ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรรม เปิดมหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม ครั้งที่ 39 จังหวัดศรีสะเกษ


เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ที่โรงแรมศรีลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ  นายยู่สิน จินตภากร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรรม  เป็นประธานเปิดมหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม ครั้งที่ 39 จังหวัดศรีสะเกษ  โดยมีนายนพ พงศ์ผลาดิสัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  และนายสุทัศน์ วิเขยละ ยุติธรรมจังหวัดศรีสะเกษ  นำหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรรม  จังหวัดศรีสะเกษ และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง  ข้าราชการ  ประชาชนและนักศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ  จำนวน  1,830 คน  เข้าร่วมมหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม ครั้งที่ 39 จังหวัดศรีสะเกษ  ในครั้งนี้


นายสุทัศน์ วิเขยละ ยุติธรรมจังหวัดศรีสะเกษ  กล่าวว่า ตามนโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี  ได้เดินหน้าแก้ปัญหาหนี้สินทั้งระบบให้กับประชาชนทุกกลุ่มทั้งภาคเกษตร ภาคธุรกิจและภาคประชาชน  รัฐบาลได้กำหนดแนวทางในการดำเนินการอย่างชัดเจน และบูรณาการการทำงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้ เป็นไปอย่างยั่งยืนและไม่กลับมาเป็นหนี้ซ้ำอีก ตลอดจนนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ เมื่อวันที่ 11 กันยายน  2566 ได้กำหนดกรอบในการเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาลดภาระพี่น้องเกษตรกร ด้วยการพักหนี้เกษตรกร  ตามเงื่อนไขและคุณสมบัติที่เหมาะสม รวมถึงมาตรการช่วยเหลือประคองภาระหนี้สินและต้นทุนทางการเงินสำหรับภาคประชาชนที่ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการวิสาหกิจนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ให้ได้มีโอกาสในการฟื้นฟูและกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง  

กระทรวงยุติธรรมได้มอบหมายให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมบังคับคดี สำนักงานยุติธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมในจังหวัดศรีสะเกษ บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย ดำเนินการจัดโครงการ"มหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม" ครั้งที่ 39 จังหวัดศรีสะเกษ  โดยมีภาคีเครือข่ายสถาบันการเงินที่เข้าร่วมจำนวน 8 สถาบัน  ประกอบด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) ธนาคารอมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารกรุงเทพ  บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพ พาณิชย์ จำกัด(มหาชน) (BAM) ธนาคารไทยพาณิชย์ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

และงานในวันนี้ มีกิจกรรม คือการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย และการสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการวางแผนและสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ประชาชน การจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์ให้คำปรึกษาทางกฎหมายหรือการเงินจำนวน 11 หน่วยงาน  และการให้บริการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งก่อนฟ้องและหลังศาลมีคำพิพากษาอีกด้วย