วันที่ 27 ก.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงาน นายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร เผยรายงานผลความคืบหน้ากรณีหลังดำเนินโครงการปล่อยปลากะพงขาว ปลานักล่า ว่าจากสภาพปัญหาปลาหมอคางดำแพร่ระบาด ซึ่งถึงขณะนี้ต้องขอบคุณชาวประมงพื้นบ้าน ชายฝั่ง และประชาชนชาวสมุทรสาคร ที่ให้ความร่วมมือกับทางประมงจังหวัดฯโดยไม่จับปลากะพงตามแหล่งน้ำธรรมชาติไปบริโภคทั้งนี้เพราะปลากะพงนั้นได้ช่วยกำจัดกินปลาหมอคางดำเพื่อให้หมดสิ้นไปจากแหล่งน้ำในพื้นที่ อย่างไรก็ดีถือว่านับเป็น 1 มาตรการที่สามารถแก้การแพร่ระบาด
โดยประมงจังหวัดฯระบุด้วยว่า พร้อมกันนี้สำหรับอีกมาตรการหนึ่ง ก็คือ วิธีที่หากประชาชนไม่จับปลากะพงที่ใช้ปล่อยลงน้ำไปบริโภคกินก็เท่ากับว่า เป็นการช่วยกันกำจัดปลาหมอคางดำอีกช่องมาตรการหนึ่งแล้วครับ”
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ส่วนที่หมู่ 2 บริเวณวัดศรีสุทธาราม ต.บางหญ้าแพรก อ.เมืองฯ นายกมล พึ่งพร อายุ 63 ปี ปธ.กลุ่มเรือประมงพื้นบ้านสมุทรสาคร เปิดเผยว่า ความคืบหน้าจากที่ตนได้ติดตามปัญหานี้และออกไล่จับปลาหมอคางดำ ซึ่งถึงตอนนี้ก็พอมีระบาดอยู่แต่น้อยลง ซึ่งจากการเริ่มดำเนินการจับปลาคางคำตั้งแต่ประมาณเดือน ก.พ. 67 ปรากฏว่า สถานการณ์ปัจจุบันนี้พบปลาหมอคางดำน้อยตามลำดับและลดลงมากกว่าเดิมแล้ว และทำให้จำนวนการออกล่าจับก็น้อยลงไปด้วยเช่นกัน
นายกมล พึ่งพร กล่าวว่า ทั้งนี้ตามหากพื้นที่ใดๆ ยังมีปลาหมอคางดำระบาดอยู่ ก็สามารถประสานทางจังหวัดเพื่อขอเอาเรือไปตามไล่ล่าจับ เพื่อปราบปลาชนิดนี้ให้เหลือน้อยลงและให้หมดสิ้นลงในที่สุดจะได้ไม่สร้างปัญหาได้อีกต่อไป
นายกมล เผยต่อว่า เมื่อสังเกตดูช่วงบริเวณปากอ่าวทะเลในย่านหน้าวัดศรีสุทธาราม (หรือวัดกำพร้า) และบริเวณคลองสหกรณ์ สามารถพบได้ว่า พวกปลากระบอก และปลาข้าวเม่า ก็เริ่มกลับมาบ้างแล้ว โดยในช่วงเช้าจะมีมากที่สุด ทั้งนี้แต่ก็อยากให้มีภาครัฐ ได้ดำเนินโครงการปล่อยปลากะพงต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งแม้ว่าการปล่อยกะพงให้ไปช่วยกินลูกปลาหมอนั้น ยังได้ผลไม่เต็ม 100 หรือหากได้ประมาณ 30 -40 % ก็ยังดีกว่าไม่มีการทำอะไรเลยสำหรับการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามตนเชื่อว่า ผลระยะยาวนั้นผลประโยชน์ย่อมตกอยู่กับชาวบ้านในที่สุด”