที่ดีกว่า ผ่านพลังแห่งปัญญาประดิษฐ
การแข่งขันครั้งนี้ ไม่ได้มอบเพียงเงินรางวัล แต่เหล่าผู้เข้าร่วมยังได้รับประสบการณ์และทริกในการเขียน คำสั่ง และการแก้ปัญหา คำสั่ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดช่วยให้การทำงานที่ดีขึ้น น้องแฟรงค์ นายจีรพงษ์ ระภูริวัฒน์ ชั้น ม.6 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี หนึ่งในทีมที่ชนะการแข่งขันจากทีม Deno
"การเข้าร่วมครั้งนี้ ได้มากกว่าเงินรางวัล ผมได้เรียนรู้ทริคการเขียน Prompt จาก "ตัวจริง" ทีมโค้ช จาก Super AI Engines รวมเอาผู้เชี่ยวชาญด้าน AI หน่วยงานขับเคลื่อนกำลังคนด้าน AI ภาพใต้สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AiAT) และโค้ชจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ SPU ทักษะเหล่านี้ ช่วยให้สามารถเขียน Prompt ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผมมองว่า AI เป็นทักษะที่สำคัญ เปรียบเสมือนเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น ช่วยลดเวลาการทำงาน ทำให้สามารถทำงานได้เพิ่มขึ้น แต่ได้ประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น”
น้องแฟรงค์ เปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า ก่อนมี AI ผมยังใช้ขวานตัดไม้ ใช้เวลานาน ยิ่งตัดยิ่งไม่มีคุณภาพ แต่เมื่อ AI มามีเลื่อยไฟฟ้าในการตัดไม้ ตัดไม้ได้เร็วขึ้น ได้จำนวนมากขึ้น และได้คุณภาพ เขาตั้งใจจะนำ AI ผู้ช่วยในการสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองในอนาคต เพราะเชื่อว่าการเข้าถึง “ขุมทรัพย์” และกลั่นให้ได้ข้อมูลที่มีศักยภาพ จะช่วยให้การทำธุรกิจประสบสำเร็จและเติบโตไปได้
ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน จะได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ ในการใช้คำสั่ง AI เป็นตัวช่วยวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ การแข่งขันนี้ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ แยกแยะประเด็นสำคัญ หาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล และคิดหาวิธีแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ในเวลา 6 ชั่วโมง ได้เรียนรู้การใช้ AI แก้ปัญหาจริงผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้วิธีการใช้ AI แก้ปัญหาจริงในสถานการณ์ต่างๆ พัฒนาทักษะการเขียน Prompt หรือคำสั่ง และเข้าใจถึงศักยภาพและข้อจำกัดของ AI ช่วยพัฒนาทักษะการเขียน Prompt หรือคำสั่ง การแข่งขันนี้ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาทักษะการเขียน Prompt หรือคำสั่งที่ชัดเจน ตรงประเด็น และสามารถขับเคลื่อน AI ให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง และยังแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ ผู้เข้าร่วมจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และมุมมองเกี่ยวกับการใช้ AI กับผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ
“แม้ AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายๆ ด้าน แต่ AI ไม่ได้มาแทนที่มนุษย์ การมาของ AI ว่าเหมือนกับ "การมาของรถยนต์" ที่เข้ามาแทนที่ "ม้า" ในการเดินทาง ในอดีต อาชีพเกี่ยวข้องกับม้า เช่น คนเลี้ยงม้า คนฝึกม้า คนขับม้า ล้วนได้รับผลกระทบจากการมาของรถยนต์ แต่ในขณะเดียวกัน ก็เกิดอาชีพใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ขึ้นมา เช่น ช่างซ่อมรถ พนักงานขายรถ คนขับแท็กซี่เช่นเดียวกับ AI การมาของ AI อาจทำให้บางอาชีพหายไป แต่ในขณะเดียวกัน ก็เกิดอาชีพใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ AI ขึ้นมา เช่น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล วิศวกร AI ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ดังนั้น สิ่งสำคัญไม่ใช่การต่อต้าน AI แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะใช้ AI ให้เกิดประโยชน์” นายชัชวาลย์ วรวิทย์รัตนกุล หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รักษาการผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ SPU กล่าว
ทักษะ AI กลายเป็นทักษะที่สำคัญ ในภาคธุรกิจและองค์กรต่างๆ มุ่งเน้นจะนำมาช่วยเสริมศักยภาพธุรกิจและการทำงานทุกๆ ด้าน โดยมีเสียงสะท้อนจาก 3,000 บริษัท จากโครงการสหกิจศึกษา SPU ส่งนักศึกษาไปฝึกงานด้วย ทุกสาขาจากทุกอุตสาหกรรม ได้ถามถึงความสามารถในการใช้ AI เป็นผู้ช่วยในการทำงาน สะท้อนให้แทนว่า AI กลายเป็นสมรรถนะหลักที่ภาพธุรกิจมองหาและให้ความสำคัญ ฉะนั้นการส่งเสริม ให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ซึ่งกำลังเติบโตเป็นกำลังสำคัญของธุรกิจและการพัฒนาประเทศ เตรียมความพร้อมเป็นกำลังคนสำคัญที่รู้จักใช้ AI ปลดล็อกศักยภาพในการทำงานถือเป็นเป้าหมายของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องเร่งผลักดัน ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม หรือ SPU เผย
ผศ.ดร.ปราลี มณีรัตน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เล่าถึงที่มาของเวทีแข่งขันว่า SPU ได้จับมือกับพันธมิตรที่เป็นฟันเฟืองสำคัญด้านการส่งเสริมศักยภาพ AI ได้แก่ ได้ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AiAT), Super AI Engines, AI Thailand, สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยี ไซเบอร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดการแข่งขัน SPU AI Prompt Mini Hackathon 2024: Unlock Your Coding ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษาครั้งที่ 2 หลังจากประสบความสำเร็จในการแข่งครั้งแรก เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมงานการแข่งขันกว่า 300 คน จากโรงเรียนทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายร่วมกันผลักดันเวทีนี้ให้กลายเป็นเวทีระดับประเทศ
สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่ทีม Deno จากโรงเรียน The Newton Sixth Form ,โรงเรียนวัดราชบพิธ และโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
รองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 15,000 บาท ได้แก่ ทีม Champion จากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
รองชนะอันดับ 2 รับเงินรางวัล 10,000 บาท ได้แก่ ทีมไม่ได้เบียวแค่เป็นหนึ่งเดียวกับPrompt Engineer จากโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง และ โรงเรียนพัฒนาวิทยา
รางวัลชมเชยจำนวน 2 ทีม รับเงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท ได้แก่ ทีม Yakeatmatchaจากโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ และโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และ ทีมกะเพราหมูนิ่ม จากโรงเรียนวัด ราชบพิธ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ และโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์
อนาคตของประเทศ อยู่ในมือของเยาวชน การร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วน ในการสนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีทักษะและความรู้ที่จำเป็น จะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญให้อนาคตของประเทศไทยการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเป็น "ขุนพล AI" ในอนาคต ที่พร้อมนำพาประเทศไทยไปสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน